3/15/2557

พังประตูคุก ตอนที่ 13 ปิดคอร์ส

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 13 (ตอนจบ)

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม

                         




[เสียงจากคลิป]
ผู้ช่วยให้รู้อริยสัจ นับเนืองอยู่ในบุคคลผู้มีอุปการะมาก
ภิกษุ ท. ! บุคคลมีอุปการะมากต่อบุคคล สามจำพวกเหล่านี้ มีอยู่. สามจำพวกเหล่าไหนเล่า ? 
ภิกษุ ท. ! บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ. 
ภิกษุ ท. ! บุคคลนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีอุปการะมากต่อบุคคลนี้. 
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นอีก, บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้รู้ชัดตามเป็น จริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! บุคคลนี้ ชื่อว่ามีอุปการะมากต่อบุคคลนี้. 
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นอีก, บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! บุคคลนี้ ชื่อว่ามีอุปการะมากตอบุคคลนี้.
ภิกษุ ท. ! บุคคล 3 จำพวกเหล่านี้แล ชื่อว่าบุคคลผู้มีอุปการะมากต่อบุคคล.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ไม่มีบุคคลอื่นที่มีอุปการะมากต่อบุคคล ยิ่งไปกว่าบุคคล 3 จำพวกนี้. 
ภิกษุ ท. ! สำหรับบุคคล 3 จำพวกนั้น บุคคลจะกระทำปฏิการะได้โดยง่าย หามิได้ แม้ด้วยการอภิวาท การลุกขึ้นยืนรับ การทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม และการตามถวายซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร, แล.
[จบ เสียงจากคลิป]

อ่ะ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า

ใครก็ตามนะ ที่เป็นผู้นำพาเราเข้าสู่พระรัตนตรัยเป็นสรณะ เป็นผู้มีอุปการะมาก

เนื่องจากเป็นผู้ชี้ทางที่จะพ้นทุกข์ให้แก่เราจากการเดินทางในสังสารวัฏ 

บุคคลผู้ชี้ให้เห็นอริยสัจ 4 จนกระทั่งรู้แจ้งอริยสัจ 4

หรือ  บุคคลที่ชี้ทางให้เกิดเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ จนหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์

บุคคล 3 จำพวกนี้เป็นบุคคลมีอุปการะมากต่อบุคคลนะ

พังประตูคุก ตอนที่ 12 อริยมรรคมีองค์ ๘ ภาคปฏิบัติและปฏิเวธ

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 12 “อริยมรรคมีองค์ 8 ภาคปฏิบัติและปฏิเวธ”

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม




เอาละครับก็ สวัสดียามเช้าครับ โยคีทุกท่าน

เช้าวันนี้ก็เป็นเช้าของวันสุดท้ายในหลักสูตรมัคคานุคาเข้ม ระดับที่ 2 นะ

ในที่สุดวันสุดท้ายก็มาถึง ไม่ขึ้นกับอยากหรือไม่อยากของใคร นะ

งั้นวันสุดท้ายมาถึงแน่ ซึ่งเป็นความจริงของธรรมชาติ แล้วความจริงก็ไม่ใช่วันสุดท้ายด้วย

มันก็คือทุกๆ เวลาที่ผ่านไป ไหลไปเรื่อยๆ เราไปสร้าง partition

เราไปสร้างกฏเกณฑ์ที่เรียกว่า บัญญัติ ขึ้นมาเฉยๆ ว่าเป็นวันนั้นวันนี้

ถ้าเราถอนสมมติบัญญัติออกจนหมดนะ เข้าใจความจริง

เราก็จะเห็นมีแต่ความสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ของขันธ์

เปลี่ยนจากตรงนั้นก็เป็นตรงนี้ตามเหตุปัจจัยที่สร้างมาเอง นะ ไม่รู้ใครเป็นคนสร้าง

พังประตูคุก ตอนที่ 11 ปฏิจจสมุปบาท (ยุวพุทธฯ ร่วมมือกับผาซ่อนแก้ว)

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 11 “ปฏิจจสมุปบาท” (ยุวพุทธฯ ร่วมมือกับผาซ่อนแก้ว)

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม



ถึงตอนนี้พอเข้าใจข้อความบนจอมั้ย

ผมว่าน่าจะเข้าใจได้ล่ะนะ แต่อาจจะเข้าไม่ถึงแบบรู้แจ้ง แต่จินตนาการได้ละ

ถ้าผมพูด แล้วเห็นปฏิจจสมุปบาท เห็นทุกอย่างที่ผมพูด ท่านคิดว่าสอดรับกับคำนี้หมดเลยมั้ยเนีย?



เกิดเป็นกาย แล้วก็มีสภาพปรุงแต่ง แล้วก็รับรู้ความรู้สึก

มีธรรมชาตินึงที่เข้าไปยึดถือแล้วสร้างความเป็นตัวตน ลมๆ แล้งๆ ในขันธ์ 5 นี้ ขึ้นมาเอง

แต่มันอาจจะอดสงสัยไม่ได้ แล้วเราไปยึดมันได้ยังไง? (หัวเราะ)

แล้ว เรา ไป ยึด มัน ได้ยังไง?

พังประตูคุก ตอนที่ 10 ขันธ์ ๕ และ ปฏิจจสมุปบาท (เพิ่มเติม)

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 10 “ขันธ์ ๕ และ ปฏิจจสมุปบาท (เพิ่มเติม)”

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม



ก็สวัสดีโยคีทุกท่านนะครับ

การบรรยายในครั้งนี้ ก็เป็นคืนวันที่ 4 ของการปฏิบัตินะครับ

หรือคืนสุดท้ายในหลักสูตรนี้ "มัคคานุคาเข้ม ระดับที่ 2" นะ

การบรรยายที่ยังเหลืออยู่นะครับ สำหรับหลักสูตรนี้ก็คือ

เรื่องของขันธ์ 5, ปฏิจจสมุปบาท นะครับ และก็การไปถึงที่สุดแห่งทุกข์

รวมถึงการสรุปนำอริยมรรคมีองค์ 8 เข้ามาใช้กับชีวิตประจำวันของพวกเรานะ

แปลงลงมาเพื่อทำความเข้าใจ แล้วนำไปปฏิบัติได้จริง

แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนนั้น เรามาดูเรื่องของศัพท์เรื่องของคำให้จบก่อนนะ

ทีนี้ขันธ์ 5 เราได้ยินกันมาบ่อย เราได้ยินกันมาบ่อย

รูป เวทนา สัญญา สังขาร แล้วก็วิญญาณ เราก็มาดูกัน ความหมายแต่ละตัวๆ นะ

พังประตูคุก ตอนที่ 9 ปฏิจจสมุปบาท

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 9 “ปฏิจจสมุปบาท”

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม







[เสียงจากคลิป]
อาการดับแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
       (พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ในที่หลีกเร้นแห่งหนึ่ง ได้ทรงกล่าวธรรมปริยายนี้ตามลำพังพระองค์ ว่า :-)
       เพราะอาศัยซึ่ง จักษุ ด้วย ซึ่ง รูป ด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม 3 ประการ คือ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจัย จึงมี เวทนา; เพระมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา.
       เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหา นั้นนั่นแล จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปปายาสะ ทั้งหลาย จึงดับสิ้น.
       ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
       (ในกรณีแห่ง โสตะ มานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสต่อไปอีก ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุ ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).
       โดยสมัยนั้นแล ภิกษุองค์หนึ่ง ได้ยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่. พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นแล้ว ได้ทรงกล่าวกะภิกษุนั้นว่า :-
       ภิกษู ! เธอได้ยินธรรมปริยายนี้แล้ว มิใช่หรือ ? ... ภิกษุ ! เธอจงรับเอาธรรมปริยายนี้ไป; เธอจงเล่าเรียนธรรมปริยายนี้; เธอจงทรงไว้ซึ่งธรรมปริยายนี้. ภิกษุ ! ธรรมปริยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ แล.
[เสียงจากคลิป จบ]

สวัสดีโยคีทุกท่านครับ วันนี้ก็เป็นเช้าวันที่ 4 ในการปฏิบัติ

ในวันนี้เราก็จะเริ่มเข้าสู่ภาคขยายของอริยสัจ 4 นะ

ซึ่งภาคขยายของอริยสัจ 4 ก็คือ “ปฏิจจสมุปบาท” นั่นเอง

เพราะว่า ทุกข์ สมุทัย ก็คือ สายเกิด, นิโรธ กับ มรรค ก็คือ สายดับ

เราจะมาดูปฏิจจสมุปบาท สายเกิด สายดับ กันหน่อย

แล้ววันนี้เราก็จะศึกษาอีกเรื่องนึงที่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ

มิฉะนั้นเราก็จะไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาทอยู่ดี ก็คือ

