ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 6 “มรรคมีองค์ ๘” (องค์ที่ ๑ – องค์ที่ ๕)
บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
ณ สวนธรรมศรีปทุม
ตอนที่ 6 “มรรคมีองค์ ๘” (องค์ที่ ๑ – องค์ที่ ๕)
บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
ณ สวนธรรมศรีปทุม
เริ่มการบรรยาย
เข้าสู่เช้า วันที่ 3 ของการปฏิบัติ ….ในหลักสูตรมรรคานุคาเข้ม ระดับ 2
ในระดับ 2 ก็จะมีการบรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่จำเป็นต่อการเดินทาง
อย่างเช่น มรรรคมีองค์ 8 ไตรลักษณ์ ขันธ์ 5 อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท …..
ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ
เราก็จะนำมาอธิบายสาธยาย ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
ในระดับที่เราเข้าใจได้และนำไปปฏิบัติได้จริง
ทั้งในคอร์สปฏิบัติและในชีวิตประจำวัน สาระก็คืออยู่ตรงนี้
ในวันนี้ทั้งวัน ก็คือใน 2 วันที่ผ่านมา เราก็ปูพื้นไปเรื่อยๆในเรื่องการปรุงแต่งบ้าง
ในเรื่องหยั่งๆที่ไปขันธ์ 5 บ้าง แล้วก็ยังไม่ได้ลงเต็มรูป
แล้วก็ชี้ให้เห็นในภาพรวมๆของไม่ใช่ตัวตน ของคนเราเขา ในสักกายทิฎฐิ อะไรนี่นะครับ
ให้ท่านเห็นภาพก่อน อาจจะคิดตามไม่ได้ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
การฟังสัมมาทิฏฐิ การฟังธรรมของพระพุทธเจ้าบางครั้งมันก็เกินจินตนาการกว่าที่เราจะคิดได้
มันอยู่ภายใต้กรอบประสบการณ์ของเราเท่านั้นเอง
เลยจากกรอบจินตนาการไปมันก็เกินกว่าที่จะคิดได้
โดยเฉพาะอย่างพระนิพพานเนี่ย ไม่ใช่สิ่งที่จะตริตรึก นึกขึ้นมาได้
ตรึกขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็พ้นไปจากนิพพานเลย แล้วจะไปเข้าใจพระนิพพานได้ยังไง
เพราะนิพพานไม่อยู่ในสภาพของการปรุงแต่ง ไม่อยู่ภายใต้ลักษณะของสังขตลักษณะ
เช่น ไตรลักษณ์ ไม่มีในพระนิพพาน ดังนั้นมนุษย์จึงไม่มีทางที่จะคิดถึงพระนิพพานได้
เพราะทันทีที่เราคิดถึงพระนิพพาน เราก็จะคิดถึงว่า โอ ได้ยินว่า นิพพานัง ปรมังสุขัง
ถ้าเอาความคิดของคนทั่วไป ก็จะมองว่า อะไรเป็นความสุขของเรา แล้วก็ให้สุขไปยิ่งๆกว่านั้น
บางคนคิดว่า ถ้าชั้นได้กระเป๋าหลุยส์วิตตอง ชั้นมีความสุข
นี่มันคงยิ่งกว่าหลุยวิตตองฝังเพชรอีกมั๊ง นะ
เพราะงั้น มันจะคิดเป็นรูปไปหมด จะคิดเข้าข้างตัวไปหมด
ดังนั้น มันจึงไม่มีทางที่เราจะเข้าไปถึงสิ่งที่เราไม่รู้จักเลย
บอกให้จินตนาการว่า บนดาวเนปจูนมีอะไร เราก็นึกไม่ออก
เราก็ต้องเดาว่า คงเหมือนบนยอดเขามั๊ง เราจะเทียบได้เฉพาะสิ่งที่มันใกล้ๆตัวเท่านั้นเอง
เราจึงไม่สามารถที่จะออกไปนอกกรอบประสบการณ์ของเราได้
ดังนั้น การทำลายตัวตน จึงได้พบความจริงที่อยู่ภายใต้นอกกรอบประสบการณ์ทั้งหมด
วันนี้ พูดอะไรท่านก็คิดตาม คิดตาม คิดตาม พอไปเจออะไรที่คิดต่อไม่ได้ ก็จะเริ่มแบลงค์
แบลงค์ ( Blank )แล้วก็เริ่มงง ก็เป็นแค่นี้แหละ มนุษย์ก็มีอยู่แค่นี้เอง
แบลงค์แล้วก็งง พอ งง คิดต่อไม่ได้ บางทีก็ตีกลับ
กิเลสก็บอกว่า อย่าไปเชื่อมัน นะ ถ้ามันเป็นของจริงก็ต้องเข้าใจได้ นี่มันเข้าใจไม่ได้เลย
ก็มันจะไปเข้าใจอะไร เลยความเข้าใจของเราไป เราคิดได้แค่ตัวกูของกูเท่านั้นเอง
มีทางเดียวก็คือ…….. นี่คือทำไมที่ท่านสวดๆกัน
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ทำไมถึงต้องสวดอย่างนี้
เพราะว่า ถ้าเราไม่เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้ว
เราจะหลงวนอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ นี่แหละ ไม่มีทางออกได้
เพราะสิ่งที่จะได้ยินจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือพระอริยสงฆ์
คือสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเข้าใจของมนุษย์ที่จะพาไปพ้นทุกข์
