ถอดคำบรรยายธรรม เรื่อง มรรค องค์ที่ ๗
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ธรรมบรรยาย เพื่อความรู้แจ้ง แห่งวิถีทางดับทุกข์ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2556
(องค์มรรคที่ ๗)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความระลึกชอบ เป็นอย่างไรเล่า
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
กาเย กายา นุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนย ยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
เรามาดูก่อน ก่อนที่เราจะผ่านไป เราเริ่มมาถึงสัมมาสติแล้ว ชักคุ้นๆแล้ว ชักคุ้นๆหน่อย
เวลาไปปฏิบัติธรรม เค้ามักจะพูดถึงสติปัฏฐาน 4 เห็นกายในกาย เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนา...
อ้อ..อยู่ตรงนี้เอง นะครับ ศึกษามาตั้งนาน สติปัฏฐาน 4 หลักสูตรสติปัฏฐาน 4
ถ้าอยู่ๆผมถามว่า แล้วคุณไปปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 น่ะ มันอยู่ตรงไหนในมรรค ตรงไหนล่ะ
คุณตอบไม่ถูก อ้าวแล้วถ้าคุณไม่รู้ แล้วปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 แล้วมันจะพ้นทุกข์ยังไง
ก็ยังไม่รู้ว่า ทำไมถึงต้องสติปัฏฐาน 4 ทำไมพระพุทธเจ้าถึงได้ให้ใช้สติปัฏฐาน 4 ในการเดินทางเพื่อจัดการกับตัณหาแล้วก็ อุปาทาน ทำไมสติปัฏฐาน 4 มีกำลังมาขนาดนั้นเชียวเหรอ
แต่กำลังของสติปัฏฐาน 4 จะเกิดขึ้นได้ อาศัยมรรค ตั้งแต่องค์ที่ 1 เลยนะครับ ตั้งแต่องค์ที่ 1 เลยนะ
นอกจากใครสั่งสมบารมีจนเต็มหมดเลยนะครับ ข้อ 1 พักเว้นไว้ก่อน
เพื่อที่จะเถึงความเป็นโสดาบัน ก็แค่ว่าสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้นเดินเข้ามาแล้ว อาจจะ 0.5
ยังไม่ 1แต่ว่าพอ 2 เริ่มดำริออกจากการ ไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน พอมาถึงศีล 5 ข้อ 3 4 5 คือศีล 5 พูดง่ายๆ
ยังไม่ 1แต่ว่าพอ 2 เริ่มดำริออกจากการ ไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน พอมาถึงศีล 5 ข้อ 3 4 5 คือศีล 5 พูดง่ายๆ
ศีล 5 ท่านเต็มบริบูรณ์ ไม่ทำผิดอีกเลยเนี่ย ตอนนั้นเนี่ย จิตจะลอยตัวขึ้นเหนือแล้ว
แล้วกำลังจะสูงมาก มีศีลเป็นบาท เป็นกำลัง ที่ฝึกฝนมา บางคนอาจจะบริบูรณ์มาจากอดีตชาติ
บางคนบริบูรณ์ในชาตินี้ บางคนเพิ่งจะเริ่มบริบูรณ์ บางคนเพิ่งจะเริ่มมีเจตนาเป็นเครื่องเว้น ก็ต่างๆกันไป