2/22/2557

พังประตูคุก ตอนที่ 8 อริยมรรคเชื่อมโยงอริยสัจ

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 8 “อริยมรรคเชื่อมโยงอริยสัจ”

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม


                         



สวัสดีโยคีทุกท่านครับ ก็เข้าสู่คืนของวันที่ 3 ของการปฏิบัติ

ในหลักสูตรมัคคานุคาเข้ม ระดับที่ 2

วันนี้ ตั้งแต่เช้า - บ่าย เราก็ได้สาธยายอริมรรคมีองค์ 8 ไป

ในช่วงเช้า ก็ถึงมรรคองค์ที่ 5  ในช่วงบ่าย ก็ 6 7 8  ก็ได้จบสมบูรณ์แล้ว

มรรคมีองค์ 8 เมื่อสังเคราะห์ลงมาในไตรสิกขา จะแยกออกมาเป็น

ปัญญา ศีล แล้วก็ สมาธิ ซึ่งเราจะมาดูกัน เรื่องนี้ซักนิดนึงก่อน

เราจะมาเข้าใจโครงสร้างของอริยมรรคมีองค์ 8









พังประตูคุก ตอนที่ 7 มรรคมีองค์ ๘ (องค์ที่ ๖ – องค์ที่ ๘)

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 7 “มรรคมีองค์ ๘” (องค์ที่ ๖ – องค์ที่ ๘)

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม

                                                             วีดีโอประกอบการบรรยาย

                                  

(ต่อ)

เอาล่ะครับ เข้าสู่ช่วงบ่าย

ในการบรรยายครั้งนี้ก็จะเป็นเรื่องของอริยมรรคมีองค์ 8 ต่อจากภาคเช้านะครับ

ซึ่งเราได้สาธยายไปจนถึง สัมมาอาชีโว คือ มรรคองค์ที่ 5

ที่เหลือก็จะเข้าสู่ มรรคองค์ที่ 6 7 8  ซึ่งอยู่ใน ...พระพุทธเจ้าสังเคราะห์ไว้ในกลุ่มของสมาธิ

ทีนี้ คำว่า สมาธิ อย่าไปนึกถึงการนั่งหลับตานะครับ

ในกลุ่มของสมาธิหมายถึงการจัดการในระดับของจิต

การจัดการในระดับของจิต แสดงว่า มรรคทั้ง 3 องค์ จะเริ่มเข้าไปจัดการกับจิต

เพราะอย่างที่บอกคือ ไม่ว่าเราจะถือศีลบริบูรณ์แค่ไหนก็ตาม ความทุกข์ก็ยังไม่หมดไป

เราก็ดูแลกายกับวาจาได้ดีแค่ไหนก็ตาม แต่ความทุกข์มันเกิดขึ้นตรงนี้..ที่จิต...!!

ที่จิตที่ใจของเรานี้ ดังนั้น มรรคองค์ที่ 6 7 8 ก็จะเริ่มเข้าไปจัดการ

เดี๋ยวเราจะมาดูกันต่อนะครับ แล้วก็สวดตามพระ แล้วก็สาธายายกันไป


พังประตูคุก ตอนที่ 6 อริยมรรคมีองค์ 8 ( องค์ที่ 1-5 )

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 6 “มรรคมีองค์ ๘” (องค์ที่ ๑ – องค์ที่ ๕)

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม
                        
                                  

ริ่มการบรรยาย 

เข้าสู่เช้า วันที่ 3 ของการปฏิบัติ ….ในหลักสูตรมรรคานุคาเข้ม ระดับ 2

ในระดับ 2 ก็จะมีการบรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่จำเป็นต่อการเดินทาง

อย่างเช่น มรรรคมีองค์ 8 ไตรลักษณ์ ขันธ์ 5 อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท …..

ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ

เราก็จะนำมาอธิบายสาธยาย ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

ในระดับที่เราเข้าใจได้และนำไปปฏิบัติได้จริง

ทั้งในคอร์สปฏิบัติและในชีวิตประจำวัน สาระก็คืออยู่ตรงนี้

2/18/2557

พังประตูคุก ตอนที่ 5 ขันธ์ ๕ มีความสืบเนื่อง

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 5 “ขันธ์ ๕ มีความสืบเนื่อง”

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม


สวัสดีครับทุกท่าน

ก็เข้าสู่วันที่ 2 ในการปฏิบัติ  เป็นการบรรยายในช่วงค่ำ

เราก็ฟังกันมา 4 ครั้งแล้ว ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 5 แล้ว

ในนี้มีใครไม่ได้ฟังชุด ทุบเปลือกทำลายเมล็ดบ้าง ช่วยยกมือหน่อยสิครับ

ออ...ประมาณซัก 30-40 %  แต่เดี๋ยววันสุดท้ายท่านก็ได้รับแจกนะครับ

ก็เป็นคอร์สเข้มเหมือนกันนะครับ จัดที่ยุวพุทธ ฯ ศูนย์ 2

เป็นเรื่องของขันธ์ 5 เพื่อให้เห็นความจริง ความจริงตามความเป็นจริง

เรามาปฏิบัติธรรม ส่วนใหญ่เราจะได้ยินเพื่อให้ เห็นถูก

อย่าง กายานุปัสนาสติปัฐฐาน ก็เพื่อให้เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส  มีสติสัมปชัญญะ มีสติ

ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ให้เห็นความจริงว่า

ขันธ์นี้ ไม่ใช่ตัวตนบุคคลเราเขา  กายนี้ไม่ใช่ตัวตนบุคคลเราเขา

เราก็ได้ยินอย่างนี้มาตลอด หลายคนก็คง Question mark กันเหมือนกันว่า

พังประตูคุก ตอนที่ 4 สันทิฏฐิกนิพพาน นิพพานชิมลอง

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 4 “สันทิฏฐิกนิพพาน นิพพานชิมลอง”

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม



ก็เข้าสู่ช่วงของการฟังธรรม ก็อนุโมทนากับผู้ปฏิบัติทุกท่าน

วันนี้ก็เป็นช่วงบ่ายของวันที่ 2 ของการปฏิบัติน่ะ คือวันที่ 26 มิถุนายน 2556

สถานที่ก็คือ สวนธรรมศรีปทุม ปทุมธานี

เข้าสู่วันที่ 2 นะ เราก็ค่อยๆ เคยคุ้นกับความสงบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากอุปมาเด็กขี่จักรยาน เราโลดแล่นกันอยู่ข้างนอก ก็เหมือนเด็กขี่จักรยาน

มีสื่อต่างๆ เยอะแยะมากมายที่เข้ามากระทบ มีผัสสะเข้ามากระทบ 

ทำให้ใจของเราเคลื่อนไหวตลอดเวลาไม่ว่าจะ ทีวี ข่าว อินเตอร์เน็ต เยอะแยะ 

โทรศัพท์มือถือ ข่าวสารพุ่งเข้ามาเราไม่ได้หยุด นะ

การกระทบพุ่งเข้ามาหาเราไม่ได้หยุด ทั้งชอบใจ ไม่ชอบใจ ในใจของเราก็เกิดขึ้นตลอดเวลา

การที่เรามาอยู่ 2 วัน แล้วก็ได้สัมผัสกับความสงบที่ไม่มีอะไรมากระทบ

แต่ในความสงบที่เกิดขึ้นเหมือนๆ กัน แต่ในคน 2 แบบ

2/12/2557

ฟังประตูคุก ตอนที่ 3 แรงเงา

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2”
เรื่อง พังประตูคุก ตอนที่ 3 “แรงเงา”

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม

                         

สวัสดีโยคีทุกท่าน

นี่ก็เป็นเช้าของวันที่ 2 ในการปฏิบัติในหลักสูตร “มัคคานุคาเข้มระดับ 2”

ทำไมต้องเป็นเข้มระดับที่ 2? หมายถึงว่า มีเข้มระดับที่ 1 หรือเปล่า?...ไม่มี

เข้มระดับที่ 1...ไม่มี แต่อยู่ๆ ก็เป็นเข้มระดับ 2 เพราะว่า พอเป็นคอร์สพื้นฐาน

มันก็เหมือนกับที่คนทั่วไปเค้าเรียกกันว่า คอร์สพื้นฐานเป็นคอร์สเบื้องต้น คอร์สระดับที่ 1

อะไรอย่างนี้ พอเป็นคอร์สเข้มก็คือระดับที่ 2

ระดับที่ 2 นี้ก็จะมุ่งเน้นไปที่การภาวนา แล้วก็การฟังเนื้อหาสาระ 

เพราะในคอร์สพื้นฐานที่เราปูเนี่ย จะเน้นการฟังเนื้อหาสาระ เพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้นก่อน

พอเกิดสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น อะไรคือสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น

