ถอดคำบรรยาย หัวข้อ ละทิ้งการปรุงแต่ง ความจริงจะปรากฎ
จากสื่อ MP3 ชุด "ทุบเปลือก ทำลายเมล็ด"
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ณ ยุวพุทธฯ ศูนย์ 2 เมื่อวันที่ 9 - 15 มีนาคม 2556
เริ่มบรรยาย
เราลองดูพุทธพจน์ ในบทที่เกี่ยวกับนิวรณ์ กับ อาณาปานสติกันสักนิดก่อน เพื่อเราจะได้เข้าใจ
[ ภิกษุทั้งหลาย ! นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ๕ อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้วทำปัญญาให้ถอยกำลังมีอยู่ ๕ อย่าง อย่างไรเล่า ] ห้าอย่างคือ
๑. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
…...เราเพิ่งมาจากบ้านจากเรือน เวลาอยูที่บ้านก็มีกามเยอะแยะ กามไมใช่เรื่องแบบนั้น หรือ เรื่องผู้หญิงผู้ชายอย่างเดียวนะ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ที่เราเข้าไปติดๆๆกันเยอะแยะ พวกนี้เวลาระลึกถึง นึกถึงหรือเข้ามาปรุงแต่งจิต ก็ทำให้จิตถอยกำลัง …....
๒. พยาบาท ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงา ซึมเซา ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน และรำคาญ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
๕. วิจิกิจฉา ความลังเล ความสงสัย ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
….....ทั้ง 5 ข้อนี้ เกิดขึ้นได้ยังไง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อาหารของนิวรณ์ 5 คือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
คือการทำผิดศีล หรือการทำสิ่งที่ไม่สมควรเป็นอกุศลทางกาย ทางวาจาและทางใจ
ก็จะทำให้นิวรณ์เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
สิ่งที่เราทำมาตั้งแต่บ้าน ตั้งแต่ที่เราอยู่ข้างนอก
ก็จะก่อให้เกิดเป็นนิวรณ์ขณะที่เราต้องอยู่ที่นี่
ดังนั้น ท่านอย่าคิดว่าท่านสั่งได้
เข้ามาอยู่ในคอร์สปฏิบัติทำไมถึงไม่สงบ สงสัยคอร์สนี้ไม่ดี สถานที่ไม่ดี
ไม่เกี่ยวหรอก มันอยู่ที่ตัวเรา ก่อนหน้านี้ เราทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต รึปล่าว
ถ้าเราทำ สังเกตง่ายๆนะ ถ้าก่อนมาเนี่ย
ใครมีแฟนทะเลาะกับแฟน ใครมีลูกก็ทะเลาะกับลูก
ใครอยู่กับพ่อแม่เกิดมีปากมีเสียงกับพ่อแม่
นั่งหลับตาแป๊บเดียว มากันหมด
นี่ไง ก็เมื่อไหร่ก็ตาม ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต นิวรณ์มันก็เกิดอยู่แล้ว
เป็นผล เพราะท่านสร้างเหตุเอาไว้ …. แล้วจะทำอย่างไรละทีนี้
เข้ามาอยู่ตรงนี้วันสองวันแรกมันถึงกระสับกระส่ายไปหมด
ทำอย่างไรจิตก็ไม่รวมกำลัง ไม่เกิดเป็นกำลังสักที ก็เพราะนิวรณ์รบกวนตลอด
ทีหลังจะมาเข้าคอร์ส 5 วัน 7 วัน ที่ไหนเนี่ย
เข้าคอร์สตั้งแต่บ้านมาก่อน 5 วัน 7 วัน
(หึ หึ หัวเราะ) จะได้เข้าคอร์สทีละ 14 วัน ^__^ เข้ามาตรงนี้มันจะได้สงบเลย
ก็ถ้าที่บ้านไม่เข้าคอร์สเลย มาเข้าที่นี่อย่างเดียว มันก็เลยไม่สงบ
…... ดูว่าพระพุทธเจ้าตรัสอย่างไรต่อ …..
[ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว
จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ
ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้
นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. ]
…...ใครก็ตามที่มีนิวรณ์ 5 รบกวน การที่จะแจ้งซึ่งญาณทัศนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นพระอริยะมีไม่ได้หรอก พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีไม่ได้ ญาณทัศนะอันวิเศษอันยิ่งกว่าความเป็นธรรมดาของมนุษย์ ก็คือการตรัสรู้ หรือ
การรู้ธรรมเนี่ย มีไม่ได้ ถ้ายังมีนิวรณ์เข้ามารบกวน นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.....แล้วดูท่านอุปมาเอาไว้
เราลองดูพุทธพจน์ ในบทที่เกี่ยวกับนิวรณ์ กับ อาณาปานสติกันสักนิดก่อน เพื่อเราจะได้เข้าใจ
[ ภิกษุทั้งหลาย ! นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ๕ อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้วทำปัญญาให้ถอยกำลังมีอยู่ ๕ อย่าง อย่างไรเล่า ] ห้าอย่างคือ
๑. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
…...เราเพิ่งมาจากบ้านจากเรือน เวลาอยูที่บ้านก็มีกามเยอะแยะ กามไมใช่เรื่องแบบนั้น หรือ เรื่องผู้หญิงผู้ชายอย่างเดียวนะ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ที่เราเข้าไปติดๆๆกันเยอะแยะ พวกนี้เวลาระลึกถึง นึกถึงหรือเข้ามาปรุงแต่งจิต ก็ทำให้จิตถอยกำลัง …....
