ถอดคำบรรยายธรรม เรื่อง อริยสัจ 4 ใช่ที่เรารู้จักหรือไม่ ?
โดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิมบรรยายธรรม ณ ห้องธรรมะเธียเตอร์ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2553
อริยสัจ 4...ใช่ ที่เรารู้จักหรือไม่ ?
[ คลิปวีดีโอ ธรรมบรรยายเรื่อง อริยสัจ 4 ใช่ที่เรารู้จักหรือไม่ ]
ถอดคำบรรยายจากคลิปวีดีโอ
..................
เดี๋ยววันนี้ก่อนที่เราจะเริ่มต้นฟังธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “อริยสัจ 4” นะครับ
“อริยสัจ 4” ก็คือในวันที่มหาบุรุษผู้สั่งสมบารมีมาอย่างมากมายนะครับ
ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะเมื่อ 2,500 กว่าปีที่แล้วนะครับ ก็คือภาพนี้นี่เอง
เดี๋ยวเรามาสวดมนต์พร้อมกันก่อนนะครับ
ก่อนที่จะได้ฟังธรรมจากพระองค์ท่าน
พร้อมๆ กันเลยนะครับ อะระหังสัมมาฯ พร้อมกันเลยครับ
พร้อมๆ กันเลยนะครับ อะระหังสัมมาฯ พร้อมกันเลยครับ
[สวดมนต์ คำบูชาพระรัตนตรัย
พร้อมกัน...]
“อะระหัง
สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
ก็อย่างที่บอกทุกคนที่เดินเข้ามาที่ยุวพุทธิฯ
ก็มีหัวใจเดียวกันนะครับ
พวกเราเหนื่อยกันมาตลอดสังสารวัฏอันยาวนาน ก็แสวงหาหนทางแห่งการพ้นทุกข์
แล้ววันนี้ ก็คือวันที่เราจะได้มาฟังสิ่งที่สูงที่สุดในบวรพุทธศาสนาของเรานะครับ
ก็คือ “อริยสัจ 4” หนทางอันประเสริฐที่จะขนสรรพสัตว์ทั้งหลายออกจากองทุกข์ทั้งหมด
เราจะได้มารู้จักกันว่า สิ่งที่เราเคยท่องมาตั้งแต่เด็กๆ “ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค”
ใช่อย่างที่เราเข้าใจกันหรือเปล่าน่ะ
ถ้าใช่อย่างที่เราเข้าใจ ......
จะใช่อย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต้องการจะสื่อสารถึงพวกเราหรือเปล่า
ก็วันนี้เราจะมาฟังกันเรื่อง “อริยสัจ” นะครับ
ก่อนอื่นก็ต้องขออนุโมทนากับทางยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
พวกเราเหนื่อยกันมาตลอดสังสารวัฏอันยาวนาน ก็แสวงหาหนทางแห่งการพ้นทุกข์
แล้ววันนี้ ก็คือวันที่เราจะได้มาฟังสิ่งที่สูงที่สุดในบวรพุทธศาสนาของเรานะครับ
ก็คือ “อริยสัจ 4” หนทางอันประเสริฐที่จะขนสรรพสัตว์ทั้งหลายออกจากองทุกข์ทั้งหมด
เราจะได้มารู้จักกันว่า สิ่งที่เราเคยท่องมาตั้งแต่เด็กๆ “ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค”
ใช่อย่างที่เราเข้าใจกันหรือเปล่าน่ะ
ถ้าใช่อย่างที่เราเข้าใจ ......
จะใช่อย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต้องการจะสื่อสารถึงพวกเราหรือเปล่า
ก็วันนี้เราจะมาฟังกันเรื่อง “อริยสัจ” นะครับ
ก่อนอื่นก็ต้องขออนุโมทนากับทางยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ซึ่งวันนี้ก็เป็นโอกาสอีกครั้งนึงที่ผมได้กลับมามีโอกาสตอบบุญแทนคุณทางยุวพุทธิฯ
นะครับ
ที่ทำให้ผมมีความเข้าใจในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถึงวันนี้ก็ได้กลับมาตอบบุญแทนคุณทางยุวพุทธิฯ ด้วย
และก็ทางท่านทั้งหลายที่เป็นผู้สนับสนุนยุวพุทธิฯ
แล้วก็สนับสนุนให้พุทธศาสนาเนี่ยยังคงอยู่จนถึงวันนี้นะครับ
ตราบใดที่ยังมีการปฏิบัติอยู่ หนทางยังมีอยู่ ยังมีผู้เดินอยู่นะครับ ก็ยังต้องมีผู้หลุดพ้นอยู่
ที่ทำให้ผมมีความเข้าใจในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถึงวันนี้ก็ได้กลับมาตอบบุญแทนคุณทางยุวพุทธิฯ ด้วย
และก็ทางท่านทั้งหลายที่เป็นผู้สนับสนุนยุวพุทธิฯ
แล้วก็สนับสนุนให้พุทธศาสนาเนี่ยยังคงอยู่จนถึงวันนี้นะครับ
ตราบใดที่ยังมีการปฏิบัติอยู่ หนทางยังมีอยู่ ยังมีผู้เดินอยู่นะครับ ก็ยังต้องมีผู้หลุดพ้นอยู่
เราจะเริ่มต้นจากคำของพระพุทธองค์นะครับ
พุทธพจน์บทนี้หลายท่านได้ยินแล้วเนี่ยน้ำตาไหลออกมา
[คลิปเสียง] คำชี้ชวนวิงวอน
ภิกษุทั้งหลาย! โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ
เพื่อให้รู้ว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์
นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์”
นิพพาน เราได้แสดงแล้ว, ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.
นิพพาน เราได้แสดงแล้ว, ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.
กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,
กิจนั้น
เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.
นั่น โคนไม้; นั่น เรือนว่าง. พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ
นั่น โคนไม้; นั่น เรือนว่าง. พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ
ในภายหลังเลย.
นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.
นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.
