9/21/2556

มรรคองค์ที่ 2 สัมมาสังกัปโป

ถอดคำบรรยายธรรม เรื่อง มรรค องค์ที่ ๒
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ธรรมบรรยาย เพื่อความรู้แจ้ง แห่งวิถีทางดับทุกข์
ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2556


เรามาดูมรรคองค์ที่ 2 ต่อเลยนะครับ
                                              (องค์มรรคที่ 2)
                                                     กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป,
                                                     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความดำริชอบเป็นอย่างไรเล่า?,
                                                     เนกขัมมะสังกัปโป,
                                                     ความดำริในการออกจากกาม,
                                                     อัพฺยาปาทะสังกัปโป,
                                                    ความดำริในการไม่มุ่งร้าย,
                                                     อะวิหิงสาสังกัปโป,
                                                    ความดำริในการไม่เบียดเบียน,
                                                    อะยัง วุจจะติ ภิกขะ สัมมาสังกัปโป,
                                                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ,

พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความดำริชอบเป็นอย่างไรเล่า
- ความดำริในการออกจากกาม หรือว่า เนกขัมมะสังกับโป นะครับ 

- ความดำริในการไม่มุ่งร้าย แล้วก็...
- ความดำริในความไม่เบียดเบียน 
ตรงนี้ที่ท่านเรียกว่าความดำริชอบ
อะไรคือ ความดำริในการออกจากกาม
เพราะว่าทุกวันนี้เนี่ยะ สิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์ เสพย์ติดกันอยู่เนี่ย 
ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แล้วก็ ธรรมารมณ์ ทั้งหลาย
ที่ทำให้เราเกิดอุปทาน ที่ทำให้เราเกิดความยึดติดอยู่เราชอบฟังเพลง 
พอเราไม่ได้ฟังเพลงตามที่เราปรารถนา จิตใจมันก็บีบคั้นเป็นทุกข์
คนที่ติดละคร สมมุติว่า 3 ทุ่มต้องไปอยู่ที่อื่น มันก็จะบีบคั้นเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งหลายที่เราเข้าไปเสพย์ติดทางกาม...
คำว่ากามเนี่ย ไม่ใช่ผู้หญิงผู้ชายอย่างที่เราเข้าใจกันเพียงอย่างเดียว นะครับ
กามเนี่ย คือ การเข้าไปเสพย์ติด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราที่ไปติดๆๆๆเอาไว้ทั้งหลายเนี่ยนะครับ
แล้วก็เกิดเป็นทุกข์เวลาที่ไม่ได้สมปรารถนา
เนกขัมมะสังกัปโป คือ ความดำริในการออกจากกาม
เมื่อเห็นแล้วว่า สิ่งนี้เนี่ยะ เป็นโทษ เป็นภัย
มันก็จะเริ่มพรากออก พรากออก พรากออก ไปเรื่อยๆ พรากออกไปเรื่อยๆ .....

เวลาท่านเข้ามาหลักสูตรปฏิบัติธรรมที่ ยุวพุทธฯ เนี่ย ท่านก็ได้เห็นเลยว่า
เวลามาอยู่เนี่ยในวันแรกๆ อาจจะรู้สึกบีบคั้น อาจจะรู้สึกเบื่อ รู้สึกไม่ชอบใจ 
อยากกลับบ้านสิ่งเหล่านี้แหละ ก็คือ สิ่งที่ท่านไปยึดติดเอาไว้ 
พอพรากออกมา พรากออกมา มันก็ออกอาการเวลาที่มันไม่สมปรารถนา มันก็ออกอาการ
พระพุทธเจ้าจึงได้บอกว่า ในการเนกขัมมะออกจากกาม ให้ใช้ขันติขันติ เป็นเครื่องเผากิเลส
แต่บางครั้งเรารู้สึกว่า บางครั้งเราไปสับสนนะครับ
มีคนบางคนบอกว่า ความทุกข์เนี่ย ที่บีบคั้นอยู่ในใจ มันทำให้ก่อให้...เกิดเหมือนกับ
เป็นทุกข์ เหมือนตกนรก ! เหมือนตกนรกนะ พูดกันง่ายๆ
เพราะฉะนั้น เธอมาปฏิบัติเนี่ย มีความทุกข์ เธอกำลังตกนรกนะ !!
ผมบอก " เดี๋ยวก่อน " .... " ทำความเข้าใจกันใหม่ดีมั๊ย? "
เรากำลังเนกขัมมะ ขณะที่เราพรากออกมาเนี่ย กิเลสมันดิ้น แล้วมันก็ส่งนิวรณ์มาจัดการกับเรานะ
มันส่งนิวรณ์ 5 มาจัดการกับเราเพื่อจะดึงเรากลับไปเป็นทาสมันนะ !!!
ดังนั้น ทุกข์ที่เกิดขึ้น ดูให้ดีนะ มันเป็นการทุกข์ที่อะไรกันแน่
ทุกข์ที่ใจบีบคั้น โดนตัณหา หรือว่า นิวรณ์ที่กำลังโดนขันติเผาอยู่
ถ้าเราเผามันไปไม่เลิก...มันฝ่อนะครับ ! กิเลสเนี่ย มันฝ่อเลย
ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าคงไม่ใช้คำว่า เพียรเพ่งเผากิเลส นะครับ
เนกขัมมะ ทำไมถึงเพียรเพ่งเผากิเลสได้ เพราะมีขันติ เป็นองค์ธรรมที่คอยช่วยอยู่
เพราะอย่างนั้น ต้องใช้ขันตินะครับ จนกระทั่งคนๆนึง ก้าวพ้นตรงนั้นไป
สมมุติว่า เราไปเข้าคอร์สปฏิบัติ ครั้งที่ 5 ครั้งที่ 6 ทำไมมันถึงไม่เดือดร้อนเหมือนวันแรกๆล่ะ
ก็เพราะว่า กิเลสส่วนหนึ่ง โดนเผาไปเรียบร้อยแล้วนะครับ โดนเผาไปแล้ว
ทำไมพระวันแรกๆที่เข้าไปบวช ท่านถึงได้รู้สึกอึดอัด แต่พออยู่ไปหลายๆพรรษาเข้า ก็เริ่มเป็นปกติ 
กิเลส ก็โดนเผาไปเรื่อยๆ จากการที่ไม่ยอมตามใจ แค่นั้นเองนะ 
นี่คือ เนกขัมมะซึ่งมันจะทวนขึ้นไปถึงจุดๆหนึ่ง ... ถึงจุดๆหนึ่งแล้วมันจะพรากออกจากพวกนี้ได้ นะครับ
แต่ก็เหลือส่วน คือ เรื่องของทุกข์ทางใจ ซึ่งเราจะพรากออกไปด้วยมรรคองค์ที่ 6 -7-8 กันต่อไป
แต่เราจะเห็นว่า อ๋อออออ... เราต้องดำริในการออกจากกาม คือ มีความตั้งใจแล้ว ส่วนนี้ก็คือปัญญา