๒. พยาบาท ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงา ซึมเซา ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน และรำคาญ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
๕. วิจิกิจฉา ความลังเล ความสงสัย ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
….....ทั้ง 5 ข้อนี้ เกิดขึ้นได้ยังไง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อาหารของนิวรณ์ 5 คือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
คือการทำผิดศีล หรือการทำสิ่งที่ไม่สมควรเป็นอกุศลทางกาย ทางวาจาและทางใจ
ก็จะทำให้นิวรณ์เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
สิ่งที่เราทำมาตั้งแต่บ้าน ตั้งแต่ที่เราอยู่ข้างนอก
ก็จะก่อให้เกิดเป็นนิวรณ์ขณะที่เราต้องอยู่ที่นี่
ดังนั้น ท่านอย่าคิดว่าท่านสั่งได้
เข้ามาอยู่ในคอร์สปฏิบัติทำไมถึงไม่สงบ สงสัยคอร์สนี้ไม่ดี สถานที่ไม่ดี
ไม่เกี่ยวหรอก มันอยู่ที่ตัวเรา ก่อนหน้านี้ เราทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต รึปล่าว
ถ้าเราทำ สังเกตง่ายๆนะ ถ้าก่อนมาเนี่ย
ใครมีแฟนทะเลาะกับแฟน ใครมีลูกก็ทะเลาะกับลูก
ใครอยู่กับพ่อแม่เกิดมีปากมีเสียงกับพ่อแม่
นั่งหลับตาแป๊บเดียว มากันหมด
นี่ไง ก็เมื่อไหร่ก็ตาม ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต นิวรณ์มันก็เกิดอยู่แล้ว
เป็นผล เพราะท่านสร้างเหตุเอาไว้ …. แล้วจะทำอย่างไรละทีนี้
เข้ามาอยู่ตรงนี้วันสองวันแรกมันถึงกระสับกระส่ายไปหมด
ทำอย่างไรจิตก็ไม่รวมกำลัง ไม่เกิดเป็นกำลังสักที ก็เพราะนิวรณ์รบกวนตลอด
ทีหลังจะมาเข้าคอร์ส 5 วัน 7 วัน ที่ไหนเนี่ย
เข้าคอร์สตั้งแต่บ้านมาก่อน 5 วัน 7 วัน
(หึ หึ หัวเราะ) จะได้เข้าคอร์สทีละ 14 วัน ^__^ เข้ามาตรงนี้มันจะได้สงบเลย
ก็ถ้าที่บ้านไม่เข้าคอร์สเลย มาเข้าที่นี่อย่างเดียว มันก็เลยไม่สงบ
…... ดูว่าพระพุทธเจ้าตรัสอย่างไรต่อ …..
[ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว
จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ
ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้
นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. ]
…...ใครก็ตามที่มีนิวรณ์ 5 รบกวน การที่จะแจ้งซึ่งญาณทัศนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นพระอริยะมีไม่ได้หรอก พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีไม่ได้ ญาณทัศนะอันวิเศษอันยิ่งกว่าความเป็นธรรมดาของมนุษย์ ก็คือการตรัสรู้ หรือ
การรู้ธรรมเนี่ย มีไม่ได้ ถ้ายังมีนิวรณ์เข้ามารบกวน นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.....แล้วดูท่านอุปมาเอาไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา
ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดพาสิ่งต่างๆไปได้
….....มีแม่น้ำไหลลงมาจากภูเขา นะ......
มีบุรุษมาเปิดช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น ด้วยเครื่องไถทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น
…....ก็คือมาขุดร่องเอาไว้เต็มหมดเลย ข้างๆแม่น้ำนะ …...
เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสกลางแม่น้ำนั้น ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง ไม่ไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว ไม่พัดสิ่งต่างๆ ไปได้, นี้ฉันใด;
ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดพาสิ่งต่างๆไปได้
….....มีแม่น้ำไหลลงมาจากภูเขา นะ......
มีบุรุษมาเปิดช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น ด้วยเครื่องไถทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น
…....ก็คือมาขุดร่องเอาไว้เต็มหมดเลย ข้างๆแม่น้ำนะ …...
เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสกลางแม่น้ำนั้น ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง ไม่ไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว ไม่พัดสิ่งต่างๆ ไปได้, นี้ฉันใด;
ก็เพราะนิวรณ์นี่แหละ ทำให้สายน้ำเนี่ย ซัดส่ายไปหมด แทนที่จะรวมกำลัง เกิดเป็นกำลังแล้วพุ่งตรงไปข้างหน้า แต่กลับไปขุดร่องเอาไว้เต็มหมดเลย พวกวิจิกิจฉา พยาบาท กามฉันทะทั้งหลาย ก็ไปขุดร่องเอาไว้ มันเหมือนชะลอมน้ำที่น้ำไหลออกหมดเลย ไม่มีกำลัง ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว
จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ
อันควรแก่ความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์
ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพไร้กำลัง ดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ท่านเรียกว่า คนที่มีนิวรณ์ 5 อย่างเนี่ย เป็นผู้มี ปัญญาอันทุพพลภาพไร้กำลัง
เพราะฉะนั้น อย่าหวังว่าจะเกิดญาณทัศนะใดๆขึ้น หากยังมีนิวรณ์รบกวน
ท่านใช้คำว่า ปัญญาอันทุพพลภาพ
แสดงว่าตลอดมาที่เราอยู่เนี่ย เราอยู่กับ ปัญญาอันทุพพลภาพ มากๆนะ
เพราะเรามีนิวรณ์ตลอดทั้งวัน เราฟุ้งซ่านรำคาญใจทั้งวัน
เรามีกามฉันทะอยากกินโน่น อยากได้ที่ ทำไมที่นี่ร้อนจัง ตลอดเวลา
เกิดการปรุงแต่งขึ้นในจิต ทำให้จิตอ่อนกำลังทั้งหมดตลอดเวลา
เดี๋ยวก็ง่วงเหงาซึมเซา ทำอะไรก็ไม่ตั้งมั่น
เพราะฉะนั้นในการมาวันนี้ เราจะค่อยๆละการปรุงแต่งออกไปก่อน ละการปรุงแต่งออกไปเรื่อยๆ
ในวันแรกๆ สิ่งที่จะทำได้ง่ายที่สุดก็คือ … สมมุติว่า ท่านนั่งสมาธิอยู่แบบเมื่อสักครู่นี้
รู้ลมไปปั๊บ เอ้า ได้ 3-4 ที เดี๋ยวเอ้า แว๊บออกไปอีกแล้ว...นะ
ก็ไม่มีปัญหาอะไร ก็ละ แล้วก็กลับมาอยู่กับลมไว้
แต่อย่าไปบีบบังคับมากนะ เดี๋ยวปวดหัว
คือ หลายครั้งที่เราไปบังคับเค้ามาก มันก็กลายเป็นไม่สบาย ๆ
คำว่าไม่สบายหมายถึงป่วยนะ คือการปฏิบัติมันไม่เป็นที่สบาย
ถ้าเห็นว่ากระแสนั้นแรงจริงๆ บางทีก็ต้องปล่อยไปก่อน
แต่คำว่าปล่อยนั้น ไม่ใช่ว่าไม่ดูแล แล้วเดี๋ยวค่อยกระตุกใหม่
วันแรกๆ ก็ต้องดึงๆ ผ่อนๆ ดึงๆ ไปเรื่อยๆ แต่ก็ดึงเข้ามาอยู่ในทางก่อน
พยายามละการปรุงแต่ง ในทุกๆอริยาบท
เนื่องจากหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเข้ม นะครับ ที่เรียกว่า ขังเดี่ยว
ถ้าหากออกไปพูดข้างนอกคนก็จะตกใจฮือฮานะ โอ้โฮ ขังเดี่ยวเลยเหรอ !
