ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 1 “ผู้อยู่ใกล้นิพพาน...ธรรม ๔ อย่าง”
บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
ณ สวนธรรมศรีปทุม
ตอนที่ 1 “ผู้อยู่ใกล้นิพพาน...ธรรม ๔ อย่าง”
บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
ณ สวนธรรมศรีปทุม
ก็เริ่มต้นเป็นวันแรก เข้าสู่หลักสูตรมัคคานุคาเข้ม ระดับ 2
ไหนผมขอดูนิดนึง ใครที่ยังไม่เคยเข้าคอร์สพื้นฐานมาก่อนเลย มีมั๊ยครับ
มี 1 2 3 4 5 6 7 8 แล้วดู DVD ดูอะไรมาบ้างมั๊ยครับ ดู YouTube ดู DVD มาบ้างมั๊ย? ดูมานะครับ
แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรนะครับ อาจจะมีแค่บางตัวอย่างที่เราใช้จากในคอร์สพื้นฐานมายกตัวอย่าง
เพื่อที่จะประกอบการอธิบายไปเลย ถ้้ามีคนที่ไม่ผ่านบ้างก็อาจจะอธิบายเป็นตัวอย่างที่เข้าใจได้รวมกัน
แล้วก็มีการอัดวีดีโอไว้ด้วย ก็อาจจะต้องคิดถึงคนที่ดู วีดีโอ ด้วยเหมือนกัน
เพราะคนที่ดูวีดีโอก็อาจจะไม่ได้เข้าคอร์สเหมือนกัน
เพราะฉะนั้นก็จะพยายามใช้ตัวอย่างที่เป็นกลางๆแล้วก็เข้าใจได้ ก็อาจจะต้องยกตัวอย่างที่เป็นกลางๆ
เดี๋ยวก่อนอื่นเรามาขึ้นกรรมฐานกันก่อน
อะระหังสัมมา สัมพุทธโธภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ )
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ ( กราบ )
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ ( กราบ )
( นะโมพร้อมกัน )
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
เดี๋ยวเรามานั่งฟังบทอธิษฐานจิตเพื่อทำความเพียร
นั่งสมาธิครับ....
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือ
ความไม่รู้จักอิ่มจักพอ (สันโดษ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย
และความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ (อัปปฏิวานี) ในการทำความเพียร.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอัน
ไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า
“หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่, เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที;
ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ,
ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี”
ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้ว
ด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้ว
ด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม
ก็เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ถ้าแม้ พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ถ้าแม้ พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ
(ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า ( กล่าวพร้อมๆกัน )
“หนัง เอ็นกระดูก จักเหลืออยู่, เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที;
ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลังด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ,
ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี”
ดังนี้แล้วไซร้;
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกเธอ ก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า
อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตร ผู้ออกบวชจากเรือน
เป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน.
อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตร ผู้ออกบวชจากเรือน
เป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน.
พวกเราก็คงเข้าคอร์สกันมาเยอะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นคอร์สเข้ม ช่องว่างของการพูด อย่าให้เกิดความกดดันที่ตัวเอง
บางทีเราก็จดจ้องรอคอยคำพูด เมื่อไหร่จะพูด มันก็กลายเป็นทุกข์
พูดเมื่อไหร่มันก็ได้ยินเมื่อนั้น นั่ง....อิสระอยู่ที่ของเรา
ที่เราพูดถึงการปรุงแต่งมาทั้งหมด มันปรุงอยู่ที่เราน่ะแหละ
วันนี้ถ้าจะหยุดมันให้ได้ ก็ต้องหยุดที่เรา ไม่ได้หยุดที่คนอื่น
ถ้าผมมีอิทธิฤทธิ์ แล้วผมเสกให้การปรุงแต่งในทุกท่านดับลงไป เชื่อมั๊ยว่า ท่านไม่ชอบ !!!
ถ้าผมบอกว่าการหมดการปรุงแต่งเนี่ย! ผมดีดนิ้วเพี๊ยะ !!