พอเจตนาเป็นเครื่องเว้น แล้วอยู่ๆไปเจริญสติเลยได้มั๊ย ....ก็ ได้ !! แต่ก็ต้องทำคู่กันไปเรือ่ยๆ
ให้กำลังมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ไปช่วยกัน นะครับ
ศีลก็ไปช่วยปัญญา ปัญญาก็มาช่วยศีล
ศีลก็ไปช่วยสมาธิ สมาธิก็มาช่วยศีล
เหมือนที่หลวงพ่อชาท่านเคยบอกว่า
เวลาเท้าเปื้อน เท้าซ้ายล้างเท้าขวา เท้าขวาล้างเท้าซ้าย ถูกันไป ถูกันมา ก็สะอาดทั้งคู่แหละ
ก็คือท่านก็ใช้ยกตัวอย่างในไตรสิกขานี่แหละ เพราะทุกอย่างมันก็ช่วยกันหมด
พอมีเจตนาเป็นเครื่องเว้น พอจะขโมย ก็อืมมมม (ไม่เอา)...แต่พูดถึงก็อยากได้ (ไม่เอา!! )
เอ้อ..ตรงนี้ ! จิตจะเกิดกำลังขึ้น มีขันติ มีทมะการข่มใจ เกิดเป็นกำลังขึ้น นะครับ
ขันติเป็นเครื่องเผากิเลส เผาอยู่ตรงนี้แหละ กิเลสมันจะต้องเบาบาง เบาบาง
ใจมันก็เริ่มสบาย หลังจากนั้น การภาวนาในมรรค ข้อที่ 7 มันก็จะง่ายขึ้น
อันนี้ ผมปูพื้นให้ ที่นี้ กลับมาที่ในส่วนรายละเอียด
เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
กายในกายคืออะไร เห็นอะไร เห็นกายในกายแปลว่าอะไร
พูดกันง่ายๆก็คือ ส่วนเนี่ยคือกายของเรา ที่มันเป็นกาย เป็นรูป นะครับ
เป็นกองของดินน้ำลมไฟ เป็นหมู่ของดินน้ำลมไฟที่มาประชุมรวมกัน
แต่เวลากายในกายเนี่ย ถ้าศัพท์ให้พวกเราเข้าใจในยุคของเราง่ายๆเนี่ย
ก็คือ การสุ่มตัวอย่างขึ้นมาซักส่วนหนึ่ง
ถ้าสมมุติว่า ผมเคลื่อนมือไปหยิบนาฬิกา
ผมก็จะดูการเคลื่อนของส่วนเนี้ยะ ที่สุ่มมาจากกายทั้งหมด
ไม่ต้องไปดูทั้งหมด ดูแค่ตรงเนี้ย เป็นตัวแทนของพรรคพวก
เพราะนี่ก็เป็นกลุ่มดินน้ำลมไฟ เป็นกลุ่มของขันธ์ที่รวมตัวกันอยู่ตรงนี้
เป็นกลุ่มของธาตุ 4 อยู่ตรงนี้ มหาภูตรูป 4 ปุ๊บ...ยื่นออกไปปั๊บ เห็นการเคลื่อนของกาย
ก็เอาแค่นี้ เนี่ยะ!เห็นกายในกาย พิจรณาเห็นการเคลื่อนของกายอยู่เป็นเนืองๆอยู่เป็นประจำ นะครับ
แต่คำว่ากายในกาย ก็มีครูบาอาจารย์ท่านก็เพิ่มขึ้นไปอีกหน่อย อย่างเช่นท่านพุทธทาส ก็บอกว่า
มันจะต้องมีการขึ้นจริงนะ สิ่งนั้น เราฟังอย่างนี้ ฟังไม่ออกว่าท่านหมายถึงอะไร
หมายความว่า ถ้าเรานอนอยู่ สมมุติว่าเราไม่สบาย แล้วเรานอนอยู่บนเตียง
เราเป็นนักปฏิบัติที่เคยเดินจงกรมอยู่ทุกเช้า หรือทุกก่อนนอน แต่ว่าวันนั้นเราลุกไม่ได้
เราก็จึงนอนอยู่บนเตียง เตียงโรงพยาบาล เราก็คิดว่าเรากำลังเดินจงกรม