( หัวเราะ ) ก็ไม่เห็นจะมีอะไรเลย ขังเดี่ยว
อย่าเข้าห้องล็อคกลอนแล้วกัน เห็นเข้าไปหลับทุกที ขังเดี่ยว !! ( หัวเราะ )
หลับเดี่ยวเลย ปฏิบัติรวมๆยังไม่กล้าหลับ นี่เข้าไปขังเดี่ยว....(ฮา )
รู้มั๊ยครับ?ทำไมผมถึงต้องบรรยายตอนบ่าย 2 ( หัวเราะกันทั้งห้อง )
ดักไว้ก่อน กันหลับยาว นะ ^___^
จะบรรยายบ่ายโมงก็เกรงใจ เอาซักบ่าย 2
อย่างน้อยยังไง เดี๋ยวก็ได้ยินเสียงนาฬิกาในห้องปลุก ติ๊ดๆ ติ๊ดๆ ตอนบ่ายโมงครึ่งน่ะ ( ฮา )
ขึ้นมาล้างหน้าล้างตา อย่างน้อยได้ตื่นบ่ายโมงครึ่งก็ยังดี
แต่นักภาวนาที่ เวลาเค้าเห็นเหลือน้อยแล้วน่ะนะครับ ไม่ใช่เหลือน้อยเฉพาะผู้สูงอายุนะครับ
ทุกคนเหลือน้อยทั้งนั้นแหละ ก็....ทำความเพียร.....
นอน....นอนที่บ้านก็ได้ นอนกันมาเยอะแล้ว นอนสบายกว่าที่นี่อีก
แต่ที่นี่เค้าก็มีไว้ให้ภาวนานะครับ เต็มที่ มาถึงก็...ทำความเพียรให้เต็มที่
ผมมาก็ไม่ได้มีอะไรมาก มีอะไรที่ช่วยเหลือได้ แนะนำได้
หรือว่ามีประสบการณ์อะไรที่จะช่วยให้ท่านเดินทางได้ง่ายขึ้น
แล้วก็ชี้จุดต่างๆ ให้เห็นมุมมอง รวมถึงสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติ
ว่า สิ่งที่เรากำลังปฏิบัติอยู่เนี่ย จะเดินทางสู่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ได้จริงใช่มั๊ย
หลายคนก็ เอ๊ !ที่ทำอยู่เนี่ยนะ มันจะจริงรึปล่าว แล้วการปฏิบัติมันต้องอย่างนี้เหรอ
ต้องตื่นกันเช้าๆอย่างนี้ แล้วก็เดินจรงกรมนั่งสมาธิอย่างนี้หรือ
อาหารก็ต้องกินในปิ่นโต กินน้อยๆอย่างนี้เหรอ ต้องอยู่ลำบากๆอย่างนี้เหรอ
(พูดเสียงกลั้วหัวเราะ ) นี่ไม่เรียกลำบากหรอกนะ
แล้วต้องทรมานกายกันแบบเนี้ย นั่งกันเป็นครึ่งชั่วโมงๆ
อัตตกิลมถานุโยค ปล่าว !! (หัวเราะ )
นั่งสมาธิกันเป็นชั่วโมงๆ ไม่เรียกอัตตกิลมถานุโยค
อัตตกิลมถานุโยค เป็นพวกอดอาหาร 7 วัน 10 วัน นอนบนตะปู
ยืนขาเดียว เหนี่ยวกินลม อย่างนั่น เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
นั่งสมาธิ ชั่วโมง ถึง 7 ชั่วโมง ไม่ถือว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค
เป็นการฝึก! เป็นอุบาย! เป็นอุบายที่ใช้ฝึกให้เห็นความจริง นะ
อาศัยเวทนาบ้าง อาศัยการเกิดขึ้นสภาวะธรรมต่างๆบ้าง เอามาเรียนรู้
เพราะเมื่อเรียนรู้แล้ว ก็จะเห็นว่าสรรพสิ่งเป็นแค่รูปนาม
ล้วนเกิดขึ้น แล้วก็ดับเป็นธรรมดาในเบื้องต้นจะเห็นอย่างนี้ล่ะ
จากนั้น นานไป นานไป ก็เห็นว่า สภาพที่เกิดดับเนี่ย มันบีบคั้นมากๆเลยนะ
มันบีบคั้น เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดเวลาเลย มันเป็นสภาพทุกข์
เราเข้าไปยึดถือสภาพทุกข์นี่เอง เราจึงเป็นทุกข์
สังขารร่างกายจิตใจเรา ก็เป็นสภาพทุกข์ เราเข้าไปยึดถือมันจึงทุกข์
เพราะสภาพทุกข์บีบคั้นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเนี่ย มันจึงเกิดเป็นอนิจจัง
เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา อ๋อ ไอ้สภาพทุกข์เหล่านี้ มันมีเหตุปัจจัยให้เกิดมันจึงเกิด
เหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลง มันก็เปลี่ยนสภาพ เปลี่ยนสภาพตามเหตุปัจจัยของมัน
ไม่เคยอยู่คงสภาพเดิม มันไม่มีตัวตน มันเรียกว่าอนัตตา
เมื่อมีสภาพนึงเปลี่ยนไป ผลก็เปลี่ยน ผลก็กลายเป็นเหตุ
เหตุก็ไปสร้างผลต่อไป เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
มีแต่เหตุกับผล ผลกับเหตุ เหตุกับผล
อัตตกิลมถานุโยค เป็นพวกอดอาหาร 7 วัน 10 วัน นอนบนตะปู
ยืนขาเดียว เหนี่ยวกินลม อย่างนั่น เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
นั่งสมาธิ ชั่วโมง ถึง 7 ชั่วโมง ไม่ถือว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค
เป็นการฝึก! เป็นอุบาย! เป็นอุบายที่ใช้ฝึกให้เห็นความจริง นะ
อาศัยเวทนาบ้าง อาศัยการเกิดขึ้นสภาวะธรรมต่างๆบ้าง เอามาเรียนรู้
เพราะเมื่อเรียนรู้แล้ว ก็จะเห็นว่าสรรพสิ่งเป็นแค่รูปนาม
ล้วนเกิดขึ้น แล้วก็ดับเป็นธรรมดาในเบื้องต้นจะเห็นอย่างนี้ล่ะ
จากนั้น นานไป นานไป ก็เห็นว่า สภาพที่เกิดดับเนี่ย มันบีบคั้นมากๆเลยนะ
มันบีบคั้น เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดเวลาเลย มันเป็นสภาพทุกข์
เราเข้าไปยึดถือสภาพทุกข์นี่เอง เราจึงเป็นทุกข์
สังขารร่างกายจิตใจเรา ก็เป็นสภาพทุกข์ เราเข้าไปยึดถือมันจึงทุกข์
เพราะสภาพทุกข์บีบคั้นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเนี่ย มันจึงเกิดเป็นอนิจจัง
เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา อ๋อ ไอ้สภาพทุกข์เหล่านี้ มันมีเหตุปัจจัยให้เกิดมันจึงเกิด
เหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลง มันก็เปลี่ยนสภาพ เปลี่ยนสภาพตามเหตุปัจจัยของมัน
ไม่เคยอยู่คงสภาพเดิม มันไม่มีตัวตน มันเรียกว่าอนัตตา
เมื่อมีสภาพนึงเปลี่ยนไป ผลก็เปลี่ยน ผลก็กลายเป็นเหตุ
เหตุก็ไปสร้างผลต่อไป เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
มีแต่เหตุกับผล ผลกับเหตุ เหตุกับผล
กลับไปกลับมา ไม่มีตัวตน เป็นอนัตตา
จึงได้เข้าใจ เมื่อเข้าใจในอนัตตาธรรมถึงที่สุด ก็เริ่มสลัดคืน
จิตก็จะเริ่มวาง วางลง ๆ ๆ จนกระทั่งวางจนถึงที่สุด
แต่ก็ยังไม่จบซักที นะ...ก็เพราะจิตยังยึดถือตัวเองเป็นตัวตนนั่นแหละ
จึงได้วกกลับเข้าไปอีกครั้งนึง จัดการกับอวิชชาตัวสุดท้าย
เมื่อจัดการกับอวิชชาได้เกิด วิชชา นั่นแหละหลุดพ้น เ
ข้าสู่สภาพที่เรียกว่า พระนิพพาน ปิดคอร์สได้แล้ว (หัวเราะ ) จบแล้ว มีเท่านี้แหละ
แล้วทีนี้ เราจะปฏิบัติยังไง พระพุทธเจ้าบอกให้เราปฏิบัติยังไง ถึงจะเข้าถึงสิ่งนี้ได้ นะครับ
[ เปิด VTR ] ผู้อยู่ใกล้นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ เมื่อประกอบพร้อมด้วยธรรมสี่อย่างแล้ว ไม่อาจที่จะเสื่อมเสีย
มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียว ธรรมสี่อย่างอะไรบ้างเล่า? ธรรม สี่อย่างคือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ
เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เนืองๆ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล
มีการสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