แล้วท่านดับวับลงไปเลยนี่นะ ..เนี่ย นิพพาน ! เชื่อมั๊ย ว่าท่านไม่ชอบ ??
วันนี้มันยากตรงเนี้ย ! ทำไมถึงต้องเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ไปเรื่อยๆ
เพราะทุกคนหลงสมมุติ ทุกคนเคยชินกับการปรุงแต่ง
ทุกคนไปให้ค่าการปรุงแต่งเป็นความสุข
เมื่อหมดความปรุงแต่งทุกอย่างจะเรียบๆง่ายๆ... กลายเป็นไม่ชอบ
จนกว่าการสัมผัสของจิตจะเข้าไปเคยคุ้น จนเกิดความสุขในความสงบเย็นนั้น
นอกจากคนที่มีปัญญาจริงๆ แล้วก็สั่งสมมาดีจริงๆ
ในขณะที่เกิดเป็นนิโรธ เกิดความดับไป จึงได้เข้าไปสัมผัสความเป็นปกติ
แต่ไม่อย่างนั้น ก็สัมผัส อาจจะเป็นการร้องไห้
อาจจะเป็นการตกใจ เพราะว่าสิ่งนี้ ไม่ใช่สิ่งที่จิตเคยคุ้นเลย
การมาปฏิบัติ การเข้าไปอยู่กับสมาธิ ค่อยๆสัมผัสกับความสงบจากสมาธิ
มันเหมือนคอ่ยๆแหย่ลงไปในน้ำที่เย็น แล้วก็เย็นขึ้นเรื่อยๆ เย็นขึ้นเรื่อยๆ
เหมือนตอนที่เราเข้าไปสู่โลก เราค่อยๆแตะน้ำอุ่น อุ่น แล้วก็อุ่นขึ้น อุ่นแล้วก็อุ่นขึ้น
จนกระทั่งวันนี้มันร้อน แต่เราชิน !!
ถ้าเราจุ่มมือลงไปในน้ำร้อน ... เราจะชักมือออก
แต่ถ้้าเราจุ่มมือลงไปในน้ำธรรมดา แล้วเอาน้ำร้อนเติมลงไปทีละนิด ๆ ๆ...เราจะไม่รู้สึกเลย!!
ถ้าเอากบหย่อนลงไปในน้ำอุณหภูมิ 50 มันดิ้นพราดๆๆๆๆๆ ตายเลย
แต่เค้าบอกว่า ถ้าเอากบใส่ลงไปในน้ำธรรมดาแล้วค่อยๆเติมน้ำอุ่นๆลงไปเรื่อยๆจนถึงอุณหภูมิ 50
กบจะไม่รู้สึกเลย กบจะว่ายอยู่ในน้ำอุณหภูมิ 50 ได้อย่างสบายเลย
แต่ถ้าปล่อยตู้มมม !! ลงไป กบตัวอ้วนเลย ...พองเลย
คนก็พอกัน จิตก็คล้ายกัน
เพราะงั้น ต้องค่อยๆฝึกให้จิตเค้าเปลี่ยนทาง
ที่มันเข้าไปคุ้นกับความไม่สงบ ให้มันเปลี่ยนมาคุ้นกับความสงบ
เมื่อสงบแล้วเดี๋ยวการปรุงแต่งก็จะค่อยๆถูกละไป
เพราะว่าสมาธิละราคะ เมื่อราคะจางคลายไปนะ
ความเพลินในอารมณ์ตัณหาทั้งหลาย ก็จะค่อยๆหายไปด้วย
ในคอร์สปฏิบัติใน 5 วันนี้ก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะว่า ผัสสะต่างๆก็คงไม่ได้มีอะไรมาก
พวกเราทุกคนก็เป็นนักปฏิบัติ ส่วนใหญ่พอถึงเวลาปฏิบัติก็แยกย้ายกันไปทำอยู่แล้ว
ไม่มีใครต้องมาบอกว่าต้องทำอะไร
เพราะงั้น เราก็จะมาดูสาระเล็กๆน้อยๆพอประเทืองปัญญากันไปก่อน
ก็ต้องขออนุโมทนากับเจ้าภาพนะครับ ก็คือคุณเอ๋ จาก CIE รวมถึงคุณชาญวิทย์และครอบครัว
และก็ท่านทั้งหลายที่เข้ามาร่วมเป็นเจ้าภาพ แล้วก็ท่านที่ใส่ในตู้กล่องบริจาคอะไรก็แล้วแต่ นะครับ
รวมถึงเจ้าของสถานที่ ก็คือ สวนธรรมศรีปทุม นะครับ
ก็มีคุณวิเชียร และครอบครัว นะครับ ที่จัดให้มี ...จัดสร้างสถานที่นี้ขึ้นมา
รวมถึงธรรมะบริกรทุกๆท่าน แล้วก็ทีมงานทุกๆคนที่เข้ามาร่วม ช่วยกัน
แล้วก็อนุโมทนากับโยคีทุกท่านที่เข้ามาปฏิบัติ นะครับ
หลักสูตรนี้ จนถึงวันนี้ก็เห็นว่าเข้ามาซักเท่าไหร่นะครับ 80-90 คน ก็อาจจะทยอยกันมาจนครบ
ที่ขึ้นจออยู่ก็คือ กัลยาณมิตร เราพูดถึงกันมานานแล้วว่า
คนนั้น เป็นกัลยาณมิตร คนนี้เป็นกัลยาณมิตร
เราก็มักจะนึกถึงคนที่ ชักชวน ชักจูงกันเข้ามาสู่เส้นทางธรรม.... นะ เป็นความคิด
แต่เรามาดูที่พระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับกัลยาณมิตร ลักษณะแบบไหนที่เราจะเรียกเค้าว่า กัลยาณมิตร
กัลยาณมิตรธรรม 7