นี้คือคำชี้ชวนวิงวอนนะครับ ทั้งๆ ที่ท่านได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนะครับ
ก็ยังแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เพื่อจะทำให้สาวกทั้งหลายได้เห็นความจริง
ก่อนอื่นเรามาดูสัมมาวาจาของพระพุทธเจ้ากันก่อนนะครับ
ถ้าผมเปิดอย่างนี้เนี่ยเป็นทั้งหมด 6 ประโยค จะได้ให้ท่านเห็นและเข้าใจง่ายขึ้น
1. ตถาคตรู้วาจาใด
ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
2. ตถาคตรู้วาจาใด
เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
3. อนึ่ง
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
4. ตถาคตรู้วาจาใด
ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
5. ตถาคตรู้วาจาใด
แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
6. อนึ่ง
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ที่นี้เราดูไปอ่านไปก็จับทางไม่ค่อยถูกนะครับมีตั้ง 6 ท่อน
ผมเลยทำสรุปให้ท่านดู ท่านจะเห็นเลยว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าจะตรัสออกจากพระโอษฐ์
จะมีแค่ข้อ 3 กับข้อ 6 เท่านั้น นอกนั้นท่านจะไม่ตรัสเลย
ความเหมือนและความต่างของข้อ 3 และข้อ 6 ความต่างอยู่แค่ที่ตรงนี้ (เป็นที่รัก) เท่านั้นเอง
แต่ความเหมือนคือ จริงแล้วก็ประโยชน์
แปลว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสออกจากพระโอษฐ์นั้นต้องจริง
เรื่องนั้นต้องมีประโยชน์ ส่วนตรัสไปแล้วคนจะชอบไม่ชอบไม่ใช่สาระ
ท่านดูกาลอันควรอีกครั้งนึง แต่เอาเป็นว่าถ้าออกจากพระโอษฐ์ เช่น
มีคำว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!” อันนี้แปลว่าออกจากพระโอษฐ์นะครับ
“ดูก่อนอานนท์!”, “ดูก่อนสารีบุตร!” อะไรอย่างนี้นะครับ
เพราะฉะนั้นทันทีที่เราได้ยินคำพระพุทธเจ้าเนี่ยให้รู้เลยว่า สิ่งนั้นจริง แล้วก็มีประโยชน์
ผมจะเริ่มต้นด้วยตรงนี้นะครับ เพื่อให้หลังจากนี้ไปเนี่ย
การพูดเรื่องอริยสัจ 4 เนี่ย คงไม่ใช่พูดจากคนๆ นึงออกมา
เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา แต่การสั่งสมบารมีมาอย่างมากมาย
เพราะฉะนั้นในวันนี้เนี่ยเราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านตรัสรู้
แล้วก็จะใช้พุทธพจน์ของท่านเป็นองค์นำ
หน้าที่ของผมวันนี้ไม่ใช่มาเป็นผู้บรรยาย แต่เป็นผู้มาช่วยสาธยายในบางสิ่ง
แล้วก็ช่วยทำความเข้าใจให้ท่านเข้าใจ
ให้คนในยุคพวกเราเข้าใจสิ่งที่ท่านกำลังตรัสเท่านั้นเอง
นี่คือหน้าที่ของผมวันนี้
หน้าที่ของผมวันนี้ไม่ใช่มานั่งอธิบายอะไรเกี่ยวกับอริยสัจมากนัก
แต่ช่วยทำให้ท่านขึ้นไปเข้าใจสิ่งที่สูงนะครับ
ไม่ใช่เอาสิ่งที่สูงลงมาให้ท่านเข้าใจ
แต่ผมกำลังจะต่อบันไตขึ้นไป ให้ท่านเข้าใจสิ่งที่สูงเท่านั้นเองนะครับ ให้เข้าใจตามนี้
เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา แต่การสั่งสมบารมีมาอย่างมากมาย
เพราะฉะนั้นในวันนี้เนี่ยเราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านตรัสรู้
แล้วก็จะใช้พุทธพจน์ของท่านเป็นองค์นำ
หน้าที่ของผมวันนี้ไม่ใช่มาเป็นผู้บรรยาย แต่เป็นผู้มาช่วยสาธยายในบางสิ่ง
แล้วก็ช่วยทำความเข้าใจให้ท่านเข้าใจ
ให้คนในยุคพวกเราเข้าใจสิ่งที่ท่านกำลังตรัสเท่านั้นเอง
นี่คือหน้าที่ของผมวันนี้
หน้าที่ของผมวันนี้ไม่ใช่มานั่งอธิบายอะไรเกี่ยวกับอริยสัจมากนัก
แต่ช่วยทำให้ท่านขึ้นไปเข้าใจสิ่งที่สูงนะครับ
ไม่ใช่เอาสิ่งที่สูงลงมาให้ท่านเข้าใจ
แต่ผมกำลังจะต่อบันไตขึ้นไป ให้ท่านเข้าใจสิ่งที่สูงเท่านั้นเองนะครับ ให้เข้าใจตามนี้
[คลิปเสียง] ไม่ถึงนิพพานเพราะพลัดออกนอกทางจนหลงทาง
พราหมณ์หนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาค “ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ
เมื่อพระโคดมกล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ทุกๆรูปได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จที่สุดอย่างยิ่งหรือ?
หรือว่าไม่บรรลุฯ?”
“พราหมณ์! สาวกของเรา แม้เราพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ น้อยพวกที่ได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง, บางพวกไม่ได้บรรลุ”
“พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย, ที่พระนิพพานก็ยังตั้งอยู่ หนทางที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพานก็ยังตั้งอยู่, พระโคดมผู้ชักชวน (เพื่อการดำเนินไปก็ยังตั้งอยู่, ทำไมน้อยพวกที่บรรลุฯ และบางพวกไม่บรรลุฯ?”
“พราหมณ์! เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านจงตอบตามควร ท่านเป็นผู้ช่ำชองในหนทางไปสู่เมืองราชคฤห์มิใช่หรือ? มีบุรุษผู้จะไปเมืองราชคฤห์เข้ามาหาแล้วกล่าวกับท่านว่า ‘ท่านผู้เจริญ! ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ของท่านจงชี้บอกทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าเถิด’
ดังนี้.ท่านก็จักกล่าวกับบุรุษผู้นั้นว่า มา สิท่าน, ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ไปได้ครู่หนึ่งจักพบบ้านชื่อโน้น แล้วจักเห็นนิคมชื่อโน้น จักเห็นสวนและป่าอันน่าสนุก จักเห็นภูมิภาคอันน่าสนุก สระโบกขรณีอันน่าสนุก ของราชคฤห์’ ดังนี้.บุรุษนั้น อันท่านพร่ำบอก พร่ำชี้ให้อย่างนี้ ก็ยังถือเอาทางผิด กลับหลังตรงกันข้ามไป, ส่วนบุรุษอีกผู้หนึ่ง (อันท่านพร่ำบอก ท่านพร่ำชี้อย่างเดียวกัน) ไปถึงเมืองราชคฤห์ได้ด้วยสวัสดี.
พราหมณ์เอย! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย, ที่เมืองราชคฤห์ยังตั้งอยู่ท่านผู้ชี้ บอกก็ยังตั้งอยู่, แต่ทำไมบุรุษผู้หนึ่งกลับหลงผิดทาง, ส่วนบุรุษอีกผู้หนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ ได้โดยสวัสดี?"
“พระโคดมผู้เจริญ! ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าจักทำอย่างไรได้เล่า, เพราะข้าพเจ้าเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น”
พราหมณ์ ฉันใดก็ฉันนั้นแล, ที่พระนิพพานก็ยังตั้งอยู่ ทางเป็นเครื่องถึงนิพพานก็ยังตั้งอยู่ เราผู้ชักชวนก็ยังตั้งอยู่; แต่สาวก แม้เรากล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ น้อยพวกที่ได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง, บางพวกไม่ได้บรรลุฯ” พราหมน์ เรื่องนี้เราจักทำอย่างไรได้เล่า, เพราะเราเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น”
คำนี้ก็เป็นคำตรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หลายท่านฟังแล้วก็รู้สึกห่อเหี่ยวนะครับ...ตายแล้ว!