เราคิดว่า เราเห็นภาพเราเดินจงกรม เพราะเราเดินอยู่ทุกวัน ก็เห็นภาพเราเดินจงกรมในความคิด
ขวา ซ้าย ขวา .. อย่างนี้ ไม่ใช่กายในกาย ( หัวเราะ ) ท่านหมายถึงอย่างนี้ไม่ใช่กายในกาย
เพราะอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ยังไม่ใช่ นะครับไม่ใช่
ถ้าอย่างนั้น อยู่บนเตียงนะ นอนอย่างนี้ดีกว่า
เดินอยู่บนเตียงอย่างนี้ดีกว่า นะครับ เดินไปเดินมาอย่างนี้ดีกว่า
อย่างนี้มีกายนะครับ อย่างนี้มีกาย อย่างนี้ได้ นอนอย่างนี้ อย่างนี้ได้ นอนอย่างนี้ได้
คืออย่างนี้ มีกายจริง เป็นการสุ่มตัวอย่างขึ้นมามีกายจริง ดูลมหายใจก็ได้ ก็เป็นกายลมไป นะครับ
บรรทัดล่างต่อนะครับ บรรทัดล่างนี่สำคัญแต่คนไม่ค่อยพูดถึงเลย
เหมือนเจตนาเป็นเครื่องเว้น ผมเชื่อว่าท่านสวดมาตั้งแต่นานนมแล้ว
แต่ไม่มีใครบอกเลยว่า ที่สุดของเจตนาเป็นเครื่องเว้น นั่นคือหมดเจตนา
แล้วหมดเจตนานี่แสดงว่าเข้าไปใกล้นิพพานแล้วนะ ในทุกๆส่วนๆ มันจะมีเจตนาแล้วหมดเจตนา
เคยได้ยินพระพุทธเจ้าบอก ไม่พักและไม่เพียรมั๊ยครับ
ทำไมถึง ถึงตรงนั้นได้ อ้าว! แล้วทำไมสัมมาวายามะ บอกให้เพียร
มันเพียร จนหมดเพียร
มันเพียร จนหมดความเพียร ไม่ต้องเพียรอีก
ทำดีไปทำไม ทำกุศลไปทำไม อ้าว! พระพุทธเจ้าบอกให้ทำกุศล
แต่พอสุดท้าย ก็บอกว่า กุศลก็ไม่เอา ไม่ใช่เลิกทำกุศลนะ ตอนที่บอกว่ากุศลไม่เอา
กุศลมันเต็มเปี่ยม โดยจิตไม่ไปเกาะกุศลนั้นอีก เหมือนศีลน่ะ
ถ้าเข้าใจเรื่องศีล ผมบอกแล้วว ท่านก็เข้าใจทุกเรื่อง
สติก็เหมือนกัน วันนี้มาฝึกสติ แต่พอวันสุดท้าย ท่านบอกว่า สติดับ ปัญญาดับ นามรูปดับ
ที่ที่สุดแห่งทุกข์ ที่วิญญาณดับ อ้าว! แล้วฝึกสติ แล้วไปสติดับ
ผมถึงบอกว่า ถ้ามันพูดกันไปคนละขั้น มันจะงงมาก
เพราะฉะนั้นวันนี้ ถ้าเราเข้าใจตั้งแต่ศีลเนี่ย
สติวันนี้ก็ฝึก มีเจตนาที่จะมีสติ จนหมดเจตนาที่จะมีสติ
สติพอใช้ชำระจนเห็นความจริง จนเกิดปัญญาหมดแล้วเนี่ย
ไม่มีกิเลสออกมาให้จับอีกแล้วเนี่ย สติ จะอยู่ทำอะไร? ก็พ้นไปอีก พ้นธรรมก็ไม่ยึดธรรม
สติ ก็ยังอยู่ในธรรมฝ่ายเกิดดับ ทีนี้ ถ้าพูดตรงนี้ มันก็จะทำให้สับสน
แต่ถ้าเข้าใจตั้งแต่เรื่องศีล วันนี้ ถ้ามีใครบอกว่า ....
โอ๊ย ที่สุดมันก็ไม่มีศีลหรอก เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องไปถือศีล ก็พัง!!
เก๊าะ ขโมยเต็มเมืองสิงั้น ! เก๊าะสบายสิ ก้อไม่ต้องมีศีล ไม่ต้องมี...ไม่ใช่!!!