รู้ว่าอะไรคือกุศล อะไรคืออกุศล น่ะ

เมื่อก่อนก็อาจจะตีขลุม เค้าเรียกว่าตีขลุม

เดินหงุดหงิดออกไปใส่บาตรก็ว่าทำบุญ นะ

อย่างเนี้ยะ อย่างเนี้ยะไม่เห็นความจริงละ อันนี้ปุถุชนเลยนะ 

เดินหงุดหงิดๆ ออกไปใส่บาตร ใส่บาตรแล้วก็ยังหงุดหงิดๆ แล้วก็เดินกลับเข้ามา 

อย่างนี้ไม่เห็นความจริง อย่างนี้ไม่มีสัมมาทิฏฐิแม้แต่เบื้องต้นด้วย

ทีนี้พอฝึกไปก็เริ่มเห็น การออกไปใส่บาตร ฟังดูเหมือนกับการออกไปทำบุญทำกุศล...ซึ่งก็จริง

แต่ในขณะ แต่ละขณะที่ออกไปเดินออกไปใส่บาตร

ใจเป็นอกุศล โกรธ หงุดหงิด รำคาญ เริ่มเห็นแล้ว...อ้อ แบบนี้มันไม่ใช่ล่ะมั้ง 

เริ่มรู้จักกุศล เริ่มรู้จักอกุศล อันนี้เป็นสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น

แล้วหลังจากนั้นก็เริ่มรู้ต่อไปว่า ทำกุศล...ผลเป็นกุศล, ทำอกุศล...ผลเป็นอกุศล

ท่านลองเช็คลิสต์ตัวเองนะ ดูซิว่ามีสัมมาทิฏฐิหรือยัง

พังประตูคุก ตอนที่ 2 ความน่ากลัวของสังสารวัฏ เพราะไม่รู้อริยสัจ

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 2 “ความน่ากลัวของสังสารวัฏ เพราะไม่รู้อริยสัจ”

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม

                                  

สวัสดี....โยคีทุกท่าน เราก็เข้าสู่การปฏิบัติ

พวกเราคงเคยดูเรื่องของอาณาปานสติที่ผมเคยเปิดบ่อยๆในหลักสูตรเบื้องต้น

ทีนี้ถ้าใครเคยได้ยินเรื่องนี้  วันนี้ก็อาจจะต้องไปย้อนดูล่ะ เพราะถ้าเปิด มันก็คงจะยาว

เพราะว่าพวกเราส่วนใหญ่น่าจะผ่านมาหมดแล้ว

ที่สมาธิมีผลต่อกายน่ะ  ถ้าเราจำได้ ที่หมอคนนึงแล้วก็มีเครื่องวัดอะไรแปะเต็มไปหมด

แล้วเค้าก็ให้คิดตัวเลข 1,500 ลบด้วย 14

ตอน 1,500 ลบด้วย 14 หมอคนนั้นรู้สึกตื่นเต้น

เราจะเห็นว่ากราฟการเต้นของหัวใจ การขับเหงื่อ อะไรต่อมิอะไร ขึ้นกันใหญ่เลย ปุ๊บปั๊บ ๆ  ที่เราเห็นกัน

จากนั้น หมอก็ให้อยู่กับลมหายใจ หายใจออก หายใจเข้า ซักพักนึง กราฟ เป็นปกติ

ภาพนี้เราคงจะนึกออก อันนั้นก็เป็นการทดสอบจากงานวิจัยของฝรั่ง

ผมก็อยากจะเล่้าประสบการณ์ตรงๆที่เพิ่งจะผ่านไป 2 วันนี้

เพราะว่าเผื่อจะทำให้ท่านเกิดกำลังใจ

 และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการยืนยันคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เดี๋ยวผมขอเปิดคำสอนนั้นก่อน


1/18/2557

สติตัวจริง ความอัศจรรย์ที่เราไม่เคยรู้จัก Part 2

ถอดคำบรรยาย:
เรื่อง “สติ(ตัวจริง)...ความอัศจรรย์ ที่เราไม่เคยรู้จัก” (ต่อ)
บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2553
ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์




ก่อนที่เราจะมาดูด้วยกันอีกครั้ง 
 ผมอยากจะให้ท่านพอจะนึกอะไรออกในภาพนี้ก่อนนะครับ

 
ผัสสะ คือ การกระทบ อาตายนะภายนอก คือ ภาพข้างนอก กระทบเข้ามาที่ตา
แล้วมีวิญญาณมาแปรค่า (ที่เรียกว่า จักขุวิญญาณ)
เราถึงจะดูรู้เรื่อง ถ้าสองอย่าง กระทบกันแล้วไม่มีวิญญาณออกมาแปร เราจะดูไม่รู้เรื่องนะครับ 
ตรงนี้จะมีวิญญาณมาแปร แปรเสร็จแล้วมันจะกลายเป็น ชอบ หรือ ไม่ชอบ (เรียกว่า เวทนา)
ให้เรามาพูดภาษาเดียวกันก่อน
เดี๋ยวพอผมไปแล้วเดี๋ยวท่านจะไม่เข้าใจ
จาก เวทนา ถ้าไม่มีสติคอยระลึก หรือคอยสกัดเอาไว้ทัน
มันจะเกิดทวีความรุนแรงขึ้นมาเป็น ตัณหา ต้องการจะดึงเข้ามาเป็นของเรา ของกู 
จากตัณหา  มันจะโตขึ้นเรื่อยๆ เริ่มส่งเป็นสายใยออกไปยึดสิ่งรอบตัว
ยึดทุกอย่างที่มันสนใจและปรารถนา เอาแค่นี้ก่อนนะครับ  เอาแค่ 3-4 ตัวนี้ก่อน

ผัสสะ คือ การกระทบนะครับ แล้วก็มีการแปรค่า (โดยวิญญาณ)
 หลังจากนั้น ชอบ-ไม่ชอบ สุข-ทุกข์ (เวทนา) จะเกิดขึ้นทันที
ต่อจากนั้นถ้าไม่มีการระแวดระวังมันจะโตขึ้นมาเป็น ตัณหา ต้องการจะดึงเข้า หรือผลักออก 
แล้วก็จะเกิดการไปรวบเอาไว้เป็นไปเบอร์แมน คือที่เป็น อุปาทาน

สติตัวจริง ความอัศจรรย์ที่เราไม่เคยรู้จัก Part 1

ถอดคำบรรยาย:
เรื่อง “สติ(ตัวจริง)...ความอัศจรรย์ ที่เราไม่เคยรู้จัก”
บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2553
ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
                                                        


กราบสวัสดีครับกรรมการยุวพุทธฯ ทุกท่านที่ให้เกียรติมาในที่นี้
โดยเฉพาะท่านนายกฯ ท่านก็ได้อยู่ที่นี่ด้วย
รวมไปถึงทุกๆ ท่านเลยนะครับที่สนใจธรรมะ ก็ขอสวัสดีทุกๆ ท่านเลยนะครับ
วันนี้ก็ถือเป็นเกียรติอีกวันหนึ่งที่ผมได้มาทำหน้าที่
ที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ชีวิตของผมเปลี่ยนแปลงไปก็จากที่นี่แหล่ะครับ
ในวันที่ผมมีความทุกข์มาก...ในวันที่ผ่านเหตุการณ์ เมื่อ IMF ปี 2540
ทุกอย่างเต็มไปด้วยความเจ็บปวด
ผมเป็นหนึ่งในโดมิโนตัวหนึ่งที่ล้มกันระเนระนาดช่วงนั้น
ถ้าหลายคนอยู่ในเหตุการณ์นั้นก็คงจะพอจำได้ว่า
ไม่น่าเชื่อว่า สถาบันทางการเงินจะล้มได้ทีหนึ่ง สี่ห้าสิบ หกสิบแห่ง...พร้อมกัน!!
แสดงว่ามันจะต้องกระทบกันอย่างหนักจริงๆ นะครับ
แบงก์ ไฟแนนซ์เนี่ย! แบงก์ใหญ่ๆ ที่เราเห็นภาพความยิ่งใหญ่วันนี้เนี่ย...นึกไม่ออกเลย
วันนั้นเซกัน แซ่ด แซ่ด แซ่ด กันหมดเลย
เพราะฉะนั้น...บริษัทเล็กๆ อย่างผมเนี่ย...อยู่ไม่ได้แน่
ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น มาจากการที่..สิ่งที่..อาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการใช้ชีวิตด้วย
จากนั้นผมก็เริ่มเข้ามาลองศึกษาดู จากคำแนะนำของคุณแม่
ลองมาปฏิบัติธรรมในหลักสูตรของคุณแม่ ดร.สิริ กริณชัย
ในครั้งแรกที่ผมเข้ามาปฏิบัติตอนนั้น  ผมก็ไม่คิดหรอกว่า...
ธรรมะจะช่วยให้เราหายทุกข์ได้อย่างไร?....
ในเมื่อหนี้กองพะเนินเทินทึกขนาดนั้น   แต่ก็ไม่เป็นไร...
ในเมื่อเป็นคำแนะนำจากคุณแม่ซึ่งก็คงเป็นความหวังดี ก็อยากจะตามใจท่าน
จากการปฏิบัติในครั้งที่ 1   ผมเล่าตรงไปตรงมาเลย
พอถึงวันที่ 5 ของการปฏิบัติ... คือ วิทยากรก็บอกว่า “อย่าพูดคุยกันนะ”
ส่วนผมก็ไม่ได้พูดคุยกับใคร ก็ปฏิบัติไปเรื่อยๆ เขาให้ทำอะไรก็ทำไป
เดิน ขวา-ย่าง-หนอ ซ้าย-ย่าง-หนอ ก็ทำไป ให้นั่งดูอะไรก็ดูไป
จนกระทั่งถึงวันที่ 5    ระหว่างที่ผมกำลังเดิน...
ผมก็เห็นขามันกระตึ้ก กระตึ๊กๆ ๆๆ ทั้งๆ ที่ผมเดินไปตามธรรมดา
ผมเห็นมันขาดเป็นท่อนๆ ท่อนๆๆ....ผมก็ชักเอะใจขึ้นมา ว่ามันเกิดอะไรขึ้น?
ผมก็ถามวิทยากร     วิทยากรก็บอกว่า “อนุโมทนาด้วยนะ ท่านได้เห็นการเกิดดับของรูปแล้ว”
ผมไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าท่านพูดถึงอะไร...และผมก็ไม่ได้สนใจด้วย
จนกระทั่งจบหลักสูตร 8 วัน 7 คืน   หลังจากนั้นผมก็รู้สึกแปลกๆ ว่า