วันนี้สาวกทั้งหลายก็มาทำหน้าที่เดียวกันนะครับ
มาเป็นผู้บอกทางได้เท่านั้นเอง หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน พวกเราทั้งหลาย
ที่จะต้องเดินทางกันไปนะครับ เราก็มีครูบาอาจารย์ มียุวพุทธิฯ มีใครต่อใคร
เป็นเส้นทางให้พวกเราได้ไปกันเรื่อยๆ
ที่นี้เราจะมาค่อยๆ ตะล่อมเข้ามาตะล่อมเข้ามา
ก่อนที่เราจะไปกันข้างหน้าต่อไป เราจะมาเตรียมความพร้อมกันอีกเรื่องนึง
ก็คือเรื่องของ “สัมมาสมาธิ” เชื่อมั้ยครับว่าวันนี้เนี่ย เวลาเราพูดถึงการนั่งสมาธิเนี่ย
แล้วก็มีคนบอกว่า
หายใจเข้าหายใจออก
หายใจออกหายใจเข้า
มาเป็นผู้บอกทางได้เท่านั้นเอง หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน พวกเราทั้งหลาย
ที่จะต้องเดินทางกันไปนะครับ เราก็มีครูบาอาจารย์ มียุวพุทธิฯ มีใครต่อใคร
เป็นเส้นทางให้พวกเราได้ไปกันเรื่อยๆ
ที่นี้เราจะมาค่อยๆ ตะล่อมเข้ามาตะล่อมเข้ามา
ก่อนที่เราจะไปกันข้างหน้าต่อไป เราจะมาเตรียมความพร้อมกันอีกเรื่องนึง
ก็คือเรื่องของ “สัมมาสมาธิ” เชื่อมั้ยครับว่าวันนี้เนี่ย เวลาเราพูดถึงการนั่งสมาธิเนี่ย
แล้วก็มีคนบอกว่า
หายใจเข้าหายใจออก
หายใจออกหายใจเข้า
หรือว่าดูอาการ ดูอะไรก็ได้แล้วแต่
คือตัวผมเองเนี่ย ตอนที่ผมปฏิบัติมาซักระยะหนึ่ง
ผมเคยสงสัยว่าทำไมเวลาไปปฏิบัติที่นั่นก็แบบนึง ที่นี่ก็แบบนึง ปฏิบัติที่ไหนก็แบบนึง
แม้แต่ดูลมหายใจก็ยังมีสารพัดแบบอีกต่างหาก
ผมก็เลยชักสงสัยว่า ตกลงเมื่อ 2,500 ปีที่ผ่านมาเนี่ยพระพุทธเจ้าสอนอะไร
ท่านสอนสาวกว่ายังไง เวลานั่งสมาธิที่พวกเรากำลังทำกันสารพัดแบบอยู่เนี่ย
เรามาดูกันนะครับว่าเมื่อ 2,500 ปีที่แล้วเนี่ย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอนสาวกไว้ว่ายังไง
ผมจะไปเร็วๆ แต่ผมจะให้เห็นว่านี่คือสิ่งที่ท่านตรัสสอนสาวกไว้
คือตัวผมเองเนี่ย ตอนที่ผมปฏิบัติมาซักระยะหนึ่ง
ผมเคยสงสัยว่าทำไมเวลาไปปฏิบัติที่นั่นก็แบบนึง ที่นี่ก็แบบนึง ปฏิบัติที่ไหนก็แบบนึง
แม้แต่ดูลมหายใจก็ยังมีสารพัดแบบอีกต่างหาก
ผมก็เลยชักสงสัยว่า ตกลงเมื่อ 2,500 ปีที่ผ่านมาเนี่ยพระพุทธเจ้าสอนอะไร
ท่านสอนสาวกว่ายังไง เวลานั่งสมาธิที่พวกเรากำลังทำกันสารพัดแบบอยู่เนี่ย
เรามาดูกันนะครับว่าเมื่อ 2,500 ปีที่แล้วเนี่ย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอนสาวกไว้ว่ายังไง
ผมจะไปเร็วๆ แต่ผมจะให้เห็นว่านี่คือสิ่งที่ท่านตรัสสอนสาวกไว้
[คลิปเสียง: พระภิกษุสงฆ์สวดอานาปานสติสูตร]
อืมฮืม แค่ฟังก็พอเห็นภาพแล้ว อาจจะไม่ใช่อย่างที่เราเข้าใจแล้วแฮะ
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว, ย่อมทำสติปัฏฐานสี่ ให้บริบูรณ์”
เพียงแค่ทำอานาปานสติตามที่ท่านบอก สติปัฏฐานสี่จะบริบูรณ์เลย
“สติปัฏฐานสี อันบุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว, ย่อมทำให้โพชฌงค์เจ็ดบริบูรณ์”
นะครับผมก็ลองไปเปิดดูว่า “สติปัฏฐาน 4 ” คืออะไร
ก็มี “กาย เวทนา จิต แล้วก็ธรรม”
วันนี้เราจะไม่มาพูดเรื่องนี้กันมากนะครับ ......“โพชฌงค์ 7” คืออะไร
เมื่อกี้ท่านพูดถึง... “องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้”
พอเห็นสติปัฏฐานสี่ แล้วก็มาถึงโพชฌงค์เจ็ดเลยทีเดียวหรอ
การปฏิบัติอานาปานสติเนี่ย องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้
ซึ่งมี สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ต่างๆ นะครับ
จะไม่ลงรายละเอียดในวันนี้ เพราะต้องการจะมาเน้นแค่ว่า
อานาปานสติทำยังไงแค่นั้นเอง หลังจากนั้นท่านบอกเลยว่า
“โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว, ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์”
แปลว่าหนทางแห่งการหลุดพ้นอยู่ที่นี่หรือเปล่า?...
“ย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า,
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่?”
ท่านจึงกลับมาบอกว่า แล้วจะทำยังไงถึงจะมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่อย่างที่ท่านตรัสเอาไว้
ท่านจึงกลับมาบอกว่า แล้วจะทำยังไงถึงจะมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่อย่างที่ท่านตรัสเอาไว้
หลายคนมานั่งดูลมหายใจก็นึกว่า โอ๊ะ...ก็ไม่มีอะไรนะ
ทำให้เกิดสมาธิ
แถมมีคำต่อมาอีกบอกว่า สมาธิก็คือการกดข่มแค่นั้นเอง
ออกจากสมาธิก็อยากเหมือนเดิม ก็โลภเหมือนเดิม ก็โกรธเหมือนเดิม
เอ๊ะ...ทำไมสมาธิที่เราพูดถึงกับสมาธิที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เนี่ย
ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปเนี่ย มันถึงไปกันคนละเรื่อง
ทำไมเราบอกว่าสมาธิคือการกดข่ม แต่ทำไมพระพุทธเจ้ากลับมองว่าสมาธิคือสันทิฏฐิกนิพพาน
อ่ะนั้นตรงนี้ล่ะครับ ที่พวกเรากำลังพลาดประตูที่ยิ่งใหญ่ไปหรือเปล่า
เนื่องจากมุมมองในการมองเนี่ย เรามองผิด เมื่อเรามองผิด เราจึงไปผิด
จิตจึงสำคัญในเรื่องนั้นผิด เพราะเราไปให้ทิฏฐิที่ผิด
แทนที่...ทำไมพระพุทธเจ้าบอกจงเจริญสมาธิให้มากแล้วจะเห็นอริยสัจ
แต่คนที่ไปคิดเอาเองก็บอกว่า ...
สมาธิเนี่ยมันเป็นสมถะ ต้องเจริญวิปัสสนาถึงจะเกิดปัญญา
ค่อยๆ ดูไปนะครับ
ผมถึงบอกว่าวันนี้ ผมไม่ได้มาเอาความคิดเห็นอะไรของนายประเสริฐออกมา
แต่ผมจะเอาคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกมาทั้งหมด
ผมมีหน้าที่เป็นติวเตอร์ ไม่ใช่มาเป็นอาจารย์
หน้าที่ของติวเตอร์ก็คือนำคำสอนของอาจารย์เนี่ย มาเรียบเรียงให้คนที่มาติวเนี่ยเข้าใจได้ง่ายๆ เท่านั้นเอง
นี่คือหน้าที่ของติวเตอร์ วันนี้มาเป็นติวเตอร์เฉยๆ
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้, ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม, ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม, ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม”
นี่คือการเนกขัมมะออกไป
สิ่งที่พระพุทธเจ้าต้องการให้สาวกพรากออกไปจากกาม แล้วก็ใช้ขันติ...นะ
เพื่อทำให้กระบวนการทั้งหลายที่มันฉาบทาอยู่ในจิตเนี่ย
พวกอาวสวะทั้งหลายเนี่ย หรือว่ากิเลสทั้งหลายถูกขัดเกลาลงไป
วิธีการก็เริ่มมาละ....
“นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว, ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น, ภิกษุนั้น, เป็นผู้มีสติอยู่นั่นเทียว, หายใจออก, มีสติอยู่หายใจเข้า”
แปลว่าพอหลังจากคู้ขาเข้ามาตั้งกายตรงดำรงสติมั่น
ภิกษุนั้นมีสตินะครับ แล้วก็สังเกตลมหายใจไป
เข้าสู่อานาปานสติขั้นที่ 1 ทั้งหมดมี 16 ขั้นนะครับ อานาปานสติทั้งหมดมี 16 ขั้น
จริงๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้แยกเอาไว้ แต่การแยกครั้งนี้แยกโดยท่านพุทธทาส
เพื่อมาทำเป็นหมวดหมู่ให้คนเข้าใจได้ง่าย เพราะบางตำราก็แยกเป็น 32 ขั้น
32 ก็คงแยกหายใจออกขั้นนึงหายใจเข้าขั้นนึง แต่นี่แยกออกยาวเข้ายาวอยู่ในขั้นเดียวกัน
ภิกษุนั้น เมื่อหายใจออกยาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว” นะครับ
“หายใจเข้ายาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้ายาว”
แถมมีคำต่อมาอีกบอกว่า สมาธิก็คือการกดข่มแค่นั้นเอง
ออกจากสมาธิก็อยากเหมือนเดิม ก็โลภเหมือนเดิม ก็โกรธเหมือนเดิม
เอ๊ะ...ทำไมสมาธิที่เราพูดถึงกับสมาธิที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เนี่ย
ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปเนี่ย มันถึงไปกันคนละเรื่อง
ทำไมเราบอกว่าสมาธิคือการกดข่ม แต่ทำไมพระพุทธเจ้ากลับมองว่าสมาธิคือสันทิฏฐิกนิพพาน
อ่ะนั้นตรงนี้ล่ะครับ ที่พวกเรากำลังพลาดประตูที่ยิ่งใหญ่ไปหรือเปล่า
เนื่องจากมุมมองในการมองเนี่ย เรามองผิด เมื่อเรามองผิด เราจึงไปผิด
จิตจึงสำคัญในเรื่องนั้นผิด เพราะเราไปให้ทิฏฐิที่ผิด
แทนที่...ทำไมพระพุทธเจ้าบอกจงเจริญสมาธิให้มากแล้วจะเห็นอริยสัจ
แต่คนที่ไปคิดเอาเองก็บอกว่า ...
สมาธิเนี่ยมันเป็นสมถะ ต้องเจริญวิปัสสนาถึงจะเกิดปัญญา
ค่อยๆ ดูไปนะครับ
ผมถึงบอกว่าวันนี้ ผมไม่ได้มาเอาความคิดเห็นอะไรของนายประเสริฐออกมา
แต่ผมจะเอาคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกมาทั้งหมด
ผมมีหน้าที่เป็นติวเตอร์ ไม่ใช่มาเป็นอาจารย์
หน้าที่ของติวเตอร์ก็คือนำคำสอนของอาจารย์เนี่ย มาเรียบเรียงให้คนที่มาติวเนี่ยเข้าใจได้ง่ายๆ เท่านั้นเอง
นี่คือหน้าที่ของติวเตอร์ วันนี้มาเป็นติวเตอร์เฉยๆ
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้, ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม, ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม, ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม”
นี่คือการเนกขัมมะออกไป
สิ่งที่พระพุทธเจ้าต้องการให้สาวกพรากออกไปจากกาม แล้วก็ใช้ขันติ...นะ
เพื่อทำให้กระบวนการทั้งหลายที่มันฉาบทาอยู่ในจิตเนี่ย
พวกอาวสวะทั้งหลายเนี่ย หรือว่ากิเลสทั้งหลายถูกขัดเกลาลงไป
วิธีการก็เริ่มมาละ....
“นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว, ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น, ภิกษุนั้น, เป็นผู้มีสติอยู่นั่นเทียว, หายใจออก, มีสติอยู่หายใจเข้า”
แปลว่าพอหลังจากคู้ขาเข้ามาตั้งกายตรงดำรงสติมั่น
ภิกษุนั้นมีสตินะครับ แล้วก็สังเกตลมหายใจไป
เข้าสู่อานาปานสติขั้นที่ 1 ทั้งหมดมี 16 ขั้นนะครับ อานาปานสติทั้งหมดมี 16 ขั้น
จริงๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้แยกเอาไว้ แต่การแยกครั้งนี้แยกโดยท่านพุทธทาส
เพื่อมาทำเป็นหมวดหมู่ให้คนเข้าใจได้ง่าย เพราะบางตำราก็แยกเป็น 32 ขั้น
32 ก็คงแยกหายใจออกขั้นนึงหายใจเข้าขั้นนึง แต่นี่แยกออกยาวเข้ายาวอยู่ในขั้นเดียวกัน
ภิกษุนั้น เมื่อหายใจออกยาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว” นะครับ
“หายใจเข้ายาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้ายาว”
เอาล่ะนะครับทีนี้
วันนี้เราไม่ได้มาฝึกปฏิบัติ แต่เราจะแค่ลองสังเกตดูตามที่ท่านสอน
ทุกคนลองนั่งตัวตรงหน่อยนะครับ อย่านั่งพิงนะครับ แต่ไม่ต้องลงคู้ขาก็ได้
แล้วก็ลองทำคำอย่างที่ท่านบอกคือ “เป็นผู้มีสติอยู่ หายใจออก, มีสติอยู่หายใจเข้า”
ยังไม่ต้องหลับตาก็ได้นะครับ สังเกตลมหายใจไปก่อน
หายใจออก.........หายใจเข้า
อย่าเพิ่งไปสงสัยนะครับว่าทำไม...ออกก่อนเข้าก่อนเพราะปกติเราจะได้ยิน...หายใจเข้าหายใจออก
ทำไมพระพุทธเจ้าถึงบอก...หายใจออกแล้วหายใจเข้า
เคยมีคนบอกว่า ถ้าท่านบอกหายใจเข้าก่อนก็จะสงสัยว่าทำไมท่านบอกให้เข้าก่อน
พอหายใจออกหายใจเข้าไปเรื่อยๆ
ในอานาปานสติขั้นที่ 1 ท่านบอกให้สังเกตลมหายใจว่ามันยาว จริงๆ
ในขั้นที่ 2 บอกว่ามันสั้นด้วย เพราะฉะนั้นลองสังเกตลมหายใจของเราดูว่ามันยาวมันสั้นยังไง
ทุกคนลองนั่งตัวตรงหน่อยนะครับ อย่านั่งพิงนะครับ แต่ไม่ต้องลงคู้ขาก็ได้
แล้วก็ลองทำคำอย่างที่ท่านบอกคือ “เป็นผู้มีสติอยู่ หายใจออก, มีสติอยู่หายใจเข้า”
ยังไม่ต้องหลับตาก็ได้นะครับ สังเกตลมหายใจไปก่อน
หายใจออก.........หายใจเข้า
อย่าเพิ่งไปสงสัยนะครับว่าทำไม...ออกก่อนเข้าก่อนเพราะปกติเราจะได้ยิน...หายใจเข้าหายใจออก
ทำไมพระพุทธเจ้าถึงบอก...หายใจออกแล้วหายใจเข้า
เคยมีคนบอกว่า ถ้าท่านบอกหายใจเข้าก่อนก็จะสงสัยว่าทำไมท่านบอกให้เข้าก่อน
พอหายใจออกหายใจเข้าไปเรื่อยๆ
ในอานาปานสติขั้นที่ 1 ท่านบอกให้สังเกตลมหายใจว่ามันยาว จริงๆ
ในขั้นที่ 2 บอกว่ามันสั้นด้วย เพราะฉะนั้นลองสังเกตลมหายใจของเราดูว่ามันยาวมันสั้นยังไง
อันนี้เราไม่มีเวลาทำกันเยอะนะครับ
ให้ท่านสังเกตดูก่อน
ท่านไปทำที่บ้านนะครับจะได้รู้ว่าจริงๆ พระพุทธเจ้าสอนอะไร
แล้วทำไมต้องมารู้ลมหายใจออกยาวหรือออกสั้น เข้ายาวหรือเข้าสั้น
ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่จะทำให้จิตเกิดความตั้งมั่นขึ้นมานะครับ ไม่ไหลลงไปเป็นลม
ท่านไปทำที่บ้านนะครับจะได้รู้ว่าจริงๆ พระพุทธเจ้าสอนอะไร
แล้วทำไมต้องมารู้ลมหายใจออกยาวหรือออกสั้น เข้ายาวหรือเข้าสั้น
ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่จะทำให้จิตเกิดความตั้งมั่นขึ้นมานะครับ ไม่ไหลลงไปเป็นลม
คีย์เวิร์ดทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้เนี่ย ผมถึงบอกให้เปิดให้ดูตั้งแต่ตอนต้นว่า
“ถ้าไม่จริง ไม่มีประโยชน์ ท่านไม่ตรัส” นะครับ
ไม่งั้นท่านจะ ไม่ต้องบอกว่า “ให้สังเกตยาวหรือสั้น” นะครับ
อย่าคิดเองนะครับ อย่าคิดเองว่ามันจะอย่างงั้นอย่างงี้
อย่าอยู่กับ คิด นะครับ ให้อยู่กับ จริง
แล้วถ้าท่านไม่บังคับนะครับ ลมหายใจเข้าออกเนี่ยไม่เท่ากัน
แต่ถ้าท่านรู้สึกว่าเท่ากันเนี่ย ผมให้...ให้ hit ไว้นิดนึงว่าท่านบังคับ
ท่านคิดเอาเองว่าการหายใจออกกับเข้าต้องเท่ากัน ท่านจึงอยู่กับการบังคับลม
ท่านจะเข้าไม่ถึงการที่เข้าไปสังเกตลม แต่ท่านกลายเป็นบังคับลม
เพราะฉะนั้นผมจะ hint ให้นิดนึงเผื่อว่าท่านไปปฏิบัติยาวนาน
แต่ไม่ทันสังเกตตัวเองว่าเรากำลังบังคับลมหายใจอยู่ นะ
อันนี้ก็คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเอาใจนะครับ แล้วก็จะมีขั้นที่ 3, 4ไปจนถึงขั้นที่ 16
วันนี้เราจะไม่มาพูดเรื่องอานาปานสติกันมากนัก
เพียงแต่ว่าให้ท่านเห็นโครงสร้างว่า เวลาที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเนี่ย
ท่านจะสอนทุกอย่างเป็นตามลำดับขั้นนะครับ เป็นไปตามลำดับขั้น
เพราะฉะนั้นถ้าเราไปฝึกที่บ้านเนี่ย เพียงหายใจออกหายใจเข้าไป จนกระทั่งค่อนข้างสงบพอสมควร
ก็ลองสังเกตว่า ยาว หรือ สั้น ไปด้วยนะครับ
เพราะว่าถ้าท่านไม่สังเกตว่ายาวหรือสั้นในเบื้องต้นเนี่ย จิตจะไหลลงไปเป็นลม
เนี่ยผมจะทำท่าให้ดูนะครับ
ท่านจะสอนทุกอย่างเป็นตามลำดับขั้นนะครับ เป็นไปตามลำดับขั้น
เพราะฉะนั้นถ้าเราไปฝึกที่บ้านเนี่ย เพียงหายใจออกหายใจเข้าไป จนกระทั่งค่อนข้างสงบพอสมควร
ก็ลองสังเกตว่า ยาว หรือ สั้น ไปด้วยนะครับ
เพราะว่าถ้าท่านไม่สังเกตว่ายาวหรือสั้นในเบื้องต้นเนี่ย จิตจะไหลลงไปเป็นลม
เนี่ยผมจะทำท่าให้ดูนะครับ
พอรู้ว่ายาวหรือสั้นมันจะเกิด... หายใจออก
หายใจเข้า
หายใจเข้า
ถ้าท่านไม่รู้ว่ายาวหรือสั้น...
หายใจออก ไม่รู้ยาวหรือสั้น
หายใจเข้า ไม่รู้ยาวหรือสั้น
มันจะรวมลงไปเป็นสิ่งเดียวกัน...
หายใจเข้า ไม่รู้ยาวหรือสั้น
หายใจออก ไม่รู้ยาวหรือสั้น
หายใจเข้า ไม่รู้ยาวหรือสั้น
หายใจเข้า ไม่รู้ยาวหรือสั้น
จิตจะลงไปเป็นสิ่งเดียวกับตรงนั้น
เมื่อจิตไม่ตั้งมั่นจะไม่เห็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ไตรลักษณ์”
ไม่ต้องไปสร้างผู้รู้ขึ้นมานะครับ
แค่ทำไปแบบตาสีตาสา ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก
แล้วท่านจะพอดีๆ ไม่เกินนะครับ สติสัมปชัญญะจะอยู่ตรงนั้นแบบพอดีๆ
ไม่ต้องไปสร้างอะไรขึ้นมานะครับ อย่าสร้างอะไรขึ้นมา
ถ้าสร้างพระพุทธเจ้าบอกไปแล้ว แต่นี่ท่านไม่บอก ถ้าแค่นี้ทุกอย่างจะพอดีๆ พอดีๆ
ถ้าเกินต้องคอยเอาออก ถ้าขาดมันต้องเติม
แต่ถ้าทำพอดีๆ พอดีๆ พอถึงตอนสุดท้ายมันจะ...คลิก ..ไม่เหนื่อยมาก
หายใจเข้า
หายใจเข้า
ถ้าท่านไม่รู้ว่ายาวหรือสั้น...
หายใจออก ไม่รู้ยาวหรือสั้น
หายใจเข้า ไม่รู้ยาวหรือสั้น
มันจะรวมลงไปเป็นสิ่งเดียวกัน...
หายใจเข้า ไม่รู้ยาวหรือสั้น
หายใจออก ไม่รู้ยาวหรือสั้น
หายใจเข้า ไม่รู้ยาวหรือสั้น
หายใจออก ไม่รู้ยาวหรือสั้น
หายใจเข้า ไม่รู้ยาวหรือสั้น
จิตจะลงไปเป็นสิ่งเดียวกับตรงนั้น
เมื่อจิตไม่ตั้งมั่นจะไม่เห็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ไตรลักษณ์”
ไม่ต้องไปสร้างผู้รู้ขึ้นมานะครับ
แค่ทำไปแบบตาสีตาสา ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก
แล้วท่านจะพอดีๆ ไม่เกินนะครับ สติสัมปชัญญะจะอยู่ตรงนั้นแบบพอดีๆ
ไม่ต้องไปสร้างอะไรขึ้นมานะครับ อย่าสร้างอะไรขึ้นมา
ถ้าสร้างพระพุทธเจ้าบอกไปแล้ว แต่นี่ท่านไม่บอก ถ้าแค่นี้ทุกอย่างจะพอดีๆ พอดีๆ
ถ้าเกินต้องคอยเอาออก ถ้าขาดมันต้องเติม
แต่ถ้าทำพอดีๆ พอดีๆ พอถึงตอนสุดท้ายมันจะ...คลิก ..ไม่เหนื่อยมาก
ที่เรามาผ่านจากตรงนี้ไปก่อนนะครับ ผ่านจากตรงนี้ไปก่อน
ทำไมถึงต้องพูดเรื่องนี้เพราะเดี๋ยวจะไปอยู่ในส่วนหนึ่งของอริยสัจเหมือนกัน
ก็จะได้ไม่ต้องกลับมา เราจะเตรียมเตรียมๆ กันไว้ให้พร้อมก่อน
แล้วเดี๋ยวเราจะเดินไปทีเดียวเลยน่ะ
ทีนี้เราจะมาถึงเรื่องของอริยสัจ เรามาดูกันซักนิดนึงว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้
จะพอจะ...ที่ท่านบอกว่า “อะไรที่ไม่จริง ไม่มีประโยชน์ ท่านไม่ตรัส”
[คลิปเสียง] การรู้อริยสัจควรแลกเอา แม้ถูกแทงด้วยหอก วันละ 300 ครั้ง 100 ปี
ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าวกะบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปี อย่างนี้ว่า
“เอาไหมล่ะ ท่านบุรุษผู้เจริญ! เขาจักแทงท่านด้วยหอกร้อยเล่ม
ตลอดเวลาเช้า ร้อยเล่มตลอดเวลาเที่ยง ร้อยเล่มตลอดเวลาเย็น
ท่านบุรุษผู้เจริญ! เมื่อเขาแทงท่านอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มทุกวันๆ
จนมีอายุร้อยปี มีชีวิตอยู่ร้อยปี โดยล่วงไปแห่งร้อยแล้ว
ท่านจักรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ท่านยังไม่รู้เฉพาะแล้ว” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย! กุลบุตรผู้ซึ่งประโยชน์ ควรจะตกลง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุว่า สังสารวัฏนี้มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว ดังนั้น
เบื้องต้นและที่สุดแห่งการประหาร ด้วยหอก ด้วยดาบ ด้วยหลาว ด้วยขวาน ก็จะไม่ปรากฏ นี้ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น: เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับด้วยทุกข์กับด้วยโทมนัสหามิได้;
แต่เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับด้วยสุขกับด้วยโสมนัสทีเดียว.