พระพุทธเจ้าถึงได้บอกว่า ก่อนอื่นเลย ให้เข้าหาผู้ถึงอริยสัจ
คำว่าผู้ถึงอริยสัจ ในความหมายของท่านคือ
เดี๋ยววันนี้ทั้งวันจนกระทั่งถึงตอนเย็นเราจะได้เห็นเลยว่า
ผู้ถึงอริยสัจ หรือ ผู้เข้าใจอริยสัจ คือใคร
คือผู้ที่ เกิดสัมมาทิษฐิ
สัมมาทิฏฐิข้อที่ 1 เมื่อเช้า ท่านคงสวดไปรอบนึงแล้ว เดี๋ยวเราจะมาดูกันซ้ำอีกรอบนึง
แล้วเราจะได้คำตอบ
เรามาดูเรื่องอัปปมาทะ หรือความไม่ประมาทกันหน่อย ตามคำของพระพุทธเจ้า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด
ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของ
"อัฏฐังคิกมรรค"(มรรคมีองค์ ๘) แก่ภิกษุ ฉันนั้น”คำว่า อัฏฐังคิกมรรค คือ มรรคมีองค์ 8
อย่างเรากราบเนี่ย เราบอกว่าเรา…...อย่างที่เรากราบเบญจางคประดิษฐ์
ถ้าแบบธิเบตเค้าก็ อัฎฐางคประดิษฐ์
คือ …. ของเราโดน 5 จุดเข่า 2 ศอก 2 หน้าผาก 1จรดลงไปที่พื้น เรียกเบญจางคประดิษฐ์
การกราบใช้ 5 ลงเป็นการเคารพสูงสุดของเรา
แต่ของธิเบตเค้าก็เป็นอัฏฐางคประดิษฐ์ 8 จุด แต่ผมไม่ทราบหรอกว่า 8 จุดไหนบ้าง
เค้าก็แนบไปกับพื้นเลย
หลายคนมักจะบอกว่า สติก็คือองค์ธรรมของความไม่ประมาท
สมมุติว่าท่านกำลังเดินอยู่ในห้างสรรพสินค้า มีคนกำลังทำความสะอาดพื้น
แล้วก็มีป้ายเหลืองๆมาตั้ง ว่า เค้ากำลังทำความสะอาดพื้น ถ้าท่านเดินไปแล้วเห็นว่า
“ธรรมเอก ที่มีอุปการะมากเพื่อการเกิดขึ้นแห่งอารยอัฏฐังคิกมรรคที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย”สติ กับ ความไม่ประมาทเหมือนกันมั๊ย ?
หลายคนมักจะบอกว่า สติก็คือองค์ธรรมของความไม่ประมาท
สมมุติว่าท่านกำลังเดินอยู่ในห้างสรรพสินค้า มีคนกำลังทำความสะอาดพื้น
แล้วก็มีป้ายเหลืองๆมาตั้ง ว่า เค้ากำลังทำความสะอาดพื้น ถ้าท่านเดินไปแล้วเห็นว่า
“ กรุณาเดินด้วยความไม่ประมาท ”
พอเห็นป้ายปึ๊บ !!! เราก็จะรู้สึก เดินช้าลง แล้วก็เดินอ้อมๆเลี่ยงๆ
แต่ถ้ามีป้ายเขียนไว้เหมือนกัน เขียนว่า
“ เดินอย่างมีสติ “ ท่านจะเดินยังไง?
ผมว่าฟังยาก ทีนี้เดินไม่เป็นเลย ถ้าเปลี่ยนป้ายนิดเดียว
ถ้าเจอนักปฏิบัติ นี่คงเอามือกุมไว้ข้างหน้าเลย ( หัวเราะ ) แม่บ้านคง งง !
เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้สักข้อเดียวซึ่งเป็นเหตุให้อริยะอัฎฐางคิกมรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลยแสดงว่า ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี่
เป็นเหตุปัจจัยหลักให้อริยมรรคมีองค์ 8 แข็งแรงขึ้นและก็สมบูรณ์ขึ้น
ยังไงก็ต้องใช้ความไม่ประมาท
ความจริง อัปปมาทะ ในบาลีแปลว่า ความไม่ประมาท ไม่ใช่แปลว่าสตินะ
คือสติ ก็สติ นะ ทับๆกันอยู่แล้ว สัมมาสติชัดๆอยู่แล้ว
แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้ใช้คำนี้ ใช้คำว่า ความไม่ประมาท แต่พวกเราชอบเอามาแปลปนกัน
อัปปมาทะ
รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ชนิดใด ๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด, รอยเท้าช้างได้ชื่อว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความเป็นใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูลประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น”แสดงว่า อัปมาทะ ถ้า..เปรียบเป็นรอยเท้าได้ คือรอยเท้าช้าง ทั้งป่า !! ใส่ลงไปได้หมด
ดังนั้น ธรรมที่จำเป็นที่ทสุดที่จะทำให้กุศลทั้งหลายเกิดคือ อัปปมาทะนี่แหละ
“ผู้มีกัลยาณมิตร พึงเป็นอยู่โดยอาศัยธรรมเอกข้อนี้ คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)ทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”อันนี้ก็คือปัจฉิมโอวาทนั้นเอง นี่ก็รวบรวมมาจากหนังสือของท่าน ป.ปยุต ปยุตโต
นี่รวมมาจากคำของพระพุทธเจ้า
ดังนั้นเราจะเห็นแล้วว่า อริยมรรคมีองค์ 8 คือหนทางในการดำเนินสู่ความพ้นทุกข์