12/07/2556

พังประตูคุก ตอนที่ 1 ผู้อยู่ใกล้นิพพาน...ธรรม ๔ อย่าง

ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 1 “ผู้อยู่ใกล้นิพพาน...ธรรม ๔ อย่าง”

บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
สวนธรรมศรีปทุม

                       

ก็เริ่มต้นเป็นวันแรก เข้าสู่หลักสูตรมัคคานุคาเข้ม ระดับ 2

ไหนผมขอดูนิดนึง ใครที่ยังไม่เคยเข้าคอร์สพื้นฐานมาก่อนเลย มีมั๊ยครับ

มี 1 2 3 4 5 6 7 8 แล้วดู DVD ดูอะไรมาบ้างมั๊ยครับ ดู YouTube ดู DVD มาบ้างมั๊ย? ดูมานะครับ

แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรนะครับ อาจจะมีแค่บางตัวอย่างที่เราใช้จากในคอร์สพื้นฐานมายกตัวอย่าง

เพื่อที่จะประกอบการอธิบายไปเลย ถ้้ามีคนที่ไม่ผ่านบ้างก็อาจจะอธิบายเป็นตัวอย่างที่เข้าใจได้รวมกัน

แล้วก็มีการอัดวีดีโอไว้ด้วย ก็อาจจะต้องคิดถึงคนที่ดู วีดีโอ ด้วยเหมือนกัน 

เพราะคนที่ดูวีดีโอก็อาจจะไม่ได้เข้าคอร์สเหมือนกัน   

เพราะฉะนั้นก็จะพยายามใช้ตัวอย่างที่เป็นกลางๆแล้วก็เข้าใจได้   ก็อาจจะต้องยกตัวอย่างที่เป็นกลางๆ 
  
เดี๋ยวก่อนอื่นเรามาขึ้นกรรมฐานกันก่อน

ทุกคนนั่งในท่าเทพบุตร เทพธิดา อะระหังสัมมาพร้อมกัน

9/21/2556

มรรคองค์ที่ ๘ สัมมาสมาธิ

ถอดคำบรรยายธรรม เรื่อง มรรค องค์ที่ ๘
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ธรรมบรรยาย เพื่อความรู้แจ้ง แห่งวิถีทางดับทุกข์
ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2556

ในมรรคองค์ที่ 8 ผมจะใช้วิธีอ่านนำเลยนะครับ เพราะว่าเวลาเราจะไม่พอ

                                                               (องค์มรรคที่ ๘)

                                กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ, 
                                        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไรเล่า
                                อิธะภิกขะเว ภิกขุ, 
                                        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้, 
                                วิวิจเจวะ กาเมหิ, 
                                        สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย, 
                                วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ, 
                                        สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย, 
                                สะวิตักกัง สะวิจารัง, วิเวกะชัง ปิติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ, 
                                        เข้าถึงปฐมฌาน, ประกอบด้วยวิตกวิจาร, มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่, 
                                วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา,
                                        เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง, 
                                อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส, เอโกทิภาวัง, อะวิตักกัง อะวิจารัง, 
                                สะมาธิชัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ, 
                                        เข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน, ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น, 
                                        ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร, มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่, 
                                ปิติยา จะ วิราคา,
                                        อนึ่ง, เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ,
                                อุเปกขะโก จะ วิหะระติ, สะโต จะ สัมปะชาโน,
                                        เป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ, 
                                สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ,
                                        และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย, 
                                ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ, อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารี ติ, 
                                        ชนิดที่พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า, เป็นผู้อยู่อุเบกขา 
                                        มีสติ อยู่เป็นปกติสุข ดังนี้, 
                                ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
                                        เข้าถึงตติยาฌาน แล้วแลอยู่,
                                        สุขัสสะ จะ ปะหานา, 
                                         เพราะละสุขเสียได้, 
                                ทุกขัสสะ จะ ปะหานา, 
                                        และเพราะละทุกข์เสียได้, 
                                ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา, 
                                        เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน
                               อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง, จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ, 
                                        เข้าถึงจตุตถฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
                                        แล้วแลอยู่  
                                อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ. 
                                       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ

ก็จะให้ดูตามไปเลยนะครับ
ความตั้งมั่นชอบเป็นอย่างไรเล่า สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากธรรมอันเป็นอกุศล
ดู 2 ข้อนี้ไว้ให้ดีๆก่อนนะครับ สงัดแล้วจากกาม และธรรมอันเป็นอกุศล
คำว่าธรรมนี่คือ สิ่งทั้งปวงนะครับ อย่านึกว่า ธรรมคือธรรมะ 
เอ๊ะ!ธรรมะทำไมเป็นอกุศล อะไรอย่างนี้ คือ อย่าไปแปลอย่างนั้นนะครับ
ธรรม คือสิ่งทั้งปวง ทุกๆสรรพสิ่งในโลกใบนี้ ยกเว้น นิพพานอย่างเดียว ที่เป็นสิ่งที่ยังเกิดดับ เกิดดับ
ธรรมที่เป็นอกุศล ก็หมายถึงว่า สิ่งทั้งปวงที่เป็นอกุศล คือจิตสงัดแล้วจากสิ่งเหล่านั้น เข้าถึงปฐมฌาน
ก็แปลว่า ปฐมฌานเข้าได้ มาจาก 
1. สงัดจากกาม 
2. สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศล 
จิตจะเริ่มเข้าถึงปฐมฌาน
แต่ยังประกอบด้วยวิตก วิจารณ์ คือมีความตริตรึก ไปถึงข้างหน้า ไปถึงอนาคต ไปถึงอดีตอยู่ นะครับ
หรือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น นั่งแล้วเกิดวิตก วิจารณ์เนี่ย แล้วก็มีปิติสุขกันเกิดจากวิเวก
วิเวกแล้วจากกาม จากธรรมที่เป็นอกุศล เข้าถึงปฐมฌาน 
เมื่อจิตเข้าถึงตรงนี้ เอ้า ผมยกตัวอย่าง สมมุติว่าท่านนั่งสมาธิอยู่ 
จะรู้ลมหายใจ รู้ท้องพองยุบ หรืออะไรก็แล้วแต่
ในขณะนั้นเนี่ย ท่านพรากออกมาจากกาม ท่านพรากออกมาจากกามแน่ๆ
แล้วก็สงัดจากธรรมอันเป็นอกุศล
ในช่วงแรกอาจมีความคิดที่เป็นนิวรณ์เดือดเนื้อร้อนใจ
แต่สักพักมันก็จะเริ่มจางไปๆๆๆ แล้วก็สงัดจากกาม แล้วก็สงัดจากธรรมอันเป็นอกุศล
จิตจะค่อยๆผ่องใสขึ้น แล้วก็ตั้งมั่นขึ้น เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก วิจารณ์ คือยังมีเสียงพากย์ในหัว 
ยังมีเสียงพากย์อยู่ในหัว แต่มีปิติ น้ำหูน้ำตาไหล ขนลุกขนพอง อะไรก็แล้วแต่ นิดๆหน่อยๆก็ได้
หรือจะเกิดขึ้นเยอะๆก็ได้ แล้วแต่บางคน
มีสุขอันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ ....แค่เนี้ย ปฐมฌาน นะครับ
หลายท่านก็อาจจะมีความรู้สึกอย่างนี้บ้าง เวลานั่ง
แต่ไม่ต้องเกิดในสมาธินะครับ ไม่เกี่ยวว่าจะต้องอยู่ในท่านั่งนะครับ
อย่างปฐมฌานเนี่ย นั่งดูอะไรแล้วมันเกิดสิ่งนี้
สมมุติว่าดูเรื่องพระคุณแม่ โอวววว เกิดความปิติน้ำตาไหล 
ตอนนั้นก็สงบจากกาม สงัดจากธรรมอันเป็นอกุศลเหมือนกันนะครับ
ดูพระกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็รู้สึกแบบนี้เหมือนกัน
โอยยยย ท่านเมตตาเราจริงๆ จิตเข้าสู่ปฐมฌานเหมือนกันนะครับ
เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจให้ถูกเรื่องของปฐมฌาน นะครับ
ไม่ใช่ว่าจะต้องท่านี้( นั่งสมาธิ ) เพียงอย่างเดียวนะครับ ก็ไม่ใช่แล้วนะครับ
แต่ว่าถ้าเลยจากตรงนี้เนี่ย มันก็ต้องว่ากันไปเรื่อยๆแหละ
ที่นี้ ด้วยความที่วิตก วิจารณ์ทั้งสองระงับลง ก็คือเริ่มเงียบ เสียงพากย์ในหัวเริ่มเงียบ
จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา เข้าสู่ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารณ์ คือเงียบล่ะ
มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิ ตอนนี้จิตเข้าสู่สมาธิแล้ว จิตเริ่มตั้งมั่นแล้ว แต่ยังมีปิติ กับสุขอยู่ 
อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ในฌานที่ 2 ยังมีปิติและสุขอยู่
ทีนี้ พอปิติเริ่มจาง พอ ปิติมันเกิดขึ้น มันก็จางลงไปเหมือนกัน 
ทีนี้ พอปิติเริ่มจาง จิตเริ่มอยู่เป็นอุเบกขาแล้ว ความสุขที่วูบๆวาบๆก็เริ่มค่อยๆสงบลง
จิตก็เริ่มเข้าสู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ..นะครับ เสวยความสุขด้วยนามกาย
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นปกติสุข เข้าถึงตติยฌาน 
แล้วทีนี้ 
พอละสุขละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปของโทมนัสและโสมนัสทั้งสองในกาลก่อน
เข้าถึงฌานที่ 4 ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่
ทำไมพระพุทธเจ้าท่านได้พูดถึง สัมมาสมาธิไว้ในรูปฌาน4 ? ต้องดูตรงนี้ไปก่อน นะครับ
แล้วเดี๋ยวผมจะทำให้ท่านเห็นอะไรบางอย่าง
ท่านจะพูดถึงการเดินทางของจิตมาจนกระทั่งถึงจุดนี้ ฌานที่ 4
เมื่อจิตเดินทางมาถึงฌานที่ 4 เนี่ย เราจะเห็นแต่ละคำจะบอกว่า
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข 
มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ (เน้น )มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ
บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่
ตรงนี้ จิตจะเข้าไปสัมผัสกับอุเบกขาแท้ๆ ถ้าจิตเข้าไปสัมผัสอุเบกขาแท้ๆตรงนี้ได้บ่อยๆมากๆ
มันจะเหมือนกับเด็กคนนึง ...ถ้าวันนี้ เราเองเป็นผู้ใหญ่ 
เรารู้สึกว่านอกบ้านเนี่ย มันร้อน แต่ทำไมเด็กมันชอบวิ่งเล่นนอกบ้าน 
บอกให้มันนั่งเฉยๆซัก 5 นาทีนี่ นั่งไม่ได้ วิ่งปรู๊ด ออกไป
ออกมานั่งซัก 10 นาที..ไม่ได้!! ทำยังไงก็ไม่ได้
เหมือนนั่งสมาธิเนี่ย อยู่ๆใครจับเรามานั่งปุ๊บ นั่งไม่ได้!! ทำยังไง?
เค้าถึงต้องใช้อุบาย "เอ้าหนู ให้ 20 บาท นั่งตรงนี้ครึ่งชั่วโมง"
พอนั่งครึ่งชั่วโมงปุ๊บ แบมือ...เอ้า 20 แล้ววิ่งไป
เดี๋ยวๆมาอีก "เอ้าวันนี้นะ ให้ 50 เลย นั่งชั่วโมงนึง" ให้ชั่วโมงปุ๊บ นั่งอยู่เฉยๆปุ๊บ วิ่งออกไป
ทำอย่างนี้ บ่อยๆเนืองๆ บ่อยๆเนืองๆ จนวันนี้ ถ้านั่งได้ทั้งวัน ให้ 100 นึง 
นั่งทั้งวันอ้ะ! ให้ร้อยนึง
บ่อยๆเข้าเดือนนึงผ่านไป สองเดือนผ่านไป สามเดือนผ่านไป ก็ใช้อุบายเนี้ย ไปเรื่อย
พอถึงวันนึง 
อ้าว วันนี้ไม่ออกกไปเล่นข้างนอกเหรอ?
(สั่นหัว) ฮึ ไม่ไปอ้ะ
อ้ะ ทำไม
ข้างนอกร้อน ฝุ่นเยอะ เพื่อนแกล้งด้วย
อ้าว ทำไมเมื่อก่อนชอบ?
ก็ม่รู้ว่าตรงนี้มันสบายกว่า
ใช่!! อุบายมีอยู่แค่นี้เอง 
ถ้าจิตได้สัมผัสสิ่งนี้บ่อยขึ้น ๆ จะรู้เลยว่า ที่ไหนที่สมควรอยู่ !!
วันนี้ ไม่มีทางเลือก เด็กคนนี้ไม่มีทางเลือกเหมือนกัน
ไม่เคยรู้มาก่อนว่า ตรงนี้สบายกว่า เคยมีแต่คนบอกแต่ไม่เชื่อ
จนกระทั่งต้อง ประจักษ์แจ้ง ด้วยประสบการณ์ของเด็กคนนี้เอง
ถ้าอุปมาเด็กนี้ฉันใด อุปมัยว่าจิตเป็นฉันนั้น จะเหมือนกันเลย
เฮ้ย ทำไมมันถึงวิ่งกระสับกระส่าย พอบอลมา ก็เอาแต่นั่งดูบอล
ตอนที่มันจะยิงเข้าไม่เข้า โอ๊ยๆๆ ลุ้นๆๆ หรือว่าดูข่าวหรือดูอะไรก็แล้วแต่ ดูกีฬา
มันจะบีบ จะฆ่ากันอะไร โอยย ชอบดูหนังแอคชั่น หนังผี ทำตาอย่างนี้ก็เอา ( ทำท่าปิดตา )
คือ จะดูทำไมถ้างั้น นะ แต่ พอด้วยความที่.... มันไม่ได้ดูตรงโน้นหรอก มันชอบตรงนี้
จิตมันชอบเสพความทุกข์ มันชอบเสพความตื่นเต้น ที่นี้มันบีบๆๆๆๆ มันไปชอบตรงนี้ (ใจ)
ทีนี้พอไฟดับวูบ!! เฮ้อ ! ค่อยยังชั่วหน่อย
อ้าว แล้วทำไมไม่ปิดซะเองล่ะ
ไม่เอา อยากดู! 
เอ๊อะ ! ยังไง ! ( หัวเราะ ) ฟังแล้วงง งง เพราะว่าไฟดับพรึ่บ หึ ..ดีเหมือนกัน เกือบตายเมื่อกี้นี้
เพราะว่ามันถูกบีบคั้นมาก แล้วมันก็ปล่อย พอมันเข้าสู่อุเบกขา มันก็คือ สบาย
แต่ด้วยความที่มันไม่คุ้น มันจึงกระโดดเข้าไปงับฝั่งโน้น
แต่คนที่ฝึกมาซักพักนึง ทุกคนที่มาบอกผม เดี๋ยวนี้พอดูอะไรที่มันโหดๆ ปิดดีกว่า ( หัวเราะ )
คือมันทนไม่ไหว ปิดเอง ไม่ต้องรอไฟดับ ไม่รู้จะต้องดูไปทำไม
ผมก็บอก ก็ดีแล้ว ก็จะดูไปทำไม ดูแล้วมันเกิดอกุศล ดูแล้วมันบีบคั้น
มันก็ไม่ใช่ว่าจะต้องดูอะไรกันนักหนาหรอก
ปิดตาซะบ้าง ปิดหูซะบ้างแต่ถ้าอะไรจำเป็นต้องดู ก็ดูไป 
แล้วก็หาทางปล่อยวางพวกนี้บ้าง ถ้ามันจำเป็นต้องดู
แต่ถ้าไม่จำเป็นต้องดูหนังที่มันกรี๊ดๆๆ แล้วก็แกล้งไปตบกันเนี่ย อย่าไปดูให้เสียเวลาเลย
อย่าไปซ้อมลงนรกกับพวกเค้า เค้าน่ะอาจจะไม่ได้ลงหรอก เค้าเล่นด้วยใจเป็นกลาง
ไอ้เราน่ะ นั่งดูไม่ค่อยใจเป็นกลางเท่าไหร่ วูบวาบๆๆ (หัวเราะ )