มีมรรยาทและโคจรสมบูรณ์อยู่
เป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ได้เห็นรูปด้วยตา
ได้ฟังเสียงด้วยหู
ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก
ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น
ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย
และได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ก็ไม่รวบถือเอาทั้งหมด และไม่แยกถือเอาเป็นส่วน ๆ
สิ่งที่เป็นอกุศลลามก คืออภิชฌาและโทมนัส
มักไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใดเป็นเหตุ
เธอก็ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้
เธอรักษา และถึงความสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคาย แล้วจึงฉันอาหาร
ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง
แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยกำหนดรู้ว่า “เราจะกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสียแล้ว
ไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น
ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญจะมีแก่เรา” ดังนี้. ภิกษุทภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี
ครั้นยามกลางแห่งราตรี ย่อมสำเร็จการนอนอย่างราชสีห์
…. เดี๋ยวเรามาดูชาคริยธรรมกันซักนิดนะครับ
จึงได้เข้าใจ เมื่อเข้าใจในอนัตตาธรรมถึงที่สุด ก็เริ่มสลัดคืน
จิตก็จะเริ่มวาง วางลง ๆ ๆ จนกระทั่งวางจนถึงที่สุด
แต่ก็ยังไม่จบซักที นะ...ก็เพราะจิตยังยึดถือตัวเองเป็นตัวตนนั่นแหละ
จึงได้วกกลับเข้าไปอีกครั้งนึง จัดการกับอวิชชาตัวสุดท้าย
เมื่อจัดการกับอวิชชาได้เกิด วิชชา นั่นแหละหลุดพ้น เ
ข้าสู่สภาพที่เรียกว่า พระนิพพาน ปิดคอร์สได้แล้ว (หัวเราะ ) จบแล้ว มีเท่านี้แหละ
แล้วทีนี้ เราจะปฏิบัติยังไง พระพุทธเจ้าบอกให้เราปฏิบัติยังไง ถึงจะเข้าถึงสิ่งนี้ได้ นะครับ
[ เปิด VTR ] ผู้อยู่ใกล้นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ เมื่อประกอบพร้อมด้วยธรรมสี่อย่างแล้ว ไม่อาจที่จะเสื่อมเสีย
มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียว ธรรมสี่อย่างอะไรบ้างเล่า? ธรรม สี่อย่างคือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ
เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เนืองๆ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล
มีการสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
มีมรรยาทและโคจรสมบูรณ์อยู่
เป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ได้เห็นรูปด้วยตา
ได้ฟังเสียงด้วยหู
ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก
ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น
ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย
และได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ก็ไม่รวบถือเอาทั้งหมด และไม่แยกถือเอาเป็นส่วน ๆ
สิ่งที่เป็นอกุศลลามก คืออภิชฌาและโทมนัส
มักไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใดเป็นเหตุ
เธอก็ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้
เธอรักษา และถึงความสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคาย แล้วจึงฉันอาหาร
ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง
แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยกำหนดรู้ว่า “เราจะกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสียแล้ว
ไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น
ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญจะมีแก่เรา” ดังนี้. ภิกษุทภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี
ครั้นยามกลางแห่งราตรี ย่อมสำเร็จการนอนอย่างราชสีห์
…. เดี๋ยวเรามาดูชาคริยธรรมกันซักนิดนะครับ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุ พึงประกอบชาคริยธรรมอยู่เนืองนิตย์
ตั้งแต่ตื่น นี่ถ้าทำตามพระพุทธเจ้าเลย ตั้งแต่ตื่น
คำว่าตื่นนี่คือ ตั้งแต่ยามต้นถึงราตรี นี่คือ ตี 2 นะ
แล้วก็ทันทีที่ตื่น ก็เดินจงกรม นั่งสมาธิมาเรื่อยๆ แล้วก็ปฏิบัติกิจตามสมควรในตอนเช้า
ภิกษุก็ไปบิณฑบาตร เราก็รับประทานอาหารไป ทำกิจส่วนตัวไป
จากนั้นก็เดินจงกรม นั่งสมาธิไปเรื่อยๆต่อไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี
คือสี่ทุ่ม แล้วก็สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ตั้งแต่สี่ทุ่ม ด้วยการนอนตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า
ถ้าทำตามอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสเลยนะครบ นี่เป็นชาคริยธรรม
(คือ) ตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น,
ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว
ก็ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต
ด้วยการเดินจงกรม และด้วยการนั่งอีก
ภิกษุทั้งหลายภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เมื่อประกอบพร้อมด้วยธรรมสี่อย่างเหล่านี้แล้ว
ไม่อาจที่จะเสื่อมเสีย มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียวแล
เพราะฉะนั้นทัง 4 ข้อนะครับ ตั้งแต่การเป็นผู้มีความสมบูรณ์ด้วยศีล
ผมก็เชื่อว่า การที่ท่านได้เข้ามาอยู่ในสถานที่แห่งนี้ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับเรื่องศีล
ทีนี้ ที่ท่านต้องทำคือ คุ้มครองอินทรีย์ทั้งหลาย
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และก็สิ่งที่มาสัมผัสกระทบ มีสติ รู้ทัน
อันนี้คือสิ่งที่ท่านต้องทำให้บ่อยๆ เนืองๆ ให้มาก
เพราะว่า ไม่มีทางที่...การที่ท่านออกไปใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ท่านจะสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้สมบูรณ์
ใช่ ถึงแม้ว่าสถานที่นี้ จะเป็นที่ที่สามารถควบคุมผัสสะของท่านได้ระดับนึง
เพราะนี่คือการฝึก นี่คือการฝึกนะ
เพราะฉะนั้น ถ้าง่ายๆอย่างนี้ทำไม่ได้ ออกไปทำไม่ได้หรอก !!!