นี้ก็เช้า แล้วก็บ่าย เราจะพูดกันเรื่องมรรค ทั้ง 8 องค์เพื่อทำความเข้าใจ
ซึ่งก็คิดว่าต้อง...จะต้องให้จบ พอเราจบอริยมรรคมีองค์ 8
จะเกิดความเชื่อมโยงของมรรคมีองค์ 8 ไปสู่อริยสัจจ์ 4
ซึ่งความเชื่อมโยงนี้ พระพุทธเจ้าจะยืนยันไว้ในธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
พระสูตรแรกที่ปฐมเทศนาให้กับปัญจวัคคีย์ฟัง
งั้นคืนนี้ พอหลังจากคืนนี้เช้า แล้วก็บ่าย เราจบเรื่องมรรคมีองค์ 8
สวดมนต์ทำวัตรเย็น คืนนี้เราจะสวดธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
แล้วคืนนี้ เราจะมาดูความเชื่อมโยงของมรรค กับอริยสัจ
ว่า เจริญมรรคแล้วรู้แจ้งอริยสัจ พ้นทุกข์ เข้าไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร
ถึงความยิ่งใหญ่ของมรรคมีองค์ 8
จากนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ด้วยการตรัสรู้มรรค แล้วก็เข้าถึงอริยสัจ
จากนั้น ท่านก็ไปเห็นปฏิจจสมุปบาท ในช่วงที่เสวยวิมุติสุขที่พุทธคยา
พรุ่งนี้เราก็จะตามไปดู ขยายความอริยสัจ ขึ้นไปสู่ ปฏิจจสมุปบาท
ซึ่งคือสิ่งเดียวกันเพียงแต่เป็นภาพขยาย แล้วเราจะเห็นความจริงต่อไป
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ตรัสรู้ แล้วก็เห็นปฏิจจสมุปปบาทกันทุกพระองค์
แต่ความละเอียดของแต่ละพระองค์ก็อาจจะไม่เท่ากันเท่านั้นเอง
เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาท ก็จะเห็นขันธ์ 5 หมดทีนี้
จะเห็นถึงเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งหมด
แล้วก็แน่นอนที่สุด ก็.. คงไปจบที่พระนิพพานในคืนวันสุดท้าย
ดังนั้นในหลักสูตรระดับที่ 2
ก็จะชี้ให้ท่านเห็นธรรมที่สอดรับกันทั้งหมดจนกระทั่งบรรลุธรรม
หลังจากนั้นเราก็มาแปลงกลับมาสู่การปฏิบัติ
จะอ่านหนังสือได้เก่ง จะเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ก็ต้องเริ่มเรียน ก.ไก่ การสะกดคำก่อน
จากนั้นแล้วถึงเอาไปใช้ได้ อริยมรรคมีองค์ 8 ก็มี 8 ข้อ
ผมต้องการให้ท่านอ่านไป พึมพำไปในใจด้วยตัวเอง ให้คุ้นปาก
ผมว่า ท่านที่เข้ามาสู่คอร์สปฏิบัติเยอะๆแล้วเนี่ยะ ตอนนี้ท่านรู้หมดแล้ว
ถ้าผมพูดถึงมรรคองค์ที่ 6 ท่านต้องรู้เลยมันคืออะไร
อ๋อ สัมมาวายามะ แล้วในสัมมาวายามะมีข้อย่อยว่าอะไร ต้องรู้หมด
เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เดี๋ยวจะนำไปสู่การปฏิบัติ
ถ้าเห็นปั้ง !! แล้วยังไม่รู้เลยว่าทะลุเข้าไปข้างในคืออะไรนี่ ยังใช้ไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้
อย่างถ้านักปฏิบัติเห็นสัมมาวาจา การพูดจาชอบ ต้องรู้เลยว่า สัมมาวาจา 4 ข้อนี่คืออะไร
ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจอ
อย่างเนี้ย ต้องรู้เลยว่าข้างในสัมมาวาจา คืออะไร?
ไม่งั้นจะปฏิบัติได้ไง ไม่งั้นจะพ้นทุกข์ได้ไง
อะไร ก้อรู้ๆ แหม่ ศีลข้อที่ 4 มั๊ง ก็... ไม่พูดโกหกไง…. ไม่ได้กินหรอก ถ้าอย่างนี้ !!
สัมมาสังกัมมันโต…. การทำการงานชอบ ก็….สัมมาอาชีพไง!!
เราทำงานด้วยอาชีพสุจริต … งั้นกลับบ้านเลย !! นี่ศีลข้อที่ 1 2 3
เพราะงั้น ถ้าเราไม่รู้เลยว่าอะไรคืออะไร แล้วจะไปอะไรยังไง
นี่พระพุทธเจ้าตรัสรู้สิ่งที่สำคัญที่สุด
ชาวพุทธทั้งหมดรู้สึกกับอริยมรรคมีองค์ 8 แย่กว่า รู้สึกกับศีล 5 อีกนะ
เนี่ยะ ตอนเนี้ย ผมจึงไม่เข้าใจว่าโลกนี้จะพ้นทุกข์กันได้ยังไง
เห็นเดินช้าๆ ตาก้มต่ำนะเนี่ยะ ! แต่ถามมรรคมีองค์ 8 ไม่มีใครรู้จักซักข้อเลยหรือ
รู้อยู่ข้อนึง คือ สัมมาสติที่ได้ยินบ่อยๆ คือ สติปัฎฐาน 4 มี่ กาย เวทนา จิต ธรรม รู้แค่เนี้ยะ !!
แล้วก็คือ เจริญสติไว้ ทำอะไรก็ให้มีสติไว
เดี๋ยวเรามาสวดไปพร้อมๆพระ แล้วค่อยมาดูกันเป็นข้อ ๆ
(หันทะ มะยัง อะริยัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง ภะณามะ เส.)