มรรคองค์ที่ ๗ สัมมาสติ

ถอดคำบรรยายธรรม เรื่อง มรรค องค์ที่ ๗
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ธรรมบรรยาย เพื่อความรู้แจ้ง แห่งวิถีทางดับทุกข์
ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2556

                                                         (องค์มรรคที่ ๗)
                                              กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
                                              ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความระลึกชอบ เป็นอย่างไรเล่า
                                              อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ, 
                                                         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้, 
                                              กาเย กายา นุปัสสี วิหะระติ, 
                                                          ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,
                                              อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนย ยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
                                                          มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
                                                          และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,                                           
เรามาดูก่อน ก่อนที่เราจะผ่านไป เราเริ่มมาถึงสัมมาสติแล้ว ชักคุ้นๆแล้ว ชักคุ้นๆหน่อย
เวลาไปปฏิบัติธรรม เค้ามักจะพูดถึงสติปัฏฐาน 4 เห็นกายในกาย เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนา...
อ้อ..อยู่ตรงนี้เอง นะครับ ศึกษามาตั้งนาน สติปัฏฐาน 4 หลักสูตรสติปัฏฐาน 4
ถ้าอยู่ๆผมถามว่า แล้วคุณไปปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 น่ะ มันอยู่ตรงไหนในมรรค ตรงไหนล่ะ
คุณตอบไม่ถูก อ้าวแล้วถ้าคุณไม่รู้ แล้วปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 แล้วมันจะพ้นทุกข์ยังไง
ก็ยังไม่รู้ว่า ทำไมถึงต้องสติปัฏฐาน 4 ทำไมพระพุทธเจ้าถึงได้ให้ใช้สติปัฏฐาน 4 ในการเดินทางเพื่อจัดการกับตัณหาแล้วก็ อุปาทาน ทำไมสติปัฏฐาน 4 มีกำลังมาขนาดนั้นเชียวเหรอ
แต่กำลังของสติปัฏฐาน 4 จะเกิดขึ้นได้ อาศัยมรรค ตั้งแต่องค์ที่ 1 เลยนะครับ ตั้งแต่องค์ที่ 1 เลยนะ
นอกจากใครสั่งสมบารมีจนเต็มหมดเลยนะครับ ข้อ 1 พักเว้นไว้ก่อน
เพื่อที่จะเถึงความเป็นโสดาบัน ก็แค่ว่าสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้นเดินเข้ามาแล้ว อาจจะ 0.5 
ยังไม่ 1แต่ว่าพอ 2 เริ่มดำริออกจากการ ไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน พอมาถึงศีล 5 ข้อ 3 4 5 คือศีล 5 พูดง่ายๆ