ถ้าง่ายๆอย่างที่นี่ทำไม่ได้ ออกไปท่านไม่มีทางทำได้ !!!
ผมบอกให้เลย ท่านก็รู้อยู่แล้ว ว่า ออกไปผัสสะพุ่งใส่กันขนาดไหน
แล้วการกระแทกเข้ามาในสถานที่ต่างๆ หรือ ในหมู่คนต่างๆมากมายก่ายกอง
ถ้าง่ายๆอย่างนี้ทำไม่ได้
อย่าหวังว่าออกไปจะทำได้
แต่ถ้าง่ายๆอย่างนี้ พอทำได้ พอจะฝึกได้ พอจะปลุกมันขึ้นมาได้
เนี่ยะ ออกไปก็ยังพอไหว เหมือนนักกีฬาต่อยพันชิ่งบอล มาต่อยกระสอบทราย
กระสอบทรายมันไม่ตอบโต้นี่ แต่พอขึ้นเวทีจริงๆมันมีคนตอบโต้
คู่ต่อสู้มันตอบโต้ ที่นี่ไม่มีใครตอบโต้กับท่าน
เพราะฉะนั้น ตอนนี้เราต่อยกระสอบ ถ้ากระสอบเนี่ยไม่ต่อย
ออกไป จะออกไปต่อยใครได้ มีแต่ถูกต่อยอย่างเดียว
แต่ถ้าง่ายๆอย่างนี้ พอทำได้ พอจะฝึกได้ พอจะปลุกมันขึ้นมาได้
เนี่ยะ ออกไปก็ยังพอไหว เหมือนนักกีฬาต่อยพันชิ่งบอล มาต่อยกระสอบทราย
กระสอบทรายมันไม่ตอบโต้นี่ แต่พอขึ้นเวทีจริงๆมันมีคนตอบโต้
คู่ต่อสู้มันตอบโต้ ที่นี่ไม่มีใครตอบโต้กับท่าน
เพราะฉะนั้น ตอนนี้เราต่อยกระสอบ ถ้ากระสอบเนี่ยไม่ต่อย
ออกไป จะออกไปต่อยใครได้ มีแต่ถูกต่อยอย่างเดียว
เพราะฉะนั้น เป็นผู้คุ้มครองทวารเอาไว้ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ
มีอะไรกระทบ ก็ละ แล้วก็กลับมาอยู่กลับมาอยู่กับองค์บริกรรมไว้
ละ แล้วก็มาอยู่กับองค์บริกรรมไว้ มีสติสัมปชัญญะ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่รวบถือเอาทั้งหมด หรือไม่แยกถือเนี่ย
เดี๋ยวเราไปดูกันตอนที่พูดถึงเรื่องขันธ์อีกที ถ้าใครเข้าคอร์สเข้มมาหลายๆครั้ง
มีอะไรกระทบ ก็ละ แล้วก็กลับมาอยู่กลับมาอยู่กับองค์บริกรรมไว้
ละ แล้วก็มาอยู่กับองค์บริกรรมไว้ มีสติสัมปชัญญะ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่รวบถือเอาทั้งหมด หรือไม่แยกถือเนี่ย
เดี๋ยวเราไปดูกันตอนที่พูดถึงเรื่องขันธ์อีกที ถ้าใครเข้าคอร์สเข้มมาหลายๆครั้ง
เข้าใจเรื่องขันธ์แล้ว ก็จะเข้าใจตรงนี้ดี
แต่ถ้าใครอ่านแล้วไม่เข้าใจเลยไม่รู้เรื่อง ก็คงต้องไปปูพื้นเรื่องของขันธ์ 5 ก่อน
แล้วเดี๋ยวค่อยเห็นการกระทบ เห็นวิญญาณที่เข้าไปตั้งอาศัย
ผู้เข้าไปหาย่อมไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้นนั่นแหละ
การรู้ประมาณในโภชนา ไม่ฉันเพื่อเล่น ประดับ ตกแต่ง อันนี้ก็ชัดเจนนะครับ
การรับประทานอาหารซึ่งเหมาะมากในการขังเดี่ยวที่นี่ ก็คือ
ท่านได้ทาน แล้วก็อยู่กับตัวเองจริงๆ
ทุกคำ ทุกคำ ทุกคำ
เคี้ยว เคี้ยว เคี้ยว
แรกๆอาจจะรู้สึกว่า เอ๊ะ! ทำไมพอเข้าไปมีสติสัมปชัญญะ
ไปมีสมาธิกับการกินการเคี้ยว มันไม่อร่อยเลยอะ
บางคนทำท่าจะผะอืดผะอมเอาด้วยน่ะ ไปกำหนด เคี้ยว เคี้ยว อะไรอย่างนี้นะ
ก็ขั้นแรกก็ต้องลองถามตัวเองก่อนเลยว่า
ถ้าอร่อยมันมีอยู่จริง มันต้องไม่หายนะ มันหายไปไหนหล่ะ ถ้างั้น ? ^____^
แล้วท่านก็จะค่อยๆพบความจริงต่อไปเองว่า
คำว่า “อร่อย” เนี่ย มันคืออะไร ผมคิดให้ได้เลย เพราะเวลามันก็สั้น
7 วัน ก็กินกันแค่ประมาณ เฉลี่ยๆ ก็กินกันแค่ 14 มื้อ
มีบทให้ท่านฝึกอยู่ 14 ครั้ง ลองไปหาให้เจอดูก็แล้วกัน
คำว่าอร่อยที่เราพูดถึงเนี่ย มันขลุกกันอยู่ 2 ตัว คือ
[ อร่อยลิ้น ] กับ [ อร่อยใจ ]
ถ้าเมื่อไหร่จิตตั้งมั่นอยู่กับสมาธิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า สมาธิ ละ ราคะ
อร่อยใจจะหายไป เหลือแต่รสชาติทางลิ้น
นี่คือสิ่งที่ท่านไม่เคยคุ้น เพราะว่าเมื่ออร่อยใจหายไปท่านจึงรู้สึกว่าความอร่อยหายไป
แต่เปล่าเลย เมื่อไหร่ก็ตามที่วิญญาณดับ แล้วท่านรู้สึกคุ้นเคยกับสภาพการที่ไม่ปรุงแต่งทางใจขึ้นมาอีก
รสชาติที่ลิ้น เข้าไปสัมผัส เปรี้ยวหวานมันเค็ม สมมุติว่า ส้มตำ
ส้มตำ มีรสชาติ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด อะไรก็แล้วแต่