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,
หนทางนี้แล, เป็นหนทางอันประเสริฐ, ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด,
เสยยะถีทัง,
ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ,
สัมมาทิฏฐิ, ความเห็นชอบ,
สัมมาสังกัปโป, ความดำริชอบ,
สัมมาวาจา, การพูดจาชอบ,
สัมมากัมมันโต, การทำการงานชอบ,
สัมมาอาชีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ,
สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ,
สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ,
(องค์มรรคที่ 1)
เอาล่ะ เรามาดูสัมมาทิฎฐิ ที่เราสวดกันไป
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั่นเอง
ดังนั้นแสดงว่า ผู้ที่เกิดสัมมมาทิฏฐิ คือผู้รู้แจ้งอริยสัจ 4 นั่นเอง
ถ้าใครวิเคราะห์ หรือคิดตาม ตอนนี้ก็จะรู้สึกแปลกๆนิดๆ
เพราะว่าในอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
มรรค คือตัวสุดท้าย จากนั้น พอมาข้อ 1 ของมรรค กลายเป็น….ผู้นั้นรู้อริยสัจ 4
อ้าว ! อริยสัจ 4 ข้างบนไปไหน แล้วมาอยู่อริยสัจ 4 ตรงนี้
อริยสัจสี่เดียวกันมั๊ยเนี่ย ? มันจะมีอริยสัจสี่หลายอันได้ยังไง?
แล้วทำไมตรงนี้มี 2 อันเลยล่ะ ?
คืนนี้ ผมจะให้ท่านดู ผมว่า เกินปัญญาของมนุษย์แล้วล่ะ
ไม่มีทาง ไม่มีทางที่มนุษย์จะเข้าใจสิ่งนี้ได้เลย
หัวข้อย่อยของมรรค กลายเป็นอริยสัจ 4 ที่เป็นหัวใจหลัก
สัมมาทิฎฐิ เป็นหนึ่งในหัวข้อย่อยในมรรค ที่อยู่ในมรรคมีองค์ 8
แต่กลายเป็น...ผู้ที่เกิดสัมมาทิฏฐิได้ต้องรู้อริยสัจ
เมื่อไหร่รู้แจ้งอริยสัจ ถึงจะเกิดสัมมาทิฏฐิ
เรามาดูกันทีละข้อก่อน ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุก
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
หลายๆคนก้อรู้สึก … ก้อ โอเคน่ะ ก้อ ไม่มีอะไร
เข้าใจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เนี่ย ไม่ใช่ !! ไม่ใช่ระดับคิด
ถามตัวเองว่า ท่านรู้ทุกข์มั๊ย ? ทันทีที่ผมถามท่านว่า ท่านรู้ทุกข์มั๊ยเนี่ย
สิ่งหนึ่งที่จะขึ้นมาในใจเลย ….รู้ ทำไมจะไม่รู้….!!!
ทั้งๆที่รู้ทุกข์เนี่ย ทุกคนก็เป็นทุกข์ ชีวิตก็เป็นทุกข์ ทำไมจะไม่รู้ทุกข์
ไม่ใช่!!! ท่านเป็นทุกข์ ท่านไม่ได้รู้ทุกข์ !!!
ถ้าท่านเดินเข้าไปเห็นเสื้อให้ห้างสรรพสินค้ามาเซลล์ 70 %
เมื่อไหร่รู้แจ้งอริยสัจ ถึงจะเกิดสัมมาทิฏฐิ
เรามาดูกันทีละข้อก่อน ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุก
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
หลายๆคนก้อรู้สึก … ก้อ โอเคน่ะ ก้อ ไม่มีอะไร
เข้าใจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เนี่ย ไม่ใช่ !! ไม่ใช่ระดับคิด
ถามตัวเองว่า ท่านรู้ทุกข์มั๊ย ? ทันทีที่ผมถามท่านว่า ท่านรู้ทุกข์มั๊ยเนี่ย
สิ่งหนึ่งที่จะขึ้นมาในใจเลย ….รู้ ทำไมจะไม่รู้….!!!
ทั้งๆที่รู้ทุกข์เนี่ย ทุกคนก็เป็นทุกข์ ชีวิตก็เป็นทุกข์ ทำไมจะไม่รู้ทุกข์
ไม่ใช่!!! ท่านเป็นทุกข์ ท่านไม่ได้รู้ทุกข์ !!!
ถ้าท่านเดินเข้าไปเห็นเสื้อให้ห้างสรรพสินค้ามาเซลล์ 70 %
สมัยที่มันแขวนอยู่บนเชลฟ์ ราคา 100เปอร์เซนต์ เห็นปั๊บ อู้ว เซลล์ตั้งเยอะ
แล้วก็รีบเดินอ้าวๆ ขึ้นมาจับ แล้วก็จ่ายเงินเลย มันเหลือตัวเดียว …. ได้แล้วก็มีความสุข
แต่สมมุตติว่า กำลังเดินจะหยิบแต่มีคนคว้ามันไปก่อน โอ้ ตัวนี้ไงที่ชั้นชอบ แล้วเดินไปจ่ายตังค์เลย
ตอนนั้นทุกข์มั๊ย ทุกข์ !!~
นี่ไง ทุกข์ ไม่ใช่ !!! ไอ้นี่เป็นทุกข์ ไม่ใช่รู้ทุกข์
รู้ทุกข์คืออะไร ทันทีที่คุณเดินเข้าไป ตาท่านเห็นเสื้อตัวนั้นอยู่ในกะบะ
ขณะนั้นความบีบคั้นได้เกิดขึ้นในใจ เพราะตัณหาอยากได้เสื้อแล้วเกิดเป็นทุกข์
อย่างเนี้ย รู้ทุกข์ …..