ศีล 5 ท่านเต็มบริบูรณ์ ไม่ทำผิดอีกเลยเนี่ย ตอนนั้นเนี่ย จิตจะลอยตัวขึ้นเหนือแล้ว
แล้วกำลังจะสูงมาก มีศีลเป็นบาท เป็นกำลัง ที่ฝึกฝนมา บางคนอาจจะบริบูรณ์มาจากอดีตชาติ
บางคนบริบูรณ์ในชาตินี้ บางคนเพิ่งจะเริ่มบริบูรณ์ บางคนเพิ่งจะเริ่มมีเจตนาเป็นเครื่องเว้น ก็ต่างๆกันไป
พอเจตนาเป็นเครื่องเว้น แล้วอยู่ๆไปเจริญสติเลยได้มั๊ย ....ก็ ได้ !! แต่ก็ต้องทำคู่กันไปเรือ่ยๆ
ให้กำลังมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ไปช่วยกัน นะครับ
ศีลก็ไปช่วยปัญญา   ปัญญาก็มาช่วยศีล
ศีลก็ไปช่วยสมาธิ     สมาธิก็มาช่วยศีล
เหมือนที่หลวงพ่อชาท่านเคยบอกว่า
เวลาเท้าเปื้อน เท้าซ้ายล้างเท้าขวา เท้าขวาล้างเท้าซ้าย ถูกันไป ถูกันมา ก็สะอาดทั้งคู่แหละ
ก็คือท่านก็ใช้ยกตัวอย่างในไตรสิกขานี่แหละ เพราะทุกอย่างมันก็ช่วยกันหมด
พอมีเจตนาเป็นเครื่องเว้น พอจะขโมย ก็อืมมมม (ไม่เอา)...แต่พูดถึงก็อยากได้ (ไม่เอา!! )
เอ้อ..ตรงนี้ ! จิตจะเกิดกำลังขึ้น มีขันติ มีทมะการข่มใจ เกิดเป็นกำลังขึ้น นะครับ
ขันติเป็นเครื่องเผากิเลส เผาอยู่ตรงนี้แหละ กิเลสมันจะต้องเบาบาง เบาบาง
ใจมันก็เริ่มสบาย หลังจากนั้น การภาวนาในมรรค ข้อที่ 7 มันก็จะง่ายขึ้น
อันนี้ ผมปูพื้นให้ ที่นี้ กลับมาที่ในส่วนรายละเอียด
เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
กายในกายคืออะไร เห็นอะไร เห็นกายในกายแปลว่าอะไร
พูดกันง่ายๆก็คือ ส่วนเนี่ยคือกายของเรา ที่มันเป็นกาย เป็นรูป นะครับ
เป็นกองของดินน้ำลมไฟ เป็นหมู่ของดินน้ำลมไฟที่มาประชุมรวมกัน
แต่เวลากายในกายเนี่ย ถ้าศัพท์ให้พวกเราเข้าใจในยุคของเราง่ายๆเนี่ย
ก็คือ การสุ่มตัวอย่างขึ้นมาซักส่วนหนึ่ง
ถ้าสมมุติว่า ผมเคลื่อนมือไปหยิบนาฬิกา
ผมก็จะดูการเคลื่อนของส่วนเนี้ยะ ที่สุ่มมาจากกายทั้งหมด
ไม่ต้องไปดูทั้งหมด ดูแค่ตรงเนี้ย เป็นตัวแทนของพรรคพวก
เพราะนี่ก็เป็นกลุ่มดินน้ำลมไฟ เป็นกลุ่มของขันธ์ที่รวมตัวกันอยู่ตรงนี้
เป็นกลุ่มของธาตุ 4 อยู่ตรงนี้ มหาภูตรูป 4 ปุ๊บ...ยื่นออกไปปั๊บ เห็นการเคลื่อนของกาย
ก็เอาแค่นี้ เนี่ยะ!เห็นกายในกาย พิจรณาเห็นการเคลื่อนของกายอยู่เป็นเนืองๆอยู่เป็นประจำ นะครับ
แต่คำว่ากายในกาย ก็มีครูบาอาจารย์ท่านก็เพิ่มขึ้นไปอีกหน่อย อย่างเช่นท่านพุทธทาส ก็บอกว่า
มันจะต้องมีการขึ้นจริงนะ สิ่งนั้น เราฟังอย่างนี้ ฟังไม่ออกว่าท่านหมายถึงอะไร
หมายความว่า ถ้าเรานอนอยู่ สมมุติว่าเราไม่สบาย แล้วเรานอนอยู่บนเตียง
เราเป็นนักปฏิบัติที่เคยเดินจงกรมอยู่ทุกเช้า หรือทุกก่อนนอน แต่ว่าวันนั้นเราลุกไม่ได้
เราก็จึงนอนอยู่บนเตียง เตียงโรงพยาบาล เราก็คิดว่าเรากำลังเดินจงกรม
เราคิดว่า เราเห็นภาพเราเดินจงกรม เพราะเราเดินอยู่ทุกวัน ก็เห็นภาพเราเดินจงกรมในความคิด
ขวา ซ้าย ขวา .. อย่างนี้ ไม่ใช่กายในกาย ( หัวเราะ ) ท่านหมายถึงอย่างนี้ไม่ใช่กายในกาย
เพราะอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ยังไม่ใช่ นะครับไม่ใช่
ถ้าอย่างนั้น อยู่บนเตียงนะ นอนอย่างนี้ดีกว่า
เดินอยู่บนเตียงอย่างนี้ดีกว่า นะครับ เดินไปเดินมาอย่างนี้ดีกว่า
อย่างนี้มีกายนะครับ อย่างนี้มีกาย อย่างนี้ได้ นอนอย่างนี้ อย่างนี้ได้ นอนอย่างนี้ได้
คืออย่างนี้ มีกายจริง เป็นการสุ่มตัวอย่างขึ้นมามีกายจริง ดูลมหายใจก็ได้ ก็เป็นกายลมไป นะครับ
บรรทัดล่างต่อนะครับ บรรทัดล่างนี่สำคัญแต่คนไม่ค่อยพูดถึงเลย
เหมือนเจตนาเป็นเครื่องเว้น ผมเชื่อว่าท่านสวดมาตั้งแต่นานนมแล้ว
แต่ไม่มีใครบอกเลยว่า ที่สุดของเจตนาเป็นเครื่องเว้น นั่นคือหมดเจตนา
แล้วหมดเจตนานี่แสดงว่าเข้าไปใกล้นิพพานแล้วนะ ในทุกๆส่วนๆ มันจะมีเจตนาแล้วหมดเจตนา
เคยได้ยินพระพุทธเจ้าบอก ไม่พักและไม่เพียรมั๊ยครับ
ทำไมถึง ถึงตรงนั้นได้ อ้าว! แล้วทำไมสัมมาวายามะ บอกให้เพียร
มันเพียร จนหมดเพียร
มันเพียร จนหมดความเพียร ไม่ต้องเพียรอีก
ทำดีไปทำไม ทำกุศลไปทำไม อ้าว! พระพุทธเจ้าบอกให้ทำกุศล
แต่พอสุดท้าย ก็บอกว่า กุศลก็ไม่เอา ไม่ใช่เลิกทำกุศลนะ ตอนที่บอกว่ากุศลไม่เอา
กุศลมันเต็มเปี่ยม โดยจิตไม่ไปเกาะกุศลนั้นอีก เหมือนศีลน่ะ
ถ้าเข้าใจเรื่องศีล ผมบอกแล้วว ท่านก็เข้าใจทุกเรื่อง
สติก็เหมือนกัน วันนี้มาฝึกสติ แต่พอวันสุดท้าย ท่านบอกว่า สติดับ ปัญญาดับ นามรูปดับ
ที่ที่สุดแห่งทุกข์ ที่วิญญาณดับ อ้าว! แล้วฝึกสติ แล้วไปสติดับ
ผมถึงบอกว่า ถ้ามันพูดกันไปคนละขั้น มันจะงงมาก
เพราะฉะนั้นวันนี้ ถ้าเราเข้าใจตั้งแต่ศีลเนี่ย
สติวันนี้ก็ฝึก มีเจตนาที่จะมีสติ จนหมดเจตนาที่จะมีสติ
สติพอใช้ชำระจนเห็นความจริง จนเกิดปัญญาหมดแล้วเนี่ย
ไม่มีกิเลสออกมาให้จับอีกแล้วเนี่ย สติ จะอยู่ทำอะไร?  ก็พ้นไปอีก พ้นธรรมก็ไม่ยึดธรรม
สติ ก็ยังอยู่ในธรรมฝ่ายเกิดดับ ทีนี้ ถ้าพูดตรงนี้ มันก็จะทำให้สับสน
แต่ถ้าเข้าใจตั้งแต่เรื่องศีล วันนี้ ถ้ามีใครบอกว่า ....
โอ๊ย ที่สุดมันก็ไม่มีศีลหรอก เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องไปถือศีล ก็พัง!!
เก๊าะ ขโมยเต็มเมืองสิงั้น ! เก๊าะสบายสิ ก้อไม่ต้องมีศีล ไม่ต้องมี...ไม่ใช่!!!
ผมถึงบอกว่า วันนี้ พูดกันมันถึงต้องเข้าใจว่าใครยืนอยู่ที่ไหน นะครับ
บางครั้ง เราไปฟังครูบาอาจารย์ท่านก็สอนเฉพาะในคน กลุ่มของท่าน ที่เค้ายืนอยู่ตรงนั้นแล้ว
สอนโพล๊ะ หลุดเลย ถ้ามัวแต่ให้ทำนู่นทำนี่ทำนั่น ก็เกิดเจตนาในการทำอยู่นั่นแหละ
บางคนจะหลุดอยู่แล้ว ต้องเขี่ยให้มันหลุดเจตนา ต้องหมดเจตนา ก็หลุดเลย
เพราะฉะนั้น อยู่ตรงไหนก็ว่ากันไป
พระพุทธเจ้าทำไมถึงบอกว่า ดูก่อนโมกคัลลา จงมองเห็นโลกนี้เต็มไปด้วยความว่าง เป็นของว่าง
อ้าว ! ทำไมท่านสอนอีกคนนึงอีกแบบนึง
ก็เพราะว่า ยืนกันคนละที่ แต่คนสอนก็ต้องดูกันคนละที่เหมือนกัน
แต่เราบอกแล้วว่า วันนี้ เรามาเข้าใจมรรคให้ครบถ้วน
อ่านตาม ท่องตาม สวดตาม สิ่งที่ที่านสอนทั้งหมด สิ่งที่ท่านตรัสรู้
แล้วเราก็ไปดูเองว่า บางข้อเราก็เห็นว่า เออ เราพ้นไปแล้ว ก็ไม่ต้อง
ก็เหลืออะไร เดี๋ยวก็ค่อยๆบอกไปว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าอย่างไร
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ขณะที่ท่านพิจารณาเห็นกายในกาย เอ้ายกตัวอย่างสมมุติการเดินจงกรมก็แล้วกันนะ
เข้าใจกันง่ายๆ นักปฏิบัติ เดินไปเดินมา มันก็เบื่อ เบื่อก็มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความไม่พอใจที่มันเกิดขึ้นในโลก ก็คือ ขันธโลก ในจิต ออก
เห็นด้วยความเป็นกลาง พอเห็นด้วยความเป็นกลางในการเดินจงกรม เห็นอะไรครับ?
เห็นการเกิดดับ!
เห็นว่ากายนี้ไม่ใช่เรา
ถอนตรงนี้ออกเมื่อไหร่ จะเห็นสิ่งนี้เลย
แต่วันนี้ไม่เห็นเพราะอะไรครับ?
ถ้าลูกของท่านมีคนมาบอกว่า เป็นคนขี้ขโมย ท่านบอกว่า ลูกท่านไม่เป็นอย่างนั้น ชั้นไม่เชื่อ!!
ถ้าาท่านมองลูกด้วยความเอนเอียง ท่านจะไม่เห็นความจริง
แต่หากท่านถอนความพอใจ ความไม่พอใจในลูกออกเสียได้
มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจไม่พอใจในลูกออกเสียได้ ถอนความพอใจออก
แล้วดูด้วยใจเป็นกลาง สังเกตด้วยดูใจเป็นกลาง แล้วท่านจะพบความจริงว่าลูกท่านขี้ขโมยอย่างที่เค้าบอก
แล้วถึงวันนั้น ท่านถึงจะรู้ว่าท่านจะทำยังไงกับลูก!!
แต่ถ้าวันนี้ ยังมีความพอใจและความไม่พอใจอยู่ มันจะเกิด ภาษาเค้าเรียกว่า ไบแอส Bias
มันจะเกิดความเอนเอียง โน้มเอียงไปในสิ่งนั้น หรือผลักไสออกไปจากสิ่งนั้น ก็ทำให้ไม่เห็นความจริง
แล้วเมื่อไม่เห็นความจริง จิตจะเข้าใจความจริงไปได้ยังไง ในเมื่อมันเพี้ยนกันไปหมด
มันเพี้ยนไปตั้งแต่องค์ประกอบแรก
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าบอกให้ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก ก็จึงเห็นความจริง
ว่า สรรพสิ่ง ล้วนเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งที่เกิดขึ้น แล้วดับไป ล้วนเป็นทุกข์
ที่มันบีบคั้นอยู่ไม่ได้ด้วยตัวเอง สิ่งที่เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน
พอสิ่งนั้นเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ เราไปยึดติด อยากให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ชั่วนิจนิรันดร หรือไม่เปลี่ยนแปลง
..มันจะเป็นไปได้ยังไง ก็เริ่มเห็นความจริงว่ามันไม่มีตัวตน มันแค่เกิดๆ ดับๆไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน
ไปบังคับบัญชายังไงมันก็เอาไม่อยู่ เพราะมันไม่ได้เกี่ยวกับเรา
เราไปคิดเอาเอง
เราไปอยู่กับ"คิดเอง"
เราไปอยู่กับสังขารการปรุงแต่งให้ค่า เอง
คิดว่าสิ่งนั้นมันจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งสิ่งนั้นมันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเราเลย
ยกตัวอย่างง่ายๆ โลกใบนี้กลม
เมื่อหลายพันปีก่อน ก็เชื่อว่าโลกใบนี้แบน
นักวิ่ทยาศาสตร์บางคนก็ค้นพบว่าโลกใบนี้กลมก็ไม่มีใครเชื่อ แถมนักวิทยาศาสตร์โดนฆ่าอีก
หาว่า เห็นไม่เหมือนคนอื่น จะทำให้คนอื่นเห็นผิด
จนกระทั่ง ผมถามว่า วันที่คนมีความเชื่อว่าโลกนี้แบน โลกเคยแบนมั๊ย ไม่เคย!!ไม่เกี่ยวข้องด้วย
จนมาถึงวันนี้ นักวิทยาศาสตร์บอกว่าโลกมันกลม กลมจริงๆอย่างที่เราเห็นนั่นแหละ
เริ่มเห็นจากจักรวาลบ้างแล้ว โลกก็ไม่เคยสนใจที่ใครจะเชื่อว่าอะไร มันไม่เคยเปลี่ยนมากลมด้วย
วันข้างหน้า จะไปเชื่อว่ามันจะเป็นยังไง มันก็อยู่ของมันอย่างเนี้ยะ
ไม่เคยเปลี่ยนไปตามความเชื่อของใครทั้งสิ้น!!
นี่คือ สัจธรรมความจริง
เพราะฉะนั้น ถ้าเราถอนความพอใจ และความไม่พอใจได้ เราจะเห็นความจริง
ซึ่งมันมีอยู่ต่อหน้าต่อตา แต่วันนี้ เราถูกปิดบังด้วยอะไรหลายๆอย่าง นะครับ
ในมรรคองค์ที่ 7 จะเริ่มค่อยๆทำให้เราเห็นความจริงที่เกิดขึ้นทั้งกายกับใจของเรา
เริ่มต้นจาก เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
นะครับ ต่อนะครับ