มันก็มีรสชาติเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด ของมันอยู่แล้ว
แต่ทุกวันนี้ เราไปอร่อยใจ พอเราอร่อยใจ ทันทีที่ตาเห็น
โห ! น่ากินจังเลย ….. มัน อร่อยใจ เข้าไปก่อนแล้ว
หลังจากนั้น ท่านตักพรวด ! เข้าไปแตะลิ้น
ลิ้นรับรสชาติ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม
มีสัญญาเข้าไปแปลค่าว่า รสชาติอย่างนี้กลมกล่อม
เป็นธรรมารมณ์ตามปกติ เกิดขึ้นดับไป
แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ ท่านไปปรุงมันขึ้นมาอีก โอ้โห อร่อยจังเลย
หลังจากนั้นท่านเคี้ยวๆๆ แล้วก็กลืนเข้าไป หลังจากนั้นท่านเข้าไปดูสภาวธรรม แล้วก็ไปดูเอง
นี่ป้อนกันถึงปากเลยน่ะ ( หัวเราะ หึหี ) สอนมากไปรึปล่าว
มากไปเหรอ... ^ ^ เห็นพยักหน้า ( หัวเราะ )
แล้วก็กลืนลงไป แต่ความอยากยังอยู่
อร่อยใจยังอยากอยู่ แล้วก็ตัก ขณะที่ยื่นลงไปตัก ยังอร่อยอยู่เลย
กลืนไปแล้ว ! หมดรสชาติที่ลิ้นแล้ว !
เพราะฉะนั้น นี่ของปลอมหมด ที่ถูกปรุงขึ้นมา นะ ..
…...ไปปฏิบัติ ! ......
แต่ถ้าใครอ่านแล้วไม่เข้าใจเลยไม่รู้เรื่อง ก็คงต้องไปปูพื้นเรื่องของขันธ์ 5 ก่อน
แล้วเดี๋ยวค่อยเห็นการกระทบ เห็นวิญญาณที่เข้าไปตั้งอาศัย
ผู้เข้าไปหาย่อมไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้นนั่นแหละ
การรู้ประมาณในโภชนา ไม่ฉันเพื่อเล่น ประดับ ตกแต่ง อันนี้ก็ชัดเจนนะครับ
การรับประทานอาหารซึ่งเหมาะมากในการขังเดี่ยวที่นี่ ก็คือ
ท่านได้ทาน แล้วก็อยู่กับตัวเองจริงๆ
ทุกคำ ทุกคำ ทุกคำ
เคี้ยว เคี้ยว เคี้ยว
แรกๆอาจจะรู้สึกว่า เอ๊ะ! ทำไมพอเข้าไปมีสติสัมปชัญญะ
ไปมีสมาธิกับการกินการเคี้ยว มันไม่อร่อยเลยอะ
บางคนทำท่าจะผะอืดผะอมเอาด้วยน่ะ ไปกำหนด เคี้ยว เคี้ยว อะไรอย่างนี้นะ
ก็ขั้นแรกก็ต้องลองถามตัวเองก่อนเลยว่า
ถ้าอร่อยมันมีอยู่จริง มันต้องไม่หายนะ มันหายไปไหนหล่ะ ถ้างั้น ? ^____^
แล้วท่านก็จะค่อยๆพบความจริงต่อไปเองว่า
คำว่า “อร่อย” เนี่ย มันคืออะไร ผมคิดให้ได้เลย เพราะเวลามันก็สั้น
7 วัน ก็กินกันแค่ประมาณ เฉลี่ยๆ ก็กินกันแค่ 14 มื้อ
มีบทให้ท่านฝึกอยู่ 14 ครั้ง ลองไปหาให้เจอดูก็แล้วกัน
คำว่าอร่อยที่เราพูดถึงเนี่ย มันขลุกกันอยู่ 2 ตัว คือ
[ อร่อยลิ้น ] กับ [ อร่อยใจ ]
ถ้าเมื่อไหร่จิตตั้งมั่นอยู่กับสมาธิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า สมาธิ ละ ราคะ
อร่อยใจจะหายไป เหลือแต่รสชาติทางลิ้น
นี่คือสิ่งที่ท่านไม่เคยคุ้น เพราะว่าเมื่ออร่อยใจหายไปท่านจึงรู้สึกว่าความอร่อยหายไป
แต่เปล่าเลย เมื่อไหร่ก็ตามที่วิญญาณดับ แล้วท่านรู้สึกคุ้นเคยกับสภาพการที่ไม่ปรุงแต่งทางใจขึ้นมาอีก
รสชาติที่ลิ้น เข้าไปสัมผัส เปรี้ยวหวานมันเค็ม สมมุติว่า ส้มตำ
ส้มตำ มีรสชาติ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด อะไรก็แล้วแต่
มันก็มีรสชาติเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด ของมันอยู่แล้ว
แต่ทุกวันนี้ เราไปอร่อยใจ พอเราอร่อยใจ ทันทีที่ตาเห็น
โห ! น่ากินจังเลย ….. มัน อร่อยใจ เข้าไปก่อนแล้ว
หลังจากนั้น ท่านตักพรวด ! เข้าไปแตะลิ้น
ลิ้นรับรสชาติ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม
มีสัญญาเข้าไปแปลค่าว่า รสชาติอย่างนี้กลมกล่อม
เป็นธรรมารมณ์ตามปกติ เกิดขึ้นดับไป
แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ ท่านไปปรุงมันขึ้นมาอีก โอ้โห อร่อยจังเลย
หลังจากนั้นท่านเคี้ยวๆๆ แล้วก็กลืนเข้าไป หลังจากนั้นท่านเข้าไปดูสภาวธรรม แล้วก็ไปดูเอง
นี่ป้อนกันถึงปากเลยน่ะ ( หัวเราะ หึหี ) สอนมากไปรึปล่าว
มากไปเหรอ... ^ ^ เห็นพยักหน้า ( หัวเราะ )
แล้วก็กลืนลงไป แต่ความอยากยังอยู่
อร่อยใจยังอยากอยู่ แล้วก็ตัก ขณะที่ยื่นลงไปตัก ยังอร่อยอยู่เลย
กลืนไปแล้ว ! หมดรสชาติที่ลิ้นแล้ว !