เมื่อรู้ทุกข์จะทำให้รู้ต่อไปเลยว่า เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ตอนนี้ คือตัณหาบีบคั้นเพราะความอยาก
อย่างนี้ เข้าถึงอริยสัจ
ไม่ใช่ได้แล้วไม่ทุกข์ ถ้าไม่ได้แล้วเป็นทุกข์ ไอ้อย่างนี้ เรียกปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
พระพุทธเจ้าเรียกปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ชีวิตวนเวียน เวียนวนเดินไปอยู่แค่นี้แหละ ได้อะไรถูกใจ ก็ดีใจ ไม่ได้ ก็เสียใจ
แล้วก็บอกว่า ชั้นรู้ทุกข์
อย่างนี้ ไม่ได้รู้ทุกข์ แต่ว่าเป็นทุกข์
ถ้ารู้ทุกข์ ไม่เป็นทุกข์
แต่สมมุตติว่า กำลังเดินจะหยิบแต่มีคนคว้ามันไปก่อน โอ้ ตัวนี้ไงที่ชั้นชอบ แล้วเดินไปจ่ายตังค์เลย
ตอนนั้นทุกข์มั๊ย ทุกข์ !!~
นี่ไง ทุกข์ ไม่ใช่ !!! ไอ้นี่เป็นทุกข์ ไม่ใช่รู้ทุกข์
รู้ทุกข์คืออะไร ทันทีที่คุณเดินเข้าไป ตาท่านเห็นเสื้อตัวนั้นอยู่ในกะบะ
ขณะนั้นความบีบคั้นได้เกิดขึ้นในใจ เพราะตัณหาอยากได้เสื้อแล้วเกิดเป็นทุกข์
อย่างเนี้ย รู้ทุกข์ …..
เมื่อรู้ทุกข์จะทำให้รู้ต่อไปเลยว่า เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ตอนนี้ คือตัณหาบีบคั้นเพราะความอยาก
อย่างนี้ เข้าถึงอริยสัจ
ไม่ใช่ได้แล้วไม่ทุกข์ ถ้าไม่ได้แล้วเป็นทุกข์ ไอ้อย่างนี้ เรียกปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
พระพุทธเจ้าเรียกปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ชีวิตวนเวียน เวียนวนเดินไปอยู่แค่นี้แหละ ได้อะไรถูกใจ ก็ดีใจ ไม่ได้ ก็เสียใจ
แล้วก็บอกว่า ชั้นรู้ทุกข์
อย่างนี้ ไม่ได้รู้ทุกข์ แต่ว่าเป็นทุกข์
ถ้ารู้ทุกข์ ไม่เป็นทุกข์
ถ้ารู้ทุกข์ ไม่เป็นทุกข์ มีแค่นี้
แล้วทุกคนพอฟังถึงตรงนี้ ก็จะเห็นได้แค่ความทุกข์ที่ท่านพูดถึงคือความรู้สึกทุกข์
ไอ้พวกนี้เป็นอาการของเวทนา เป็นอาการของจิต….นี่ขั้นปลายแถวเลย
ถ้าศึกษาอริยสัจน์แล้วบอกว่า ทุกข์ คือความรู้สึกที่เป็นทุกข์ นี่ปลายแถวสุดๆ
แต่ก็เอาเถอะ นักปฏิบัติที่เพิ่งเข้ามาสู่การปฏิบัติรู้แค่นี้แหละ
ทุกขค์ คือความรู้สึกทุกข์
วันนี้มาปฏิบัติ รู้สึกมีความสุขมากขึ้น
คือ พูดกันแต่ที่อาการของจิต ของเวทนา แต่การปฏิบัติที่แท้จริงเรากำลังจะพุ่งไปที่ตัวจิต
เรากำลังจะพูดเฉพาะแสงไฟที่โผล่ออกมา
ความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกสุข
อริยสัจ 4 ไม่ได้ตื่นขนาดนั้น แต่ก็อาศํยสิ่งนี้ เดินทางต่อไป
อริยสัจ 4 ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ มันอยู่ที่แบตตารี่ ที่หลอดไฟนี่ ……..ไม่ใช่ที่แสงไฟนี่!!
เหตุให้เกิดทุกข์มันอยู่ข้างบนนี่ เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ 8 จะมาจัดการกับหลอดกับไฟฉายนี่
ที่ตัวมันนี่ ไม่ใช่จัดการที่แสงไฟ
พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสว่า เหตุเกิดที่ไหน ดับที่นั่น
เหตุเกิดที่นี่ ดับที่นี่ ที่ตัวนี่ ( ไฟฉาย )
แล้วอะไรคือทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัส ถ้าเราไล่ลำดับให้เลย
ความรู้สึกทุกข์เกิดขึ้นในนักปฏิบัติ แล้วก็มาจัดการเวทนา อันนี้แสงไฟเลย
หลังจากนั้น พอเจริญมรรคองค์ที่ 7 สติปัฏฐาน 4 ด้วยความตั้งมั่น แล้วเดี๋ยวจัดการในมรรคทีละองค์
เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม เริ่มเข้าใจแล้วว่า
กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนเกิดขึ้นดับไป ไม่ได้มีตัวตนอะไร
ก็เริ่มพ้นขึ้นไป จนกระทั่งไปเห็นขันธ์ 5
พอเห็นขันธ์ 5 ก็รู้ว่า ขันธ์ 5 เป็นทุกข์
การที่เข้าไปยึดถือของเป็นทุกข์ ก็เป็นทุกข์ อันนี้เข้าไปถึงควมเป็นอริยหน่อย
รู้ว่าทุกข์คือ อุปาทานในขันธ์ นี่เอง ที่ท่านสวดๆ ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์
ตอนนี้ท่านเริ่มบี้เข้าไปจนถึงตัวจริงแล้ว ไม่ใช่ความรู้สึกทุกข์
ไม่ใช่ความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกทุกข์เป็นผลจากการเกิดอุปาทานในขันธ์
เพราะตัวขันธ์เองก็เกิดๆดับๆ ไม่มีตัวตน มันจึงมีสภาพทุกข์ โดยตัวมันเอง
แต่การมีผู้เข้าไปยึดถือ มันจึงกลายเป็นทุกข์ อุปาทานจึงกลายเป็น สมุทัยไป