(องค์คุณของกัลยาณมิตร, คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ คือท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ในที่นี้มุ่งเอามิตรประเภทครูหรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ
1. ปิโย
1. ปิโย
(น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม
2. ครุ
2. ครุ
(น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย
3. ภาวนีโย
3. ภาวนีโย
(น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
4. วตฺตา
4. วตฺตา
(รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าว
ตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
5. วจนกฺขโม
5. วจนกฺขโม
(อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน
ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว
6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา
6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา
(แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ
และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย
7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย
(ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
1. ก็คือ ปิโย เป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม
แต่ไม่ใช่ชวนให้เข้าไปพูดคุย นะครับ ...เข้าไปปรึกษาไต่ถาม
2. ครุ คล้ายๆครูนะ ประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้ความรู้สึกอบอุ่นใจพึ่งได้ อย่านี้เป็นกัลยาณมิตรถ้าท่านมี
3. น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานะทรงคุณความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมตนอยู่เสมอ
4. รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
เป็น 4 แล้ว ลักษณะของกัลยาณมิตร
5. อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึงว่า พร้อมที่จะรับฟังคำซักถาม คำเสนอ คำวิจารณ์ อดทน
ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว หลายคนพอเข้าไปพูดคุยซักพักก็แสดงอาการน่ารำคาญ แสดงอาการหงุดหงิด
อย่างนี้ก็อาจจะขาดคุณสมบัติข้อนี้ไป
6. แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ไปอีก อันนี้ก็เป็นลักษณะของกัลยาณมิตร
7.ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล ไม่ชักนำไปในทางเสื่อม
ใครมีกัลยาณมิตร 7 ลักษณะนี้ ก็จงภูมิใจนะครับ
แต่ว่ากัลยาณมิตรที่แท้จริง ถ้าเราสังเกตจาก 7 ลักษณะนี้ ก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง
ซึ่งท่านเป็นกัลยาณมิตรที่สูงสุด ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล แถลงเรื่องล้ำลึกได้
นี่ก็เป็นเรื่องส่วนของกัลยาณมิตร เรามีกัลยาณมิตรที่ดี ชักชวนกันเข้ามา
เพราะฉะนั้น ในครั้งนี้ก็ให้ได้ประโยชน์ ขอให้ได้เข้ามาแล้วก็ได้ประโยชน์
ในวันแรกๆเราจะมาดูกันเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติก่อน
ผู้อยู่ใกล้นิพพาน๑
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เมื่อประกอบพร้อมด้วยธรรมสี่อย่างแล้ว
ไม่อาจที่จะเสื่อมเสีย มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียว.