เดี๋ยวผมจะขยายตรงนี้นิดนึงนะครับ ท่านบอกเลยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาอย่างยาวนานสังสารวัฏนี้เนี่ย
เราเนี่ยโดนทั้งหอกดาบขวานหลาวอะไรทั้งหลายแหล่มาเยอะแยะไปหมดแล้วนะครับ
แล้วก็ยังหาปลายไม่เจอที่ต้องโดนกับสิ่งเหล่านี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด
ท่านกล่าวว่า อริยสัจสี่ ที่ท่านกล่าวไว้เนี่ย
จะประกอบด้วยทุกข์หรือโทมนัสก็หามิได้
ไม่ใช่สิ่งที่ประกอบด้วยทุกข์ แต่เป็นประกอบด้วยโสมนัสและก็เป็นสุขอย่างยิ่ง
ตรงนี้นะครับ เผื่อบางท่านบางครั้ง อ่าเสียงที่ผมอ่านมันอาจจะเสียงแหบๆ เต็มที
เพราะผมส่วนใหญ่จะใช้เวลาหลังจากคอร์สปฏิบัติแล้วก็นั่งอ่าน
[คลิปเสียง ต่อ]
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า?สี่อย่างคือ...
- อริยสัจคือทุกข์,
- อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
- อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
- อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
- ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
- เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
- ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
- ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้
ทีนี้ผมจะไปเร็วนิดนึงนะครับ
ก็ทุกบทที่เขียนมาเนี่ยจะมีพุทธพจน์รองรับทั้งหมดน่ะฮะ
ท่านไปหาอ่านได้ในห้องสมุดของนาลันทา ชื่อ “อริยสัจจากพระโอษฐ์” มีอยู่ 2 เล่ม
ผมอ่านจากตรงนั้นอ่ะครับ แล้วก็มีเล่ม reference มา
“แม้ไฟไหม้ที่ศีรษะหรือเสื้อผ้าแล้ว กำลังหรือความเพียรควรใช้ไปในการรู้อริยสัจก่อน ก่อนที่จะนำมาใช้ดับไฟ”
ทีนี้เราต้องย้อนกลับมาที่ตัวเรา
ไฟกำลังลุกอยู่เนี่ย ศีรษะและเสื้อผ้าแล้วจะดับไฟก่อนหรือจะไปรู้อริยสัจก่อน?
..ดับไฟ...ฮึฮึ...แน่นอน แน่นอนนะครับ
เพราะฉะนั้นแสดงว่าเราไม่เห็นความรีบด่วนอย่างที่ท่านเห็น ชัดๆ เลย
ที่เรามาวันนี้อาจจะไม่ได้เห็นความรีบด่วนขนาดนั้นก็ได้
แต่พอสมมติว่า สองชั่วโมงนี้ผมทำให้ท่านเห็นได้บ้างเนี่ย ก็จะถือว่าท่านจะเริ่มเข้าไปใกล้อริยสัจมากขึ้นเลย
เพราะอริยสัจจริงๆ เนี่ย การเห็นอริยสัจจริงๆ ไม่ใช่การท่องแน่ๆ
เพราะการเข้าไปรู้อริยสัจ อย่างที่บุคคลแรกที่รู้อริยสัจสี่ คือพระโสดาบัน
แสดงว่าระหว่างการเดินทางเนี่ย การรู้อริยสัจเนี่ยยังไม่แจ่มแจ้ง
ทำไมถึงพูดอย่างนั้น? คนธรรมดาเห็นอริยสัจไม่ได้เหรอ? ทำไมจึงต้องบอกว่าเป็นพระโสดาบัน
และผู้ที่เห็นอริยสัจอย่างแจ่มแจ้งจริงๆ คือพระอรหันต์
คนแรกที่เห็นเป็นพระโสดาบันเองนะครับ
คนสุดท้ายที่เห็นก็คือ จากพระโสดาบันเข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์ถึงได้เห็นอริยสัจอย่างแจ่มแจ้ง
แสดงว่าในคนที่กำลังเดินทางอยู่ ไม่มีใครเห็นเลยเหรอ?
เห็นแต่กระพริบเป็นช่วงๆ นะครับ แต่กระพริบเป็นช่วงๆ จนกระทั่งมาประกอบกันติด
เอาล่ะเราได้เห็นอะไรบางอย่างเกี่ยวกับที่ท่านตรัสเอาไว้
เราก็จะเริ่มมาดูกันก่อนว่า อริยสัจสี่เนี่ยที่เราท่องกันมาตั้แต่เด็กๆ เนี่ย มันใช่หรือเปล่า?
เราจะมาดูกันทีละข้อนะครับ มาดูกันทีละข้อ เราจะ....
“ทุกข์”... ท่านอ่านได้เองเลย...
ความประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก
การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก
ความปรารถนาไม่สมหวัง
แล้วก็อะไรต่ออะไรเยอะแยะเลย แล้วก็ว่าโดยย่อ “อุปาทานขั้น 5 เป็นตัวทุกข์”
พอพูดไปตอนแรกก็พอเข้าใจดี แต่พอถึงคำว่า “อุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์” ปุ๊บเนี่ย
ชักทำถ้าจะมึนๆ นะ ไม่เข้าในล่ะ ไม่เป็นไร วางไว้ก่อน
แต่คำว่า “ทุกข์” เนี่ย ที่เราบอกว่าเรารู้จักกันอยู่แล้วเนี่ยนะครับ
เดี๋ยวเราจะมาดูไป ค่อยๆ ดูกันก่อน ดูกันเป็นตัวๆ ก่อน นะครับ ว่า
สิ่งที่ท่านตรัสรู้คืออะไร ผมถึงถามว่า มันใช่ความเข้าใจที่เราเข้าใจหรือเปล่า? เท่านั้นเอง
“สมุทัย” สมุทัยที่บอกว่าเหตุให้เกิดทุกข์
สาเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา 3 มี กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
วันนี้ผมจะยังไม่ลงรายละเอียดเรื่องของปริยัติมากนัก
เพราะว่าจะเป็นเรื่องที่เราจะมาทำความเข้าใจกันนะครับ
ในองค์ของอริยสัจสี่รวมๆ เอาเป็นว่า ตัวสมุทัยที่บอกว่าตัณหาเนี่ย ตัณหาคืออะไร?
ตัณหา คือ ความบีบคั้น เอาโดยสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นภาวะเนี่ย คือความบีบคั้นทางใจ
ถ้าท่านอยากจะได้เสื้อซักตัวนึง พอไปถึงห้างฯ แล้วท่านไม่มีตังจะซื้อ
ลืมเอากระเป๋าตังหรือว่าเงินไม่พอก็แล้วแต่ พอกลับมาบ้าน มันก็ยังโหยหาถึงเสื้อตัวนั้นอยู่
มันก็จะบีบคั้น นอนก็นอนไม่หลับ
คือ โอ้ยเดี๋ยวก็...ถ้าเราไม่ไปซื้อวันนี้หรือไม่ซื้อพรุ่งนี้เดี๋ยวก็ลด 50%
เดี๋ยวก็ไป... บีบคั้นๆ ตรงนี้เรียกว่า “ตัณหา” นะครับ
มันจะบีบคั้นๆ ให้ท่านเข้าใจตัวที่มันเกิดเป็นภาวะพวกนี้ก่อนนะครับ
“นิโรธ” คือ ความดับแห่งทุกข์ แปลว่าอะไร?