ผมถึงบอกว่า วันนี้ พูดกันมันถึงต้องเข้าใจว่าใครยืนอยู่ที่ไหน นะครับ
บางครั้ง เราไปฟังครูบาอาจารย์ท่านก็สอนเฉพาะในคน กลุ่มของท่าน ที่เค้ายืนอยู่ตรงนั้นแล้ว
สอนโพล๊ะ หลุดเลย ถ้ามัวแต่ให้ทำนู่นทำนี่ทำนั่น ก็เกิดเจตนาในการทำอยู่นั่นแหละ
บางคนจะหลุดอยู่แล้ว ต้องเขี่ยให้มันหลุดเจตนา ต้องหมดเจตนา ก็หลุดเลย
เพราะฉะนั้น อยู่ตรงไหนก็ว่ากันไป
พระพุทธเจ้าทำไมถึงบอกว่า ดูก่อนโมกคัลลา จงมองเห็นโลกนี้เต็มไปด้วยความว่าง เป็นของว่าง
อ้าว ! ทำไมท่านสอนอีกคนนึงอีกแบบนึง
ก็เพราะว่า ยืนกันคนละที่ แต่คนสอนก็ต้องดูกันคนละที่เหมือนกัน
แต่เราบอกแล้วว่า วันนี้ เรามาเข้าใจมรรคให้ครบถ้วน
อ่านตาม ท่องตาม สวดตาม สิ่งที่ที่านสอนทั้งหมด สิ่งที่ท่านตรัสรู้
แล้วเราก็ไปดูเองว่า บางข้อเราก็เห็นว่า เออ เราพ้นไปแล้ว ก็ไม่ต้อง
ก็เหลืออะไร เดี๋ยวก็ค่อยๆบอกไปว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าอย่างไร
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ขณะที่ท่านพิจารณาเห็นกายในกาย เอ้ายกตัวอย่างสมมุติการเดินจงกรมก็แล้วกันนะ
เข้าใจกันง่ายๆ นักปฏิบัติ เดินไปเดินมา มันก็เบื่อ เบื่อก็มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความไม่พอใจที่มันเกิดขึ้นในโลก ก็คือ ขันธโลก ในจิต ออก
เห็นด้วยความเป็นกลาง พอเห็นด้วยความเป็นกลางในการเดินจงกรม เห็นอะไรครับ?
เห็นการเกิดดับ!
เห็นว่ากายนี้ไม่ใช่เรา
ถอนตรงนี้ออกเมื่อไหร่ จะเห็นสิ่งนี้เลย
แต่วันนี้ไม่เห็นเพราะอะไรครับ?
ถ้าลูกของท่านมีคนมาบอกว่า เป็นคนขี้ขโมย ท่านบอกว่า ลูกท่านไม่เป็นอย่างนั้น ชั้นไม่เชื่อ!!
ถ้าาท่านมองลูกด้วยความเอนเอียง ท่านจะไม่เห็นความจริง
แต่หากท่านถอนความพอใจ ความไม่พอใจในลูกออกเสียได้
มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจไม่พอใจในลูกออกเสียได้ ถอนความพอใจออก
แล้วดูด้วยใจเป็นกลาง สังเกตด้วยดูใจเป็นกลาง แล้วท่านจะพบความจริงว่าลูกท่านขี้ขโมยอย่างที่เค้าบอก
แล้วถึงวันนั้น ท่านถึงจะรู้ว่าท่านจะทำยังไงกับลูก!!
แต่ถ้าวันนี้ ยังมีความพอใจและความไม่พอใจอยู่ มันจะเกิด ภาษาเค้าเรียกว่า ไบแอส Bias
มันจะเกิดความเอนเอียง โน้มเอียงไปในสิ่งนั้น หรือผลักไสออกไปจากสิ่งนั้น ก็ทำให้ไม่เห็นความจริง
แล้วเมื่อไม่เห็นความจริง จิตจะเข้าใจความจริงไปได้ยังไง ในเมื่อมันเพี้ยนกันไปหมด
มันเพี้ยนไปตั้งแต่องค์ประกอบแรก
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าบอกให้ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก ก็จึงเห็นความจริง
ว่า สรรพสิ่ง ล้วนเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งที่เกิดขึ้น แล้วดับไป ล้วนเป็นทุกข์
ที่มันบีบคั้นอยู่ไม่ได้ด้วยตัวเอง สิ่งที่เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน
พอสิ่งนั้นเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ เราไปยึดติด อยากให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ชั่วนิจนิรันดร หรือไม่เปลี่ยนแปลง
..มันจะเป็นไปได้ยังไง ก็เริ่มเห็นความจริงว่ามันไม่มีตัวตน มันแค่เกิดๆ ดับๆไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน
ไปบังคับบัญชายังไงมันก็เอาไม่อยู่ เพราะมันไม่ได้เกี่ยวกับเรา
เราไปคิดเอาเอง
เราไปอยู่กับ"คิดเอง"
เราไปอยู่กับสังขารการปรุงแต่งให้ค่า เอง