ธรรมสี่อย่างอะไรบ้างเล่า ? สี่อย่างคือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล,
เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย,
เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ,
เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เป็นประจำ.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. !ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล, มีการสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร,
มีมรรยาทและโคจรสมบูรณ์อยู่, เป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้เล็กน้อย,
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นรูปด้วยตา, ได้ฟังเสียงด้วยหู, ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก,
ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น, ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกายและได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ก็ไม่รวบถือเอาทั้งหมด และไม่แยกถือเอาเป็นส่วน ๆ
สิ่งที่เป็นอกุศลลามกคืออภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตาม
ภิกษุผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ภิกษุผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใดเป็นเหตุ,เธอก็ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้,
เธอรักษา และถึงความสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร, ไม่ฉันเพื่อเล่น
ไม่ฉันเพื่อมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง,
แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยกำหนดรู้ว่า
“เราจะกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสียแล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น,
ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญจะมีแก่เรา” ดังนี้.
ภิกษุ ท. !ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้หมดจด
สิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี,
สิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี,
ครั้นยามกลางแห่งราตรี ย่อมสำเร็จการนอนอย่างราชสีห์
(คือ) ตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น,
ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ก็ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต
ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ก็ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต
ด้วยการเดินจงกรม และด้วยการนั่งอีก.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจ.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เมื่อประกอบพร้อมด้วยธรรมสี่อย่างเหล่านี้แล้ว ไม่อาจ
ที่จะเสื่อมเสีย มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียวแล.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เมื่อประกอบพร้อมด้วยธรรมสี่อย่างเหล่านี้แล้ว ไม่อาจ
ที่จะเสื่อมเสีย มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียวแล.
เอาละนะครับ ก็คำของพระพุทธเจ้านะครับ แล้วก็...ธรรม 4 อย่างเหล่านี้
ข้อ 1 คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เพราะฉะนั้น เดี๋ยวหลักสูตรนี้ ก็ศีล 8 นะครับ ก็เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
แล้วก็ มี อินทรีย์สังวร ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีสติสัมปชัญญะ คอยคุ้มครองทวารทั้งหลาย
มีอะไรกระทบเข้ามา ... สติระลึก แล้วก็กลับมาอยู่กับองค์บริกรรม
เริ่มต้นไปอย่างนี้ก่อน เพราะว่าตอนแรกเนี่ย ทุกอย่างมันก็จะวุ่นวายฟุ้งซ่านกันไปหมด
รู้ลมหายใจ ก็รู้แป๊บๆมันก็แว๊บออกไปคิด รู้แป๊บๆมันก็แว๊บออกไปคิด
เดินไปกระทบอะไร ตาไปกระทบอะไร หูได้ยินอะไรอะไร มันก็จะแปร๊บๆๆคิดตลอดเวลา
เพราะฉะนั้นตอนนี้ ละการปรุงแต่งด้วยความคิดฟุ้งซ่านออกไปก่อน
แล้วค่อยไปละการปรุงแต่งในชั้นลึกๆต่อไป
เอาแค่ความคิดที่เป็นของหยาบๆเนี่ยจัดการกับมันก่อน
ที่ผมเคยยกตัวอย่าง เหมือนกับคนเป่าลูกโป่ง เป่าฟองแชมพู
เรานั่งคิดไป เราก็เป่าฟองแชมพูไปเรื่อยๆๆ
สุดท้ายพอสติระลึกได้ มันก็ฟิ้วววว แล้วมันก็หายไป
ฟองแชมพูที่เรานั่งเป่า นั่งคิด นั่งเฟ้อเจ้อไป ไม่มีค่าอะไรเลย
ถ้าท่านเห็นความจริงมากไปกว่านี้อีก ฟองแชมพูที่เรานั่งเป่านั่งคิด
เสร็จแล้วมันจะมีธรรมชาตินึง ที่เราสร้างตัวตนเอาไว้ เข้าไปยึดถือฟองแชมพูนั้น
ท่านจึงได้มีความสุข เพลิดเพลินไปกับฟองแชมพูที่ไม่มีตัวตน!!!