เค้าเขียนไว้เลยว่า ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป สังเกตคำนึงนะครับ
เค้าใช้คำว่า “ภาวะ” นะครับ ไม่ใช่ “สภาวะ” นะครับ
ผมเห็นในคอร์สปฏิบัติธรรมเนี่ยใช้กันจนเฝือเลยนะครับคำว่า “สภาวะ” เนี่ย
จนท่านไม่รู้เลยว่า “สภาวะ” กับ “ภาวะ” มันต่างกันยังไงนะครับ
อะไรๆความโกรธเกิดขึ้นก็บอกว่า สภาวะ อะไรๆ ก็สภาวะ
ความบีบคั้นก็ว่า สภาวะ นั่งๆ รำคาญก็บอกว่าสภาวะ ท่านใช้ผิดแล้วนะครับ
ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา นะครับ
สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว แปลว่าตัณหาถูกจัดการไปหมดนะครับ
แสดงว่านิโรธนี้คือ “ดับ สงบ เย็น” จริงๆ ไห้นึกภาพนั้นไว้ก่อนนะ
ที่ท่านบอกอิสระคือ “นิพพาน” ลองดูกันไปเรื่อยๆ ก่อน
ทีนี้มาถึง หนทางแห่งการพ้นทุกข์ล่ะ นะครับ
ที่ได้ยิน “อริยอัฏฐังคิกมรรค” เนี่ย จริงๆ อริยอัฏฐังคิกมรรคก็คืออริยมรรคมีองค์แปดนั่นเอง
พอแปลเป็นไทยเนี่ย ให้เข้าใจตามนี้
พอย่อเหลือสาม ก็เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา
หรือ ปัญญา ศีล สมาธิ นั่นเอง นะครับ
เดี๋ยวไม่ต้องห่วงท่านจะเห็นภาพรวมทั้งหมดเลยของที่เราพูดมาทั้งหมด
ตอนนี้ให้จับเป็นคำๆ คำๆ ก่อน แล้วเดี๋ยวผมจะเอามาปะติดปะต่อให้หมด
ที่นี้อริยสัจสี่เนี่ย เราได้ยินกันมานานนะครับ ได้ยินกันมานาน
จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรหรอก
แต่ว่าคำนี้สิที่เรามักจะไม่ค่อยรู้จักกัน
พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้อีกอย่างนึงก็คือ “กิจในอริยสัจ 4”
ท่านไม่ได้บอกว่า อริยสัจสี่นี่อยู่ๆ มันจะเกิดขึ้นมาได้ มันจะต้องมีกิจ
มีหน้าที่ที่ต้องเข้าไปกระทำต่ออริยสัจแต่ละอย่าง
เรามาดูกันว่าท่านพูดถึงอะไรบ้าง
ข้อที่หนึ่ง “ปริญญา” เกี่ยวกับความทุกข์นี่แหล่ะที่ท่านพูดถึง
“ทุกข์ควรรู้”
ทีนี้เราต้องมาถามตัวเองว่า เรารู้ทุกข์มั้ย?
หลายคนก็บอกรู้เนี่ย...โหเป็นทุกข์น่าดี ผมก็จะบอกว่า “เป็นทุกข์” กับ “รู้ทุกข์” เนี่ยไม่เหมือนกันนะ
เป็นทุกข์กับรู้ทุกข์เนี่ยไม่เหมือนกันนะ
ถ้าท่านเป็นทุกข์แสดงว่าท่านไม่รู้ทุกข์หรอก
ถ้าท่านรู้ทุกข์ท่านจะไม่เป็นทุกข์
ตอนเนี่ยะพูดไปยังฟังไม่รู้เรื่อง นึกว่าผมเล่นคำ
แต่วันนี้ ก่อนออกไปมันเป็นหน้าที่ของผมที่รับหน้าที่มา ผมจะทำให้ท่านรู้เรื่อง
“สมุทัยควรละ”
มาดูข้อสามนะครับ
“นิโรธควรทำให้แจ้ง”
แปลว่านิพพานเนี่ยควรทำให้แจ้งขึ้นมา จะแจ้งได้ยังไง
คราวที่แล้วถ้าใครมา ที่ผมเอาถาดเนี่ยแล้วก็ทิ้งลงไปเลย
ถ้าถาดใบนี้เป็นสมุทัย พอทิ้งสมุทัย นิโรธอยู่ตรงนั้นเลย นะครับ
นิโรธควรทำให้แจ้ง ก็คือละสมุทัยได้เมื่อไหร่นิโรธเกิดเลย
ท่านไปหาอ่านได้ในห้องสมุดของนาลันทา ชื่อ “อริยสัจจากพระโอษฐ์” มีอยู่ 2 เล่ม
ผมอ่านจากตรงนั้นอ่ะครับ แล้วก็มีเล่ม reference มา
“แม้ไฟไหม้ที่ศีรษะหรือเสื้อผ้าแล้ว กำลังหรือความเพียรควรใช้ไปในการรู้อริยสัจก่อน ก่อนที่จะนำมาใช้ดับไฟ”
ทีนี้เราต้องย้อนกลับมาที่ตัวเรา
ไฟกำลังลุกอยู่เนี่ย ศีรษะและเสื้อผ้าแล้วจะดับไฟก่อนหรือจะไปรู้อริยสัจก่อน?
..ดับไฟ...ฮึฮึ...แน่นอน แน่นอนนะครับ
เพราะฉะนั้นแสดงว่าเราไม่เห็นความรีบด่วนอย่างที่ท่านเห็น ชัดๆ เลย
ที่เรามาวันนี้อาจจะไม่ได้เห็นความรีบด่วนขนาดนั้นก็ได้
แต่พอสมมติว่า สองชั่วโมงนี้ผมทำให้ท่านเห็นได้บ้างเนี่ย ก็จะถือว่าท่านจะเริ่มเข้าไปใกล้อริยสัจมากขึ้นเลย
เพราะอริยสัจจริงๆ เนี่ย การเห็นอริยสัจจริงๆ ไม่ใช่การท่องแน่ๆ
เพราะการเข้าไปรู้อริยสัจ อย่างที่บุคคลแรกที่รู้อริยสัจสี่ คือพระโสดาบัน
แสดงว่าระหว่างการเดินทางเนี่ย การรู้อริยสัจเนี่ยยังไม่แจ่มแจ้ง
ทำไมถึงพูดอย่างนั้น? คนธรรมดาเห็นอริยสัจไม่ได้เหรอ? ทำไมจึงต้องบอกว่าเป็นพระโสดาบัน
และผู้ที่เห็นอริยสัจอย่างแจ่มแจ้งจริงๆ คือพระอรหันต์
คนแรกที่เห็นเป็นพระโสดาบันเองนะครับ
คนสุดท้ายที่เห็นก็คือ จากพระโสดาบันเข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์ถึงได้เห็นอริยสัจอย่างแจ่มแจ้ง
แสดงว่าในคนที่กำลังเดินทางอยู่ ไม่มีใครเห็นเลยเหรอ?
เห็นแต่กระพริบเป็นช่วงๆ นะครับ แต่กระพริบเป็นช่วงๆ จนกระทั่งมาประกอบกันติด
เอาล่ะเราได้เห็นอะไรบางอย่างเกี่ยวกับที่ท่านตรัสเอาไว้
เราก็จะเริ่มมาดูกันก่อนว่า อริยสัจสี่เนี่ยที่เราท่องกันมาตั้แต่เด็กๆ เนี่ย มันใช่หรือเปล่า?
เราจะมาดูกันทีละข้อนะครับ มาดูกันทีละข้อ เราจะ....
“ทุกข์”... ท่านอ่านได้เองเลย...
ความประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก
การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก
ความปรารถนาไม่สมหวัง
แล้วก็อะไรต่ออะไรเยอะแยะเลย แล้วก็ว่าโดยย่อ “อุปาทานขั้น 5 เป็นตัวทุกข์”
พอพูดไปตอนแรกก็พอเข้าใจดี แต่พอถึงคำว่า “อุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์” ปุ๊บเนี่ย
ชักทำถ้าจะมึนๆ นะ ไม่เข้าในล่ะ ไม่เป็นไร วางไว้ก่อน
แต่คำว่า “ทุกข์” เนี่ย ที่เราบอกว่าเรารู้จักกันอยู่แล้วเนี่ยนะครับ
เดี๋ยวเราจะมาดูไป ค่อยๆ ดูกันก่อน ดูกันเป็นตัวๆ ก่อน นะครับ ว่า
สิ่งที่ท่านตรัสรู้คืออะไร ผมถึงถามว่า มันใช่ความเข้าใจที่เราเข้าใจหรือเปล่า? เท่านั้นเอง
“สมุทัย” สมุทัยที่บอกว่าเหตุให้เกิดทุกข์
สาเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา 3 มี กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
วันนี้ผมจะยังไม่ลงรายละเอียดเรื่องของปริยัติมากนัก
เพราะว่าจะเป็นเรื่องที่เราจะมาทำความเข้าใจกันนะครับ
ในองค์ของอริยสัจสี่รวมๆ เอาเป็นว่า ตัวสมุทัยที่บอกว่าตัณหาเนี่ย ตัณหาคืออะไร?
ตัณหา คือ ความบีบคั้น เอาโดยสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นภาวะเนี่ย คือความบีบคั้นทางใจ
ถ้าท่านอยากจะได้เสื้อซักตัวนึง พอไปถึงห้างฯ แล้วท่านไม่มีตังจะซื้อ
ลืมเอากระเป๋าตังหรือว่าเงินไม่พอก็แล้วแต่ พอกลับมาบ้าน มันก็ยังโหยหาถึงเสื้อตัวนั้นอยู่
มันก็จะบีบคั้น นอนก็นอนไม่หลับ
คือ โอ้ยเดี๋ยวก็...ถ้าเราไม่ไปซื้อวันนี้หรือไม่ซื้อพรุ่งนี้เดี๋ยวก็ลด 50%
เดี๋ยวก็ไป... บีบคั้นๆ ตรงนี้เรียกว่า “ตัณหา” นะครับ
มันจะบีบคั้นๆ ให้ท่านเข้าใจตัวที่มันเกิดเป็นภาวะพวกนี้ก่อนนะครับ
“นิโรธ” คือ ความดับแห่งทุกข์ แปลว่าอะไร?
เค้าเขียนไว้เลยว่า ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป สังเกตคำนึงนะครับ
เค้าใช้คำว่า “ภาวะ” นะครับ ไม่ใช่ “สภาวะ” นะครับ
ผมเห็นในคอร์สปฏิบัติธรรมเนี่ยใช้กันจนเฝือเลยนะครับคำว่า “สภาวะ” เนี่ย
จนท่านไม่รู้เลยว่า “สภาวะ” กับ “ภาวะ” มันต่างกันยังไงนะครับ
อะไรๆความโกรธเกิดขึ้นก็บอกว่า สภาวะ อะไรๆ ก็สภาวะ
ความบีบคั้นก็ว่า สภาวะ นั่งๆ รำคาญก็บอกว่าสภาวะ ท่านใช้ผิดแล้วนะครับ
ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา นะครับ
สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว แปลว่าตัณหาถูกจัดการไปหมดนะครับ
แสดงว่านิโรธนี้คือ “ดับ สงบ เย็น” จริงๆ ไห้นึกภาพนั้นไว้ก่อนนะ
ที่ท่านบอกอิสระคือ “นิพพาน” ลองดูกันไปเรื่อยๆ ก่อน
ทีนี้มาถึง หนทางแห่งการพ้นทุกข์ล่ะ นะครับ
ที่ได้ยิน “อริยอัฏฐังคิกมรรค” เนี่ย จริงๆ อริยอัฏฐังคิกมรรคก็คืออริยมรรคมีองค์แปดนั่นเอง
พอแปลเป็นไทยเนี่ย ให้เข้าใจตามนี้
พอย่อเหลือสาม ก็เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา
หรือ ปัญญา ศีล สมาธิ นั่นเอง นะครับ
เดี๋ยวไม่ต้องห่วงท่านจะเห็นภาพรวมทั้งหมดเลยของที่เราพูดมาทั้งหมด
ตอนนี้ให้จับเป็นคำๆ คำๆ ก่อน แล้วเดี๋ยวผมจะเอามาปะติดปะต่อให้หมด
ที่นี้อริยสัจสี่เนี่ย เราได้ยินกันมานานนะครับ ได้ยินกันมานาน
จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรหรอก
แต่ว่าคำนี้สิที่เรามักจะไม่ค่อยรู้จักกัน
พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้อีกอย่างนึงก็คือ “กิจในอริยสัจ 4”
ท่านไม่ได้บอกว่า อริยสัจสี่นี่อยู่ๆ มันจะเกิดขึ้นมาได้ มันจะต้องมีกิจ
มีหน้าที่ที่ต้องเข้าไปกระทำต่ออริยสัจแต่ละอย่าง
เรามาดูกันว่าท่านพูดถึงอะไรบ้าง
ข้อที่หนึ่ง “ปริญญา” เกี่ยวกับความทุกข์นี่แหล่ะที่ท่านพูดถึง
“ทุกข์ควรรู้”
ทีนี้เราต้องมาถามตัวเองว่า เรารู้ทุกข์มั้ย?
หลายคนก็บอกรู้เนี่ย...โหเป็นทุกข์น่าดี ผมก็จะบอกว่า “เป็นทุกข์” กับ “รู้ทุกข์” เนี่ยไม่เหมือนกันนะ
เป็นทุกข์กับรู้ทุกข์เนี่ยไม่เหมือนกันนะ
ถ้าท่านเป็นทุกข์แสดงว่าท่านไม่รู้ทุกข์หรอก
ถ้าท่านรู้ทุกข์ท่านจะไม่เป็นทุกข์
ตอนเนี่ยะพูดไปยังฟังไม่รู้เรื่อง นึกว่าผมเล่นคำ
แต่วันนี้ ก่อนออกไปมันเป็นหน้าที่ของผมที่รับหน้าที่มา ผมจะทำให้ท่านรู้เรื่อง
“สมุทัยควรละ”
มาดูข้อสามนะครับ
“นิโรธควรทำให้แจ้ง”
แปลว่านิพพานเนี่ยควรทำให้แจ้งขึ้นมา จะแจ้งได้ยังไง
คราวที่แล้วถ้าใครมา ที่ผมเอาถาดเนี่ยแล้วก็ทิ้งลงไปเลย
ถ้าถาดใบนี้เป็นสมุทัย พอทิ้งสมุทัย นิโรธอยู่ตรงนั้นเลย นะครับ
นิโรธควรทำให้แจ้ง ก็คือละสมุทัยได้เมื่อไหร่นิโรธเกิดเลย
ljวนมรรคมีองค์แปดต้องทำยังกับเค้า
“มรรคควรเจริญ”
นี่คือกิจที่พระพุทธเจ้าท่านบอกเอาไว้ว่า
เราจะต้องทำยังไงกับอริยสัจ
เราจะต้องทำยังไงกับอริยสัจ
......
จบตอนที่ 1
“มรรคควรเจริญ”
นี่คือกิจที่พระพุทธเจ้าท่านบอกเอาไว้ว่า
เราจะต้องทำยังไงกับอริยสัจ
เราจะต้องทำยังไงกับอริยสัจ
......
จบตอนที่ 1
เริ่มเข้าใจไปเรื่อยๆ แล้วจ้า
ตอบลบ