อย่างนี้ จะเข้าถึงอริยสัจไปเรื่อยๆ จนบี้เข้าไป บี้เข้าไป
ก็เริ่มเห็นเองว่าตัวจิตเองที่ถูกยึดถือนี่แหละ เป็นทุกข์
เมื่อจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง รู้เลยว่า เพราะตัวมันเองนี่แหละ สลัดคืน
มันถึงจะพ้นทุกข์ เข้าสู่พระนิพพาน
เพราะฉะนั้นระดับของทุกข์ในอริยสัจ มีหลายระดับมาก
ผู้ปฏิบัติหรือ อริยบุคคลแต่ละระดับ จะเห็นทุกข์ในระดับของตัวเองเท่านั้นเอง
พระโสดาบัน ก็จะเห็นทุกข์แบบหนึ่ง
พระสกิทาคามี ก็จะเห็นทุกข์แบบหนึ่ง
พระอนาคามี ก็จะเข้าใจความทุกอีกแบบหนึ่ง
พระอรหันต์ ก็จะเห็นอริยสัจ ต่างลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งจัดการกับมันได้
เข้าถึงนิโรธขั้นสูงสุด ไม่ใช่ว่า มันเหมือนกันหมดก็ปล่าว
มันอยู่ที่ภูมิธรรมของแต่ละคนที่จะเห็นได้ ดังนั้น อริยสัจ 4 จึงลึกมาก
ยิ่งศึกษาไป ยิ่งศึกษาไป ยิ่งปฏิบัติไปจะเห็นว่า โอ้โฮ … เป็นไปได้ยังไง
มีคำอยู่ 4 คำ แต่ทำไมครอบคลุมหมดทั้งโลกเลย
การเกิด การดับ การว่างอะไร ทุกอย่างอยู่ในนี้หมดเลย
จะเอาไปขยายปฏิจจสมุปบาทขั้นพิศดารแค่ไหน ยังไงก็ได้ มาจาก 4 คำนี้
โอเป็นไปได้ยังไง ถ้าจะบอกว่า พระองค์เป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์
แต่ทำไม อื้อหือ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้ยังไง
วันนี้ ชาวพุทธไม่มีใครรู้จักสิ่งนี้เลย พวกเรารู้เลยว่า พระศาสดายิ่งใหญ่แค่ไหน
ส่วนมรรค กับ นิโรธ ………….
ความจริงทุกข์เนี่ย เป็นผล โดยมีสมุทัย เป็นเหตุ
แล้วก็นิโรธ เป็นผล จากการเจริญมรรค เป็นเหตุ
เอาล่ะ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
จากนั้น พอรู้ว่าอะไรคือ ทุกข์ อะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์ มันก็จะนำพามาซึ่งการปฏิบัติต่อไป
เกิดปัญญาขั้นที่ 2 เอาสิ่งที่รู้มา เข้าสู่การปฏิบัติ ว่าเราควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร
เพื่อจะไม่ให้เกิดทุกข์ เป็นการดำริ
มรรคองค์ที่ 2 ซึ่งก็สืบเนื่องลงมาจากมรรคองค์ที่ 1 นั่นเอง
เมื่อเรารู้ว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือ เหตุให้เกิดทุกข์ ในมรรคองค์ ที่ 1
เราก็จะเห็นเลยว่าการกระทำใดๆบ้างที่จะนำมาซึ่งทุกข์
จึงเกิดการดำริที่จะออกจากกาม หรือเนกขัมมะออกมา เพราะเห็นแล้วว่า ทุกข์ทั้งหลายมาจากกาม
การหลงเข้าไปยึดเสพติดทั้งหลาย ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนนำมาซึ่งทุกข์
ทำให้จิตเคลื่อนไหว สั่นไหว บีบคั้นตลอดเวลา
ไม่ว่าจะกามทางไหน ตา หู จมูก ลิ้น กาย น่ะ ว่าไปได้เลย
ติดละคร ติดข่าว ติด.. ติดสารพัด ! นึกเอาเอง ก็พวกเราก็ไม่ใช่น้อยล่ะ
หู ก้อติดอะไรล่ะ เสียงดนตรี เพลง เสียงเพราะๆ
ใครพูดไม่เพราะ ไม่พอใจ
ใครพูดเพราะ ก็เยิ้มไป
ก็นำมาซึ่งทุกข์ เกิดเป็นปฏิฆะ เกิดเป็นราคะ ขึ้นมา
ติดทางกาม ติดทางกาย ตาหูจมูกลิ้น
เอ้า ลิ้นนี่ ยิ่งหนักเลย ลิ้นนี่ อย่างหนักเลย ติดกันทุกคน
ติดไม่ได้แปลว่า ไม่ทาน ตรงนี้ต้องมีปัญญา
ต้องเสพด้วยความระมัดระวัง ที่เรียกว่า โภชนีมัตตัญญุตา
ผู้เข้าไปใกล้นิพพาน ก็มีข้อนี้อยู่เลย
ไม่งั้น ก็กินด้วยความหลงใหลได้ปลื้ม อร่อย เพลิดเพลิน สรรเสริญ มัวเมาหมกอยู่
พูดอยู่นั่น เรื่องอาหารเนี่ย พูดแล้วพูดอีก อร่อยอย่างนั้น !!
ออกมาตั้งนานแล้วก็ยังพูดกันไม่จบ
เพราะฉะนั้นเนี่ย พวกนี้เป็นกามทั้งหมด ทำให้จิตใจเร่าร้อน แล้วก็มีแต่เรื่องเพ้อเจ้อ
ไร้สาระ ทานๆแล้วก็จบแล้ว ทานๆแล้วก็แค่ธาตุใส่เข้าไปในธาตุ
ที่สวดธาตุปัจจขเวก ก็มีแค่นั้นหล่ะ สาระของการทาน
แต่ทั้งหมดมาจากการปรุงๆๆๆ ไปเรื่อยๆ
อร่อยอย่างนั้น อร่อยอย่างนี้ แล้วก็หลงๆๆๆ มันมีอยู่แค่นี้แหละ
เพราะฉะนั้น ถ้าตัดสิ่งเหล่านี้ออก พอไปถึงตั้ง อร่อยแค่อร่อยลิ้น
รสชาติดีแล้ว กลมกล่อมดี ทานง่ายหน่อย ทานอาหารได้มาก ก็เจริญอาหารดี
ถ้าไม่อร่อยเลย เค็มๆ เปรี้ยวๆ เกินไปมันก็ไม่กลมกล่อม
มันก็ไม่อยากทาน ร่างกายมันก็ซูบผอมไป
ก็แค่ทำให้มันกลมกล่อม พอดีๆ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ไม่อร่อย ไม่งั้นมันจะติด ก็เปล่า !!
