9/21/2556

มรรคองค์ที่ ๓ สัมมาวาจา

ถอดคำบรรยายธรรม เรื่อง มรรค องค์ที่ ๓
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ธรรมบรรยาย เพื่อความรู้แจ้ง แห่งวิถีทางดับทุกข์
ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2556

มาถึงมรรคองค์ที่ 3 ครับ

                                                          (องค์มรรคที่ ๓)
                                        กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา  
                                        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพูดจาชอบเป็นอย่างไรเล่า? 
                                        มุสาวาทา เวระมะณี  
                                       เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง 
                                       ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี 
                                       เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด  
                                       ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี 
                                       เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ 
                                       สัมผัปปะลาปา เวระมะณี  
                                       เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ  
                                       อะยัง วุจจะติ  ภิกขะเว สัมมาวาจา  
                                       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ

เรามาดูมรรคองค์ที่ 3 สัมมาวาจา

ดูไปแต่ละข้อที่เป็นข้อย่อย 4 ข้อ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร นะครับ
ก็คล้ายๆกับศีลที่เราสมาทานไปเมื่อสักครู่นี้ ในศีลข้อที่ 4 มุสาวาทาเวรมณี...ที่เราสวดไป
แต่ว่าเราจะเห็นเพิ่มขึ้น ไม่ได้มีแค่มุสาวาทาที่เราสวด
จะมีเรื่องของการพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้ออยู่ด้วย
เราลองมาดู เรื่องไม่พูดเท็จเนี่ย เข้าใจได้ไม่ยาก
พอมาถึงข้อที่ 2 เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด
พูดส่อเสียดเนี่ย ! ถ้าปล่อยให้เราคิดเองตามประสบการณ์
เราก็จะบอกว่า อ๋อ คงเป็นพูดแบบเสียดสี กระแนะกระแหนชาวบ้านงี้
…ไม่ใช่ !!
คำว่าพูดส่อเสียด แปลว่า พูดให้คนแตกกัน พูดให้คนตีกัน
พูดให้คนเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน นะครับ คือการพูดส่อเสียด
ส่วนการพูดคำหยาบ เข้าใจได้ไม่ยาก
พูดเพ้อเจ้อ … อันนี้ ถนัดอยู่แล้ว นะครับ ( คนฟังหัวเราะ ) ไม่ต้องอธิบายเลย
ต้องให้ท่านอธิบายให้ผมฟัง ( หัวเราะ )พูดเพ้อเจ้อเป็นยังไง ^ ^
ทีนี้ เรากลับมาดูว่า เอ…. บางครั้ง การพูดจริง กับการพูดส่อเสียดทำให้คนแตกกันเนี่ย
มันดู มันจะ...บางครั้งไปด้วยกันนะ เพราะถ้าเมื่อไหร่พูดจริง 
มันจะส่งผลให้เกิดการแตกแยกได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ใครล่ะ จะเป็นคนบอกว่า ในสถานการณ์นั้นเนี่ย
"ความจริง"อาจจะต้องเบาๆลงหน่อย เพราะมันเกิดความแตกแยกมากกว่า
ในเหตุการณ์ครั้งนึงที่เราอาจจะเคยอ่านพุทธประวัติ ว่า
ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นไม้ แล้วก็มีโจรคนนึ่งวิ่งผ่านไป
หลังจากนั้น ท่านก็ย้ายที่ประทับ อีกสักพัก ก็มีตำรวจวิ่งผ่านมา แล้วก็ทูลถามท่านว่า
“ พระองค์นั่งอยู่ตรงนี้ เห็นโจรวิ่งผ่านไปไหม “
พระองค์ก็บอกว่า “ ตถาคตนั่งอยู่ตรงนี้ ไม่เห็น “ หลังจากนั้น ตำรวจก็วิ่งไป
ถ้าเราใช้กรอบความคิดในความเป็นปุถุชน มองเรื่องตรงนี้เนี่ย
ผมเชื่อว่า สารพัดเหตุผลครับ รับรองได้ว่าสารพัดเหตุผล
ซึ่งผมก็เชื่อว่า หลายคนก็จะคิดอะไรต่อไป
แต่เราต้องอย่างนี้ …
เวลาเราฟังธรรมอะไรจากสมเด็จพระพุทธเจ้านะ
สิ่งนั้น จริง และมีประโยชน์ แสดงว่าสิ่งที่ท่านทำน่ะ เป็นประโยชน์สูงสุด อาจจะบอกว่าในเวลานั้นก็ได้
เพราะสิ่งที่ท่านตอบไป หนึ่ง ท่านไม่ได้โกหก เพราะตอนที่ท่านนั่งอยู่ตรงนี้ ท่านไม่เห็น
สอง คือการพูดส่อเสียด ถ้าพูดไปแล้วมันอาจจะเป็นร้ายอย่างหนัก อะไรบางอย่าง
ซึ่งเราอาจจะไม่รู้เหตุผลก็ได้ สมมุติว่า ตำรวจต้องฆ่าโจรตาย
ซึ่งในเหตุการณ์ความเป็นจริงเนี่ย เราก็ไม่รู้ว่า โจรอาจจะไม่ได้อะไรนักหนาก็ได้
แต่ว่า น้ำหนักของการพูดจริงแล้วส่งผลต่อความแตกแยก แล้วก็เป็นผลร้ายเนี่ย
ตรงนี้ แต่ละท่านก็ดูกันเอาเอง นะครับ ผมจะไม่ลงรายละเอียดล่ะ
เพราะมันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย บางคนบอก โห ถ้าไม่พูด มัวแต่ห่วงเรื่องการแตกแยก
ความจริงก็ไม่ปรากฎ เอ่อ หลายครั้ง ความจริงต้องปรากฎ 
อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิดเหมือนกัน ก็ว่ากันไปตามสถานการณ์ ก็แล้วกัน
แต่ขอให้พิจารณาถึงน้ำหนักที่ควรจะทำให้เวลานั้น
นะครับ เอาแค่นี้แหละ เราไม่ลงรายละเอียดล่ะ
เพราะถ้าลงรายละเอียดมันไม่จบไม่สิ้น ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคน
แต่พระพุทธเจ้าก็ให้ความสำคัญของการไม่พูดเท็จกับส่อเสียดเอาไว้เท่าๆกัน นะครับ
นี่คือ สัมมาวาจา
อีกคำนึงที่ผมอยากจะให้ทุกคนสังเกตดูดีๆในทุกข้อนะครับ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้น
ในทุกข้อจะมีคำนี้ ผมจะไม่อธิบายตรงนี้ ผมจะรอให้ถึงมรรคองค์ที่ 4 แล้วเราจะว่ากันทีเดียว
เอ้า สวดกันต่อ
มรรคองค์ที่ 4 นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น