ท่านจึงหลงเข้าไปอยู่ในโลกที่เค้าเรียกว่า "ภพ"
ไม่ได้อยู่ในภพของความเป็นจริง ไม่ได้อยู่ในโลกของความเป็นจริง
ไปสร้างสิ่งที่ไม่มีตัวตน แล้วหลงเข้าไปยึดถืออยู่ในโลก มันจึงกลายเป็นความหลง
วันนี้ถึงกลับมาอยู่ในที่ความเป็นจริงไม่ได้ เพราะมันไปติดอยู่ที่คิด
หลายคนบอกว่าเข้าใจ แต่เวลาเกิดเรื่องแล้วทำไมมันไม่เข้าใจซักที
ก็เพราะว่าเราไปติดอยู่ในคิด ... เราไปติดอยู่ในคิด!!
ทำไมครูบาอาจารย์ถึงบอกว่า หยุดคิดแล้วถึงรู้ ก็เพราะว่าเราไปติดดอยู่ในฟองแชมพู
แล้วเราก็ไปหลงอยู่ในฟองแชมพู จนกระทั่งเรารู้สึกว่า ไอ้ฟองแชมพูเป็นความจริง
อีกซัก 2-3 วัน ผมจะให้ท่านดูอะไรบางอย่าง วันนี้ ทำไปอย่างนี้ก่อน
เพราะถ้าผมเปิดวันนี้ มันก็เข้าใจไม่ได้
เพราะงั้น ก็ต้องจัดการเอาฟองแชมพูออกไปให้มากที่สุด
ตอนนี้ เหมือนกับมีโฟมเป็นฟองๆน่ะ โปะหัวท่านเต็มหมด อย่างเนี้ยะ
แล้วท่านก็หลงไปเล่นไอ้โฟมนั้นน่่ะ ฟองแชมพูนั้นน่ะ ท่านจึงเข้ามาไม่ถึงความจริงที่นี่ ( ใจ )
เพราะมัวแต่เล่นอยู่กับโฟม ฟองแชมพูข้างบน ซึ่งมันไม่มีตัวตน
เดี๋ยวมันก็ ฟิ้วว ฟิ้วว ฟิ้วว ... หายไปหมด
แล้วเดี่๋่ยวท่านก็สร้างมันขึ้นมาใหม่อีก สร้างขึ้นมาเพราะความไม่รู้
เพราะงั้นท่านต้องจัดการไอ้นี่ออกไปก่อน ค่อยๆเอามือลูบๆๆไอ้ฟองแฟ๊บเนี่ย ออกไปก่อน
เพราะฉะนั้นสำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย เดิน เหิน หยิบจับ อิริยาบทต่างๆ
พยายามกลับมามีสติสัมปชัญญะ ให้มาก
การที่มีสัมปชัญญะให้มาก สิ่งที่เกิดขึ้นมันคิดฟุ้งซ่านไม่ได้
มันไปสร้างฟองแชมพูขึ้นมาไม่ได้ เพราะมันถูกดึงเข้ามาที่ความจริง คือ ลมหายใจ คือการเดิน
แต่มันก็ยังมีอีักล่ะ มีปัญหาอีกล่ะ เพราะมันก็ไปปรุงแต่งขึ้นมาเป็นชั้นรู้ ชั้นเดิน เราเดินขึ้นมาอีก
แต่เอาทีละขั้น เอาไอ้คล้ายๆฟองแฟ๊บนี่ออกก่อนทีละอย่าง
รู้ประมาณในโภชนะ อันนี้ก็ เค้ามีพวกเครื่องชงตั้งไว้ ก็อย่าเดินผ่านไปชงมันตลอด
กิเลสนี้มันไม่้ได้หรอก คือพอมันเครียดๆ แล้วมันก็จะไปปลิ้นออกทางอื่น
ข้าวเย็นไม่กิน ก็จะเดินไปดู ..นะ ดู ดู .. ไม่กิน เดินไป ... ( หาเครื่องชง )