ดำริในการไม่มุ่งร้าย
พอจะทำผิด ทำพลาด พอคิดว่า อืมม เราไม่เอาแล้ว
เราไม่อยากจะมาเป็นทุกข์เป็นร้อนกับเรื่องพวกนี้แล้ว 
ดำริในการไม่มุ่งร้ายใคร ไม่เบียดเบียนใครแล้ว 
ไม่ว่าใครจะมาเบียดเบียนเรา มามุ่งร้ายเราเนี่ย เราจะไม่โต้ตอบอีกแล้ว ไม่เอาแล้วนะ ..
ขอจบดีกว่า กระทบเข้ามา แต่ไม่กระเทือน 
กระทบเข้ามา แรกๆก็อาจจะต้องหัดขันติ ต้องทมะ ข่มใจไว้
ไม่เอาแล้ว ไม่โต้ตอบ ไม่ว่าจะกาย วาจา ใจ ไม่โต้ตอบแล้ว ไม่ทำทุจริต 3 ในส่วนนี้
แล้วก็..เนี่ย จะเกิด สัมมาสังกัปโป ขึ้นมาการดำริชอบ จะทำให้คนธรรมดาๆ เนี่ย เริ่มพ้นทุกข์เป็นลำดับๆ
มันอาจจะทุกข์ในช่วงต้นๆ เพราะมันต้องฝืน ทวนกระแส ซึ่งมันก็ต้องอาศัยกำลัง นะครับ
เราก็คงเคยได้ยินคำว่า อินทรีย์แก่ อินทรีย์อ่อน
ในคนอินทรีย์อ่อนๆ พอเนกขัมมะได้หน่อย ก็ต้องถอยกลับแล้ว มันเหมือนคนจะเลิกบุหรี่อ้ะ 
พูดงายๆ ถ้ากิเลสเหมือนบุหรี่ คนจะเลิกบุหรี่เนี่ย สูบๆ ...บางคนก็บอกว่า เดี๋ยวขอค่อยๆลดได้มั๊ยล่ะ
ได้ !! จะเลิกแบบไหนก็ได้ ถ้าค่อยๆลด ก็ช้าหน่อย
แต่คนที่หักหาญกันเลย หักดิบ พรุ่งนี้ ...ไม่ต้องพรุ่งนี้แล้ว โยนทิ้งทิ้งถังขยะหมดเลย
แล้วก็ใช้ฝืนสู้เอา ใช้ขันติ อดทน อดกลั้น จนกระทั่งในที่สุด มันก็ต้องฝ่อไป
แล้วก็เลิกกันไป .. ก็ชนะ ! ก็สำเร็จ
เพราะฉะนั้น เหมือนกันนะครับ ในการเนกขัมมะ ในการดำริในการออกจากกามเนี่ย
มันก็อยู่ที่ ถ้ากำลังดีๆ สั่งสมมาดีๆ แล้วก็ไม่ต้องการให้เวลามันยืดยาวออกไปแล้ว ก็หักดิบ !!
พวกอินทรีย์แก่ ก็หักดิบกันไปเลย
พวกอินทรีย์อ่อน ก็โอ๊ยย..ค่อยๆหักกันไป ก็แล้วแต่บุคคลนะครับ ไม่ว่ากัน
บางคนหักดิบไม่ไหว ( หัวเราะ ) จะตายเสียก่อนกิเลส ก็ค่อยๆ ^ ^
อ้ะ อย่างมาในคอร์สเนี่ย ( ไม่ได้เกี่ยวกับท่านนะครับ )
อ้ะ 2 ชั่วโมงก่อน แล้วกลับไป " อื้อหือ .. ดีนะ "
เดี๋ยวนี้ก็เริ่มมี หลักสูตร 1 วันยุวพุทธ [ยุวพุทธฯ ยอมทุกอย่าง ^___^ ]
อ้ะ มาวันนึง ......3 วัน 2 คืน ... แล้วก็ค่อยขยับเข้ามาเรื่อยๆ อย่างเนี้ย เออ ! ก็อยู่ได้นี่
แล้วก็มี 4 วัน 3 คืน /5 วัน 4 คืน /  8 วัน 7 คืน / 15 วัน 14 คืน ......ก็ว่ากันไปเรื่อย
แต่ถ้าอยู่เป็นเดือนนี่ ต้องอยู่บ้าน ( ยิ้ม )  ^___^  (หัวเราะ ) ยุวพุทธ เลี้ยงไม่ไหว
มาถึง มรรคองค์ที่ 3  นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น