                          เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ, 
                                 ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, 
                          อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนย ยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง, 
                                 มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
                                 และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้, 
                                              จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ, 
                                                          ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,
                                              อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนย ยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง, 
                                                          มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
                                                          และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้, 
                           ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ,
                                  ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, 
                           อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนย ยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง, 
                                  มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
                                  และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้ 
                           อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ, 
                                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ
ครับ ทีนี้ เรากลับมาดูความระลึกชอบ สัมมาสติให้จบ
เมื่อกี้นี้ เราพูดไปถึง เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
ตอนนี้เราก็เห็นว่า ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
แล้วก็ ข้อความต่อมาก็คือ เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตใจจิตอยู่เป็นประจำ
แล้วก็มาถึงอันสุดท้าย เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
แล้วในทุกๆอัน จะมีบรรทัดหลังก็คือ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เหมือนกันในทุกๆหมวดของสติปัฏฐาน 4 เลยนะครับ
เพราะฉะนั้น เรากลับมาที่สติปัฏฐาน 4
สติปัฏฐาน 4 ก็คือ กาย เวทนา จิต ธรรม อย่างที่เราไปเข้าคอร์ส คำนี้ คุ้นเคยมาก
วันนี้เราจะได้รู้ซักทีว่า สติปัฏฐาน 4 ที่พูดถึงเนี่ย จะเป็นองค์ธรรมที่วันหนึ่งจะทำให้เกิดสัมมาสติ
สัมมาสติจะเกิดขึ้นเองจากการที่ปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ได้อย่างถูกต้อง
ถูกต้องยังไง ถูกต้องตรงที่
1.เป็นผู้พิจารณาเห็นกาย เวทนา จิต ธรรมอยู่เป็นประจำ
เน้นคำว่า อยู่เป็นประจำ
ถ้าเห็นไม่เป็นประจำ ไม่เห็นสิ่งเหล่านี้อยู่เป็นประจำ จะไม่สามารถฟันธงได้
จิตจะไม่สามารถฟันธงได้ ในสิ่งที่กำลังเก็บข้อมูลอยู่
2. มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความเพียรในการเข้าไปรู้
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เมื่อกี้ที่เราพูดถึงข้อสุดท้าย ในสัมมาวายามะ ข้อที่ 6.3 ที่บอกว่า ให้ทำกุศลให้เกิดขึ้น
และทำกุศลให้งอกงามไพบูลย์ ต้องมีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก ไม่ว่าทางกาย เวทนา จิต ธรรม ก็แบบเดียวกัน
คือดูด้วยใจเป็นกลาง สังเกตด้วยใจเป็นกลาง ก็จะเห็นความจริง
ความจริงเกิดอะไรขึ้น ถ้าเห็นความจริงตามความเป็นจริง ก็จะเห็นว่า..
สรรพสิ่งเกิดขึ้น และดับไปเป็นธรรมดา
แค่เห็นอย่างเดียวเนี่ย ไม่ต้องเห็นมาก เพราะว่าเห็นไตรลักษณ์ตัวใดตัวหนึ่งเนี่ย
อีก 2 ตัวเนี่ย จิตมันจะเจ้าใจเอง มันเหมือนกับของที่มันเป็นสิ่งเดียวกัน อยู่แค่ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างๆ
จับตัวนึง จับได้น่ะ มันจับหมด! นะ เพียงแต่ว่าเราสั่งสมมาทางได้ไหนมาก
บางคนสั่งสมมาทางด้านของเกิดดับมาก พอเห็นสรรพสิ่งเกิดดับ ใบไม้ร่วงก็ โอ อนิจจัง จิตโอวว อะไรก็อนิจจัง
แต่บางคนก็ไม่มีตัวตน เห็นในด้านของอนัตตา เห็นความไม่มีตัวตน อะไรๆ มันก็ไม่เห็นมีตัวตนอะไร
เอ๊ะ ทำไมบางคนบอกว่า ชั้นเห็นแต่แบบนี้ ไม่เห็นมันเห็นความเกิดดับอะไรเลย
แต่เห็นมันไม่เห็นมีตัวตน ไม่เห็นมันจะต้องเข้าไปยึดถืออะไร เพราะมันไม่ได้มีตัวตน มันก็เป็นของมันอย่างนี้
ไม่เห็นมีตัวตน เราไปยึดมันขึ้นมาเอง พูดอย่างนี้ก็จบเลย ก็เหมือนกัน แต่เค้าพูดกันคนละมุม
มันเหมือนของอย่างเดียวกัน แต่พูดกันคนละมุม
บางคนบอก ชั้นไม่เห็นเหมือนอย่างที่เธอเห็นเลย เห็นแต่สรรพสิ่งเป็นทุกข์ เพราะมันบีบคั้น
เพราะมันอยู่ด้วยตัวมันเองไม่ได้ซักอย่าง ขึ้นๆลงๆ ขึ้นๆ ลงๆ บีบๆคั้นๆ
เดี๋ยวก็หายไป เดี๋ยวก็เกิดขึ้น อยู่อย่างนี้
เค้าเห็นในเรื่องของทุกขัง ตัวมันบีบคั้น บีบคั้นตัวมันเอง
ก็เหมือนกับขันธ์ 5 ทั้งหลาย บีบคั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไปทุกวันตลอดเวลา
มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ไม่เป็นมีสุขตรงไหน
ถ้าใครมาเห็นอย่างนี้ ก็เห็นในมุมของทุกขัง
เพราะฉะนั้น ไตรลักษณ์ จะเห็นตรงไหนก็เหมือนกัน
มันเกิดการเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เกิดวิราคะธรรมขึ้นมา แล้วก็เบื่อหน่าย
ไม่เห็นมีอะไร สิ่งที่เรายึดถือเข้าไป ก็เริ่มปล่อยวาง
พอปล่อยเข้า ปล่อย ปล่อย ปล่อย มากๆ เข้าก็ดับ ๆ ๆ ๆ ๆ สุดท้ายก็คืน สลัดสู่โลกไป นะครับ
เพราะฉะนั้น การพิจารณาเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม เนี่ย
ก็คือ เห็นสิ่งเหล่านั้นบ่อยๆ เนืองๆด้วยใจเป็นกลาง พูดง่ายๆ
โดยที่ยังมีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ ในการเผากิเลส
ทีนี้ การที่จะเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นกลางได้ เห็นเป็นกลางก็คือไม่เข้าไปเป็นลวก เป็นลบ กับสิ่งนั้น
จิตจะต้องมีความตั้งมั่น ต้องอาศัยตัวช่วยแล้วคือ มรรคองค์ที่ 8 นั่นเอง
ใน มรรคองค์ที่ 8  ผมจะใช้วิธีอ่านนำเองเลย เพราะเวลาจะไม่พอ

มรรคองค์ที่ 1