เดี๋ยวๆ... สังเกตดูเถอะ ขาไม่ใช่เรา ตาไม่ใช่เรา มันจะไปอีก ( หัวเราะ )
มันก็ไปดูอยู่นั้นแหละ มันมีแค่นี้ มันก็เอาแค่นี้แหละ ไปเสพย์อยู่แค่นี้แหละ ก็ไปยืนห่างๆหน่อย
รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ใช่เอาแต่กิน เอาแต่กิน เอาแต่กินเข้าไปเรื่อย
ทานก็เอาแต่พอสมควร อันนี้คงไม่ยากหรอก นะครับ เพราะฉะนั้น อันนี้เป็นคอร์สเข้ม นะครับ
ท่านก็รับประทานตอนเช้า ตอนเช้าเนี่ย เราทานกันพร้อมๆกันน่ะ เพราะว่าหลังสวดมนต์ ฟังธรรม
แต่ในมื้อกลางวันเนี่ยก็.... 11 โมง
ก็ต้องดูแลตัวเอง ก็พยายามอย่าให้เกิน 11 โมงครึ่ง เดี๋ยวจะไม่ทัน..นะ
ก็เอาเป็นว่า พอเที่ยงตรงเป๊งง หันไปดูนาฬิกา พอเที่ยงตรงก็วางช้อน แล้วก็ลุกเลย
บอก เพิ่งทานไปได้ 2 ช้อนเอง ...มาช้าเอง !! ทีหลังมาให้ไวขึ้น เท่านั้นแหละ
อย่าำำไปโทษนาฬิกาเร็วล่ะ ดูแลตัวเอง นี่เค้าก็เอานาฬิกาที่มันตีด้วย เอามาให้ฟังแล้ว
มันตีทุก 15 นาที นั่งสมาธิมันก็คงไม่เผลอเพลินขนาดนั้นหรอกมั๊ง นะ..
ส่วนชาคริยธรรมในข้อ 4 ก็ชัดเจน
พระพุทธเจ้าก็ให้ทำชาคริยธรรม การเดินจงกรมนั่งสมาธิ ตลอดวันยันค่ำ
จนถึงยามแรกแห่งราตรี ท่านก็ตรัสว่ายามแรกแห่งราตรี ก็คือ สี่ทุ่ม
ครั้นถึงยามกลาง ก็คือ 4 ทุ่ม ถึงตี 2 ก็ให้นอน ให้นอนอย่างราชสีห์ ตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า
ใครจะทำก็ได้ตามที่ท่านบอก ทำไมท่านต้องให้นอนแบบนี้ ก็เพื่อไม่ให้เผลอเพลินมากนัก
อย่ามีคำถามเลย..... ทำก็ทำ ไม่ทำก็ไม่ได้มีใครว่าอะไร
ใครอยากจะลองทำก็ทำ เพราะนี้คือคำของท่าน
จากนั้นพอถึงยามสุดท้ายแห่งราตรี ก็คือตั้งตีสอง ลุกขึ้นชำระจิตด้วยการเดินจงกรมนั่งสมาธิ
จนถึงเช้า ก็ไปทำกิจหน้าที่่ ใครทำอะไร
อย่างพระสงฆ์ก็ออกไปบิณฑบาตร เราก็เข้ามาสวดมนต์ฟังธรรม รับประทานอาหาร
หลังจากนั้น ก็เดินจงกรม นั่งสมาธิต่อไป ทำอย่างนี้แหละ ที่ท่านบอกว่าเป็นผู้อยู่ใกล้นิพพานล่ะ
อย่างเช่น หลายคนอาจจะยังสงสัยในคำว่า
ข้อ 2 เป็นผู้คุ้มครองในทวารอินทรีย์ไม่รวบถือเอาทั้งหมด หรือ แยกถือเป็นส่วนๆ หมายถึงอะไร ?