ก็ทำพอให้มันกลมกล่อม ทานได้ ก็รับประทานให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ก็จบ มื้อนั้นก็จบแล้ว
ไม่ต้องเอามาพร่ำ สรรเสริญ ต้องทำให้พิศดาร ยิ่งหลงมันเข้าไปใหญ่
ตา หู จมูก ลิ้น กาย กายนี่ กายก็ไม่ต้องห่วง
ประดับประดาทากันสารพัดอยู่แล้ว ทากันสารพัด
เมื่อเข้าใจแล้วว่า กามทั้งหลาย นำมาซึ่งทุกข์ มันพาเข้าไปยึดติด
ก็เริ่มเนกขัมมะ การเข้าไปเนกขัมมะก็มี 2 ระดับ
ระดับที่พรากออกมาเลย อย่างเนี้ย พรากออกจากบ้านจากเรือน มาอยู่ที่นี่ พรากออกมาเลย
กับระดับที่ 2 คือ พรากที่ใจ ในเมื่อออกไม่ได้ ก็ต้องพรากที่ใจ
เพราะฉะนั้น 2 ระดับนี้ ก็จะมีความ………
จริงๆมุ่งหมายไป ไม่ว่าจะไปพรากที่กายก็ต้องไปจบตรงพรากที่ใจนั่นแหละ
แต่ว่าก็ต้องยอมรับว่า มันก็มีมุมที่มีความจำเป็นอย่างเช่น ฆราวาส
ถ้าพระทานก็พรากออกไปหมดเลยทั้งกาย แล้วก็ไปไล่พรากใจเอาทีหลัง
ทีนี้ ถ้าเราเปรียบกามทั้งหลายเหมือนบุหรี่
คนจะเลิกบุหรี ถ้าเลิกเลย แล้วก็พรากตัวเองออกจากหมู่กลุ่มที่สูบบุหรี่
มันก็อึดอัดในช่วงแรก แต่ก็สู้ตาย แล้วมันก็อดได้ในสุดท้าย ถูกมั๊ยครับ ? ก็เห็นภาพ
แต่กับคนที่จะเลิกบุหรี่เหมือนกัน มีความปรารถนาจะเลิกบุหรี่ แต่อยู่กับคนสูบบุหรี่
แต่อยู่กับบุหรี่ด้วย แล้วบางทีสูบเองด้วย !!!
ปากก็บอกจะเลิก เฮ้ย ! เลิกแน่ไม่ต้องห่วงหรอก นะ บุหรี่น่ะ มีแต่โทษมีแต่ภัย นะ
พูดไปก็ดูดไป พูดไป ก็ดูดไป ไอ้อย่างนี้มันจะเลิกได้มั๊ยเนี่ย มันก็เลิกได้เหมือนกันอะนะ
มันไม่ติดหรอก สูบไปอย่างนั้นแหละ ผมได้ยินบ่อยนะ
ไอ้ที่โกรธๆเนี่ย ไม่ได้โกรธจริงหรอกนะ แสดงเฉยๆ
( ยิ้ม ) เห็นแทบจะขว้างอยู่แล้วเมื่อกี้นี้
( นี่ด่า ด้วยจิตว่างนะ ) โอ้โห ว่างตายล่ะ หน้าแดงก่ำเลย !!
เนี่ยมันอย่างเนี้ย มันไม่ง่าย มันไม่ง่าย แต่ถามว่า ทำได้มั๊ย... ได้!!
ได้ !!! ผมก็เห็นคนเลิกบุหรี่ก็อยู่ในกลุ่มคนสูบบุหรี่ แล้วก็ตัวเองก็ยังสูบบุหรี่บ้าง
แต่ก็ ….. เลิกก็เลิกอะนะ แต่ก็ขณะที่กำลังเลิก บางทีมันต้องสูบอยู่
(อะไร จะเลิกยังต้องสูบด้วยเหรอ ? หัวเราะ พูดอะไรผิดรึปล่าวเนี่ย หึหึ )
ไม่ง่าย … แต่ทำได้ เอางี้ก่อน เพราะว่า ถ้าบอกว่าทำไม่ได้ เสร็จสิเรา
ฆราวาสก็ต้องอยู่กับสิ่งที่เป็นกาม เพียบเลย
ไอ้อย่างนี้เป็นกามมั๊ย?[ Tablet /iPad] ก็เห็นเด็กนั่งเล่นกันตาแทบถลน
มาเข้าโครงการเด็กเนี่ย ติดไอ้พวกนี้ทั้งนั้นเลย
ตกลง นี่เป็นกามมั๊ยล่ะ….. ก็เป็น !!...แต่ถ้ากด App เป็นหนังสือธรรมะ ก็คงไม่ใช่
แต่ถ้ากดปุ๊บ เป็น Angry Bird ก็ใช่ เอ๊อ !ยังไงนะ ไอ้นี่ มีหลายหน้าเหมือนกัน (หัวเราะ)
แต่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กามเนี่ย มันอยู่ที่ดำริตริตรึกขึ้นมา
แต่ว่า ไอ้วัตถุกามที่เป็นกามคุณเนี่ย มีอยู่
สมมุติว่าท่านเป็นผู้หญิงสวย เดินไปผู้ชายโอ้โห ผู้หญิงคนนี้สวยจัง
ผู้ชายบอกว่าเนี่ยะ ! เป็นกาม
มันถึงจะพ้นทุกข์ เข้าสู่พระนิพพาน
เพราะฉะนั้นระดับของทุกข์ในอริยสัจ มีหลายระดับมาก
ผู้ปฏิบัติหรือ อริยบุคคลแต่ละระดับ จะเห็นทุกข์ในระดับของตัวเองเท่านั้นเอง
พระโสดาบัน ก็จะเห็นทุกข์แบบหนึ่ง
พระสกิทาคามี ก็จะเห็นทุกข์แบบหนึ่ง