คิดว่าสิ่งนั้นมันจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งสิ่งนั้นมันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเราเลย
ยกตัวอย่างง่ายๆ โลกใบนี้กลม
เมื่อหลายพันปีก่อน ก็เชื่อว่าโลกใบนี้แบน
นักวิ่ทยาศาสตร์บางคนก็ค้นพบว่าโลกใบนี้กลมก็ไม่มีใครเชื่อ แถมนักวิทยาศาสตร์โดนฆ่าอีก
หาว่า เห็นไม่เหมือนคนอื่น จะทำให้คนอื่นเห็นผิด
จนกระทั่ง ผมถามว่า วันที่คนมีความเชื่อว่าโลกนี้แบน โลกเคยแบนมั๊ย ไม่เคย!!ไม่เกี่ยวข้องด้วย
จนมาถึงวันนี้ นักวิทยาศาสตร์บอกว่าโลกมันกลม กลมจริงๆอย่างที่เราเห็นนั่นแหละ
เริ่มเห็นจากจักรวาลบ้างแล้ว โลกก็ไม่เคยสนใจที่ใครจะเชื่อว่าอะไร มันไม่เคยเปลี่ยนมากลมด้วย
วันข้างหน้า จะไปเชื่อว่ามันจะเป็นยังไง มันก็อยู่ของมันอย่างเนี้ยะ
ไม่เคยเปลี่ยนไปตามความเชื่อของใครทั้งสิ้น!!
นี่คือ สัจธรรมความจริง
เพราะฉะนั้น ถ้าเราถอนความพอใจ และความไม่พอใจได้ เราจะเห็นความจริง
ซึ่งมันมีอยู่ต่อหน้าต่อตา แต่วันนี้ เราถูกปิดบังด้วยอะไรหลายๆอย่าง นะครับ
ในมรรคองค์ที่ 7 จะเริ่มค่อยๆทำให้เราเห็นความจริงที่เกิดขึ้นทั้งกายกับใจของเรา
เริ่มต้นจาก เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
นะครับ ต่อนะครับ
เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนย ยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนย ยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนย ยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ
และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ
ครับ ทีนี้ เรากลับมาดูความระลึกชอบ สัมมาสติให้จบ
เมื่อกี้นี้ เราพูดไปถึง เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
ตอนนี้เราก็เห็นว่า ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
แล้วก็ ข้อความต่อมาก็คือ เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตใจจิตอยู่เป็นประจำ
แล้วก็มาถึงอันสุดท้าย เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
แล้วในทุกๆอัน จะมีบรรทัดหลังก็คือ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เหมือนกันในทุกๆหมวดของสติปัฏฐาน 4 เลยนะครับ
เพราะฉะนั้น เรากลับมาที่สติปัฏฐาน 4
สติปัฏฐาน 4 ก็คือ กาย เวทนา จิต ธรรม อย่างที่เราไปเข้าคอร์ส คำนี้ คุ้นเคยมาก
วันนี้เราจะได้รู้ซักทีว่า สติปัฏฐาน 4 ที่พูดถึงเนี่ย จะเป็นองค์ธรรมที่วันหนึ่งจะทำให้เกิดสัมมาสติ
สัมมาสติจะเกิดขึ้นเองจากการที่ปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ได้อย่างถูกต้อง
ถูกต้องยังไง ถูกต้องตรงที่
1.เป็นผู้พิจารณาเห็นกาย เวทนา จิต ธรรมอยู่เป็นประจำ
เน้นคำว่า อยู่เป็นประจำ
ถ้าเห็นไม่เป็นประจำ ไม่เห็นสิ่งเหล่านี้อยู่เป็นประจำ จะไม่สามารถฟันธงได้
จิตจะไม่สามารถฟันธงได้ ในสิ่งที่กำลังเก็บข้อมูลอยู่
2. มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความเพียรในการเข้าไปรู้
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เมื่อกี้ที่เราพูดถึงข้อสุดท้าย ในสัมมาวายามะ ข้อที่ 6.3 ที่บอกว่า ให้ทำกุศลให้เกิดขึ้น
และทำกุศลให้งอกงามไพบูลย์ ต้องมีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก ไม่ว่าทางกาย เวทนา จิต ธรรม ก็แบบเดียวกัน
คือดูด้วยใจเป็นกลาง สังเกตด้วยใจเป็นกลาง ก็จะเห็นความจริง
ความจริงเกิดอะไรขึ้น ถ้าเห็นความจริงตามความเป็นจริง ก็จะเห็นว่า..