เพราะฉะนั้น นี่ของปลอมหมด ที่ถูกปรุงขึ้นมา นะ ..
…...ไปปฏิบัติ ! ......
ละการปรุงแต่งออกไปให้ได้ แล้วจะค่อยๆพบความจริงผุด
ความจริงมีอยู่แล้ว มันเหมือนกับอะไรที่มีอยู่แล้ว แล้วมีหมอกควันมาปิด
ความจริงไม่เคยหายไปไหน พระนิพพานไม่เคยหายไปไหน
แต่เราสร้างการปรุงแต่งขึ้นมาปิดทั้งหมด
เมื่อไหร่ก็ตามที่หมอกควันค่อยๆ จางลง จางลง
เราจัดการได้มากขึ้น มากขึ้น เราจะเห็นพระพุทธรูปที่อยู่ตรงหน้า
แต่วันนี้หมอกควันที่เราสร้างขึ้นมาเองด้วยความไม่รู้
ปิดบังพระพุทธรูป คือพุทธะ ทั้งหมด
เพราะฉะนั้น การมาปฏิบัติในครั้งนี้หลักสูตรเข้ม
ไม่ใช่มาปฏิบัติเอาความสุข ไม่ได้มาปฏิบัติเอาสนุก เอาได้สั่งสมบุญ
แต่เป็นการปฏิบัติเพื่อเดินทาง เพื่อไปให้สุดทางคือพระนิพพาน
หลักสูตรนี้ ไม่พูดเรื่องอื่น นอกจากเดินตรงเข้าสู่ทางแห่งพระนิพพานอย่างเดียว
เดี๋ยวเราสวด ธาตุปัญจขเวก ท่านจะได้ไปรับประทานข้าว
ในทุกมื้อ ก่อนที่ท่านจะรับประทานอาหาร ก็ให้สวดธาตุปัจจเวก แล้วก็มองไปที่อาหาร …....
ความจริงมีอยู่แล้ว มันเหมือนกับอะไรที่มีอยู่แล้ว แล้วมีหมอกควันมาปิด
ความจริงไม่เคยหายไปไหน พระนิพพานไม่เคยหายไปไหน
แต่เราสร้างการปรุงแต่งขึ้นมาปิดทั้งหมด
เมื่อไหร่ก็ตามที่หมอกควันค่อยๆ จางลง จางลง
เราจัดการได้มากขึ้น มากขึ้น เราจะเห็นพระพุทธรูปที่อยู่ตรงหน้า
แต่วันนี้หมอกควันที่เราสร้างขึ้นมาเองด้วยความไม่รู้
ปิดบังพระพุทธรูป คือพุทธะ ทั้งหมด
เพราะฉะนั้น การมาปฏิบัติในครั้งนี้หลักสูตรเข้ม
ไม่ใช่มาปฏิบัติเอาความสุข ไม่ได้มาปฏิบัติเอาสนุก เอาได้สั่งสมบุญ
แต่เป็นการปฏิบัติเพื่อเดินทาง เพื่อไปให้สุดทางคือพระนิพพาน
หลักสูตรนี้ ไม่พูดเรื่องอื่น นอกจากเดินตรงเข้าสู่ทางแห่งพระนิพพานอย่างเดียว
เดี๋ยวเราสวด ธาตุปัญจขเวก ท่านจะได้ไปรับประทานข้าว
ในทุกมื้อ ก่อนที่ท่านจะรับประทานอาหาร ก็ให้สวดธาตุปัจจเวก แล้วก็มองไปที่อาหาร …....
ธาตุปัจจเวกขณปาฐะ
(หันทะ มะยัง ธาตุปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส.) (ข้อว่าด้วยจีวร)
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง,
สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น, กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,
ยะทิทัง จีวะรัง, ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล,
สิ่งเหล่านี้ คือ จีวร, และคนผู้ใช้สอยจีวรนั้น,
ธาตุมัตตะโก,
เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต,
มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว,
มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ,
ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน,
สัพพานิ ปะนะ อิมานิ จีวะรานิ อะชิคุจฉะนียานิ,
ก็จีวรทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตฺวา,
ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ,
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียด อย่างยิ่งไปด้วยกัน,
(ข้อว่าด้วยบิณฑบาต)
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตะมัตตะเมเวตัง,
สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น, กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,
ยะทิทัง ปิณฑะปาโต, ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล,
สิ่งเหล่านี้ คือ บิณฑบาต, และคนผู้บริโภคบิณฑบาตนั้น,
ธาตุมัตตะโก,
เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต,
มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว,
มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ,
ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน,
สัพโพ ปะนายัง ปิณฑะปาโต อะชิคุจฉะนียานิ,
ก็บิณฑบาตทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตฺวา,
ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ,
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียด อย่างยิ่งไปด้วยกัน,
(ข้อว่าด้วยเสนาสนะ)
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง,
สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น, กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,
ยะทิทัง เสนาสะนัง, ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล,
สิ่งเหล่านี้ คือ เสนาสนะ, และคนผู้ใช้สอยเสนาสนะนั้น,
ธาตุมัตตะโก,
เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต,
มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
(หันทะ มะยัง ธาตุปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส.) (ข้อว่าด้วยจีวร)
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง,
สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น, กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,
ยะทิทัง จีวะรัง, ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล,
สิ่งเหล่านี้ คือ จีวร, และคนผู้ใช้สอยจีวรนั้น,
ธาตุมัตตะโก,
เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต,
มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว,
มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ,
ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน,
สัพพานิ ปะนะ อิมานิ จีวะรานิ อะชิคุจฉะนียานิ,
ก็จีวรทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตฺวา,
ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ,
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียด อย่างยิ่งไปด้วยกัน,
(ข้อว่าด้วยบิณฑบาต)
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตะมัตตะเมเวตัง,
สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น, กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,
ยะทิทัง ปิณฑะปาโต, ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล,
สิ่งเหล่านี้ คือ บิณฑบาต, และคนผู้บริโภคบิณฑบาตนั้น,
ธาตุมัตตะโก,
เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต,
มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว,
มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ,
ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน,
สัพโพ ปะนายัง ปิณฑะปาโต อะชิคุจฉะนียานิ,
ก็บิณฑบาตทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตฺวา,
ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ,
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียด อย่างยิ่งไปด้วยกัน,
(ข้อว่าด้วยเสนาสนะ)
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง,
สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น, กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,
ยะทิทัง เสนาสะนัง, ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล,
สิ่งเหล่านี้ คือ เสนาสนะ, และคนผู้ใช้สอยเสนาสนะนั้น,
ธาตุมัตตะโก,
เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต,
มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว,
มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ,
ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน,
สัพพานิ ปะนะ อิมานิ เสนาสะนานิ อะชิคุจฉะนียานิ,
ก็เสนาสนะทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตฺวา,
ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ,
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียด อย่างยิ่งไปด้วยกัน,
(ข้อว่าด้วยคิลานะเภสัช)
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตะมัตตะเมเวตัง,
สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น, กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,
ยะทิทัง คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร, ตะทุ ปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล,
สิ่งเหล่านี้ คือ เภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้, และคนผู้บริโภคเภสัชบริขารนั้น,
ธาตุมัตตะโก,
เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต,
มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว,
มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ,
ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน,
สัพพานิ ปะนายัง คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร อะชิคุจฉะนีโย,
ก็คิลานเภสัชบริขารทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตฺวา,
ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ.