ไม่รวบถือเอาทั้งหมด หมายความว่า สมมุติว่าวันเนี้ย ผมจะอุปมาคิดเอาเองว่าท่านเข้าใจขันธุ์ 5 แล้ว
ขันธ์ 5 มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร แล้วก็ วิญญาณ
ถ้าท่านรวบเอาขันธ์ 5 ขึ้นมาเป็น 1 มันจะมีความรู้สึกขึ้นมาเป็นเรา
หรือแม้แต่ ขณะที่ท่านรู้ลมเนี่ย มีผู้รู้ คือวิญญาณ เข้าไปตั้งอาศัยอยู่ในรูป ก็คือลม
ถือเอาเป็นส่วน แค่นี่้ก็เป็นเราแล้ว ความรุ้สึกแค่นี้ก็เป็นเราแล้ว
หรือจะเห็นขันธ์ 5 ทั้งหมด มันก็เป็นเรา นี้่ก็เป็นเราแล้ว ท่านถึงบอกว่าให้กระจายออก ไม่รวบถือเอา
ให้เห็นว่า ผู้รู้ - ผู้ถูกรู้ แยกกัน อย่ารวบ เพราะถ้ารวบแล้วมันจะกลายเป็นเราเลย
มันจะเกิดความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิทันที
อันนี้คอร์สเข้มนะครับ ไม่ต้องอธิบายอะไรเยอะแล้ว ไปปฏิบัติต้องให้เห็น
อย่างเช่นการเดินจงกรม (ดูคลิปด้านล่างประกอบได้ค่ะ )
มีความรู้สึกที่เท้า เคลื่อนไป ไฟเนี่ย เหมือนวิญญาณ หรือจะเรียกจิต
ถ้าจะเรียกจิตก็ไปอยู่กับกาย ถ้าจะเรียกวิญญาณก็ไปตั้งอยู่ที่รูป
อันนี้ผู้ถูกรู้ อันนี้เป็นผู้รู้ เข้าไปรู้ อันนี้ถือเป็นส่วนๆ มีแค่ 1 กับ 2 มีแค่ 2 ส่วน
คลิปประกอบการบรรยายเรื่องการเดินจงกรม
เคลื่อนไป .. อย่าถือเอา อันนี้ กับ อันนี้ เป็นสิ่งเดียว ไม่งั้น จะกลายเป็น กู ดู ขา กู
ถ้าเดินอย่างนี้้เดินเป็น กูดูขากู เลย ดูให้ตายก็ไม่พ้นล่ะ !! งานนี้
แต่ถ้าเห็นแค่มีความรู้สึกว่า สิ่งนี้ เคลื่อนไป เคลื่อนไป ไม่ใช่ ขาเราเคลื่่อนไปหรือขาซ้ายกำลังก้าวไป
ถ้าอย่างนั้น มันจะค่อยๆสร้างบัญญัติขึ้นมากลบความจริงขึ้นไปเรื่อยๆ
( ฟังรู้เรื่องมั๊ย ? รู้เรื่องนะ )
ให้มีความรู้สึกอย่างเนี้ย มีผู้รู้คือไฟ กับผู้ถูกรู้ เนี่ย คือ ที่เคลื่อนไป ๆ ๆ
ให้มีความรู้สึกอย่างเนี้ย มีผู้รู้คือไฟ กับผู้ถูกรู้ เนี่ย คือ ที่เคลื่อนไป ๆ ๆ
เนี่ย เดินไปอย่างเนี้ย พอแว๊บไปคิดก็ กลับมาอยู่กับเนี่ย แค่นี้แหละ วันแรกๆก็เอาแค่นี้
รู้ลมก็ เหมือนอย่างเนี้ย เวลารู้ลมก็ ... มีผุ้รู้เข้าไปรู้ลม
วันแรกๆ ถ้าท่านรู้สึกว่ามันยังฟุ้งซ่านก็ตามลมหน่อย
( สูดลมหายใจกระทบฐานเป็นรูปตัว L )
ถ้าอย่างนี้เนี่้ย จะเห็นเลยว่าจิตจะแนบลงไปที่ลม จิตจะดิ้นออกมายากแล้ว