สรรพสิ่งเกิดขึ้น และดับไปเป็นธรรมดา
แค่เห็นอย่างเดียวเนี่ย ไม่ต้องเห็นมาก เพราะว่าเห็นไตรลักษณ์ตัวใดตัวหนึ่งเนี่ย
อีก 2 ตัวเนี่ย จิตมันจะเจ้าใจเอง มันเหมือนกับของที่มันเป็นสิ่งเดียวกัน อยู่แค่ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างๆ
จับตัวนึง จับได้น่ะ มันจับหมด! นะ เพียงแต่ว่าเราสั่งสมมาทางได้ไหนมาก
บางคนสั่งสมมาทางด้านของเกิดดับมาก พอเห็นสรรพสิ่งเกิดดับ ใบไม้ร่วงก็ โอ อนิจจัง จิตโอวว อะไรก็อนิจจัง
แต่บางคนก็ไม่มีตัวตน เห็นในด้านของอนัตตา เห็นความไม่มีตัวตน อะไรๆ มันก็ไม่เห็นมีตัวตนอะไร
เอ๊ะ ทำไมบางคนบอกว่า ชั้นเห็นแต่แบบนี้ ไม่เห็นมันเห็นความเกิดดับอะไรเลย
แต่เห็นมันไม่เห็นมีตัวตน ไม่เห็นมันจะต้องเข้าไปยึดถืออะไร เพราะมันไม่ได้มีตัวตน มันก็เป็นของมันอย่างนี้
ไม่เห็นมีตัวตน เราไปยึดมันขึ้นมาเอง พูดอย่างนี้ก็จบเลย ก็เหมือนกัน แต่เค้าพูดกันคนละมุม
มันเหมือนของอย่างเดียวกัน แต่พูดกันคนละมุม
บางคนบอก ชั้นไม่เห็นเหมือนอย่างที่เธอเห็นเลย เห็นแต่สรรพสิ่งเป็นทุกข์ เพราะมันบีบคั้น
เพราะมันอยู่ด้วยตัวมันเองไม่ได้ซักอย่าง ขึ้นๆลงๆ ขึ้นๆ ลงๆ บีบๆคั้นๆ
เดี๋ยวก็หายไป เดี๋ยวก็เกิดขึ้น อยู่อย่างนี้
เค้าเห็นในเรื่องของทุกขัง ตัวมันบีบคั้น บีบคั้นตัวมันเอง
ก็เหมือนกับขันธ์ 5 ทั้งหลาย บีบคั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไปทุกวันตลอดเวลา
มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ไม่เป็นมีสุขตรงไหน
ถ้าใครมาเห็นอย่างนี้ ก็เห็นในมุมของทุกขัง
เพราะฉะนั้น ไตรลักษณ์ จะเห็นตรงไหนก็เหมือนกัน
มันเกิดการเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เกิดวิราคะธรรมขึ้นมา แล้วก็เบื่อหน่าย
ไม่เห็นมีอะไร สิ่งที่เรายึดถือเข้าไป ก็เริ่มปล่อยวาง
พอปล่อยเข้า ปล่อย ปล่อย ปล่อย มากๆ เข้าก็ดับ ๆ ๆ ๆ ๆ สุดท้ายก็คืน สลัดสู่โลกไป นะครับ
เพราะฉะนั้น การพิจารณาเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม เนี่ย
ก็คือ เห็นสิ่งเหล่านั้นบ่อยๆ เนืองๆด้วยใจเป็นกลาง พูดง่ายๆ
โดยที่ยังมีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ ในการเผากิเลส
ทีนี้ การที่จะเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นกลางได้ เห็นเป็นกลางก็คือไม่เข้าไปเป็นลวก เป็นลบ กับสิ่งนั้น
จิตจะต้องมีความตั้งมั่น ต้องอาศัยตัวช่วยแล้วคือ มรรคองค์ที่ 8 นั่นเอง
ใน มรรคองค์ที่ 8 ผมจะใช้วิธีอ่านนำเองเลย เพราะเวลาจะไม่พอมรรคองค์ที่ 1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น