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียด อย่างยิ่งไปด้วยกัน.
เดี๋ยวในเวลาท่านว่างๆ เวลาที่ไปพิจารณาอาหาร ก็ลองอ่านบทที่เป็นภาษาไทยไปเรื่อยๆนะครับ
ก็ลองทำ ความเข้าใจก่อนในเบื้องต้น
ผมก็เชื่อว่า จนถึงวันสุดท้าย ท่านจะเข้าใจแบบไม่ต้องคิดเอา
ก็คอยดูว่า ระดับจิตของท่านจะเปลี่ยนตั้งแต่วันนี้ ไปเรื่อยๆจนถึงวันสุดท้ายก่อนที่ท่านจะกลับ
ผมเชื่อว่า ท่านจะเข้าใจบทนี้แบบไม่ต้องแปล ไม่ต้องทำความเข้าใจอีก
นี่ต้องคิดเอา อะไรน๊อ เป็นธาตุตามธรรมชาตินะ
เวลาจะทานไข่เจียวก็ต้องมองให้เป็นธาตุตามธรรมชาติอะไรนี้นะ
ฟังไปก่อนนะ เราไปปรุงมันขึ้นมาเป็นไข่เจียว
แล้วเราก็ไปปรุงทับมันให้เป็นธาตุตามธรรมชาติ
ทีนี้มันทับกันเยอะนะ (หัวเราะ ) ปรุงทับกันไปทับกันมานะ
…....หยุดปรุงน่ะ …....
มันจะกลับไปเป็นธาตุตามธรรมชาติ
แต่เอาเถอะ วันนี้มันยังฟังกันไม่รู้เรื่อง วันนี้เป็นวันแรก
เดี๋ยวกราบพระนะ แล้วท่านจะได้ไปปฏิบัติภาวนา
อยู่กับตัวเองให้มาก ลดการปรุงแต่ง
ทุกความคิดวางลง แล้วไปอยู่กับองค์บริกรรม กราบพระ … เชิญครับ
ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน,
สัพพานิ ปะนะ อิมานิ เสนาสะนานิ อะชิคุจฉะนียานิ,
ก็เสนาสนะทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตฺวา,
ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ,
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียด อย่างยิ่งไปด้วยกัน,
(ข้อว่าด้วยคิลานะเภสัช)
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตะมัตตะเมเวตัง,
สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น, กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,
ยะทิทัง คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร, ตะทุ ปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล,
สิ่งเหล่านี้ คือ เภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้, และคนผู้บริโภคเภสัชบริขารนั้น,
ธาตุมัตตะโก,
เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต,
มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว,
มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ,
ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน,
สัพพานิ ปะนายัง คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร อะชิคุจฉะนีโย,
ก็คิลานเภสัชบริขารทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตฺวา,
ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ.
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียด อย่างยิ่งไปด้วยกัน.
เดี๋ยวในเวลาท่านว่างๆ เวลาที่ไปพิจารณาอาหาร ก็ลองอ่านบทที่เป็นภาษาไทยไปเรื่อยๆนะครับ
ก็ลองทำ ความเข้าใจก่อนในเบื้องต้น
ผมก็เชื่อว่า จนถึงวันสุดท้าย ท่านจะเข้าใจแบบไม่ต้องคิดเอา
ก็คอยดูว่า ระดับจิตของท่านจะเปลี่ยนตั้งแต่วันนี้ ไปเรื่อยๆจนถึงวันสุดท้ายก่อนที่ท่านจะกลับ
ผมเชื่อว่า ท่านจะเข้าใจบทนี้แบบไม่ต้องแปล ไม่ต้องทำความเข้าใจอีก
เวลาจะทานไข่เจียวก็ต้องมองให้เป็นธาตุตามธรรมชาติอะไรนี้นะ
ฟังไปก่อนนะ เราไปปรุงมันขึ้นมาเป็นไข่เจียว
แล้วเราก็ไปปรุงทับมันให้เป็นธาตุตามธรรมชาติ
ทีนี้มันทับกันเยอะนะ (หัวเราะ ) ปรุงทับกันไปทับกันมานะ
…....หยุดปรุงน่ะ …....
มันจะกลับไปเป็นธาตุตามธรรมชาติ
แต่เอาเถอะ วันนี้มันยังฟังกันไม่รู้เรื่อง วันนี้เป็นวันแรก
เดี๋ยวกราบพระนะ แล้วท่านจะได้ไปปฏิบัติภาวนา
อยู่กับตัวเองให้มาก ลดการปรุงแต่ง
ทุกความคิดวางลง แล้วไปอยู่กับองค์บริกรรม กราบพระ … เชิญครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กราบอนุโมทนาบุญกับผู้บรรยาย และผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านค่ะ
- ด้วยจิตคารวะ -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น