แต่ถ้ารู้อย่างนี้ ( จับลมที่ปลายจมูก ) เดี๋ยวๆแว๊บ เดี๋ยวๆ แว๊บ
ถ้าสำหรับคนที่ยังมีความคิดเยอะๆท่านก็ใช้ตามเลย วันแรกๆ ตามเอา
ถ้าตามปุ๊บ มันเหมือนกับถูกแปะไว้ ไปไหนไม่รอด
แต่ถ้าคนสมาธิดีๆ หรือว่าทำมานานๆแล้วเนี่ย จะิเริ่มรู้สึกว่ามันชักจะดิ่ง จะเริ่มอึดอัด
รีบปล่อยเลยนะ ถ้ารู้สึกว่าสมาธิมันชักจะมากไป ก็ปล่อยกลับมาแค่นี้พอ นะ
สมาธิก็จะเบาลง เราไม่ได้ต้องการดิ่งมากนะ เราต้องการแค่สบายๆ
สบายๆแล้วถึงจะเห็น เห็นการเกิดดับ
ถ้าเกิดไปดิ่งมากเดี๋ยวก็ไม่ได้เห็นไตรลักษณ์ ที่อยู่ต่อหน้าต่อตาอีก
เอาละนะครับ อย่างอื่นคงไม่มีอะไร บัลลังก์นึงก็ ครึ่งชั่วโมง
เดินครึ่งชั่วโมง นั่งครึ่งชั่วโมง แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นมา 45 นาที 45 นาที
ถ้าใครยังขึ้นไม่ค่อยไหว ร่างกายยังปรับตัวไม่ค่อยได้ ก็เอาไว้พรุ่งนี้ 45 นาที 45 นาที
อันไหนไม่ไหวก็ลงครึ่งชั่วโมง พอไหวก็ดันขึ้นไป 45 นาที ขึ้นไปเรื่อยๆ
วันที่ 3 ก็ซักชั่วโมงนึง บัลลังก์ เดิน ชม. นั่งชม.ไปเรื่อยๆ
ปวดโอ๊ย ปวดทนไม่ไหว ปวดทนไม่ไหว ก็ทนไป ทนจนเกิดปัญญา ใช้อุบายจนเกิดปัญญาน่ะ
เพราะมีแค่ 3 วัน ไม่งั้นก็ชี้ลำบาก ....
ก็คงยังไม่มีคำถามอะไร นะครับ แล้วก็ยังไม่บรรยายอะไรเพิ่มนอกจากให้ท่านไปปฏิบัติก่อน
สถานที่ปฏิบัติ .. บนห้องนี้ ข้างล่าง ริมน้ำ ในป่าในสวน ใช้ได้หมดตามศาลาริมน้ำ
ใช้ได้หมดทุกที่ ใช้ได้หมดทุกที่ ก็พยายามอยู่ที่ โล่งๆ ก็ได้ แต่ถ้าค่ำๆจะดีกว่า ตอนนี้จะร้อน
เอาล่ะครับ อย่างอื่นก็ไม่มีอะไรมาก ก็ เดี๋ยวกราบพระแล้วก็แยกย้ายกันไปภาวนาเลย
เรากลับมาเจอกันอีกทีตอน 6 โมงตรง บริหารจัดการดูแล การอาบน้ำเองหมดเลยนะครับ
6 โมงตรง มาทำวัตรสวดมนต์ที่นี่ แล้วก็ฟังธรรม จบกี่โมงก็ปล่อยกลับไปภาวนาต่อ เชิญครับ....
กราบพระแล้วก็เชิญ .....
จบการบรรยายตอนที่ 1
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
☞ ตอนที่ 2 ความน่ากลัวของสังสารวัฎ
จบการบรรยายตอนที่ 1
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
☞ ตอนที่ 2 ความน่ากลัวของสังสารวัฎ
กราบอนุโมทนาบุญกับผู้บรรยาย ทีมงาน และผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านค่ะ
- ด้วยจิตคารวะ -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น