พระอนาคามี ก็จะเข้าใจความทุกอีกแบบหนึ่ง
พระอรหันต์ ก็จะเห็นอริยสัจ ต่างลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งจัดการกับมันได้
เข้าถึงนิโรธขั้นสูงสุด ไม่ใช่ว่า มันเหมือนกันหมดก็ปล่าว
มันอยู่ที่ภูมิธรรมของแต่ละคนที่จะเห็นได้ ดังนั้น อริยสัจ 4 จึงลึกมาก
ยิ่งศึกษาไป ยิ่งศึกษาไป ยิ่งปฏิบัติไปจะเห็นว่า โอ้โฮ … เป็นไปได้ยังไง
มีคำอยู่ 4 คำ แต่ทำไมครอบคลุมหมดทั้งโลกเลย
การเกิด การดับ การว่างอะไร ทุกอย่างอยู่ในนี้หมดเลย
จะเอาไปขยายปฏิจจสมุปบาทขั้นพิศดารแค่ไหน ยังไงก็ได้ มาจาก 4 คำนี้
โอเป็นไปได้ยังไง ถ้าจะบอกว่า พระองค์เป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์
แต่ทำไม อื้อหือ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้ยังไง
วันนี้ ชาวพุทธไม่มีใครรู้จักสิ่งนี้เลย พวกเรารู้เลยว่า พระศาสดายิ่งใหญ่แค่ไหน
ส่วนมรรค กับ นิโรธ ………….
ความจริงทุกข์เนี่ย เป็นผล โดยมีสมุทัย เป็นเหตุ
แล้วก็นิโรธ เป็นผล จากการเจริญมรรค เป็นเหตุ
เอาล่ะ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
จากนั้น พอรู้ว่าอะไรคือ ทุกข์ อะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์ มันก็จะนำพามาซึ่งการปฏิบัติต่อไป
เกิดปัญญาขั้นที่ 2 เอาสิ่งที่รู้มา เข้าสู่การปฏิบัติ ว่าเราควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร
เพื่อจะไม่ให้เกิดทุกข์ เป็นการดำริ
(องค์มรรคที่ 2)
มรรคองค์ที่ 2 ซึ่งก็สืบเนื่องลงมาจากมรรคองค์ที่ 1 นั่นเอง
เมื่อเรารู้ว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือ เหตุให้เกิดทุกข์ ในมรรคองค์ ที่ 1
เราก็จะเห็นเลยว่าการกระทำใดๆบ้างที่จะนำมาซึ่งทุกข์
จึงเกิดการดำริที่จะออกจากกาม หรือเนกขัมมะออกมา เพราะเห็นแล้วว่า ทุกข์ทั้งหลายมาจากกาม
การหลงเข้าไปยึดเสพติดทั้งหลาย ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนนำมาซึ่งทุกข์
ทำให้จิตเคลื่อนไหว สั่นไหว บีบคั้นตลอดเวลา
ไม่ว่าจะกามทางไหน ตา หู จมูก ลิ้น กาย น่ะ ว่าไปได้เลย
ติดละคร ติดข่าว ติด.. ติดสารพัด ! นึกเอาเอง ก็พวกเราก็ไม่ใช่น้อยล่ะ
หู ก้อติดอะไรล่ะ เสียงดนตรี เพลง เสียงเพราะๆ
ใครพูดไม่เพราะ ไม่พอใจ
ใครพูดเพราะ ก็เยิ้มไป
ก็นำมาซึ่งทุกข์ เกิดเป็นปฏิฆะ เกิดเป็นราคะ ขึ้นมา
ติดทางกาม ติดทางกาย ตาหูจมูกลิ้น
เอ้า ลิ้นนี่ ยิ่งหนักเลย ลิ้นนี่ อย่างหนักเลย ติดกันทุกคน
ติดไม่ได้แปลว่า ไม่ทาน ตรงนี้ต้องมีปัญญา
ต้องเสพด้วยความระมัดระวัง ที่เรียกว่า โภชนีมัตตัญญุตา
ผู้เข้าไปใกล้นิพพาน ก็มีข้อนี้อยู่เลย
ไม่งั้น ก็กินด้วยความหลงใหลได้ปลื้ม อร่อย เพลิดเพลิน สรรเสริญ มัวเมาหมกอยู่
พูดอยู่นั่น เรื่องอาหารเนี่ย พูดแล้วพูดอีก อร่อยอย่างนั้น !!
ออกมาตั้งนานแล้วก็ยังพูดกันไม่จบ
เพราะฉะนั้นเนี่ย พวกนี้เป็นกามทั้งหมด ทำให้จิตใจเร่าร้อน แล้วก็มีแต่เรื่องเพ้อเจ้อ
ไร้สาระ ทานๆแล้วก็จบแล้ว ทานๆแล้วก็แค่ธาตุใส่เข้าไปในธาตุ
ที่สวดธาตุปัจจขเวก ก็มีแค่นั้นหล่ะ สาระของการทาน
แต่ทั้งหมดมาจากการปรุงๆๆๆ ไปเรื่อยๆ
อร่อยอย่างนั้น อร่อยอย่างนี้ แล้วก็หลงๆๆๆ มันมีอยู่แค่นี้แหละ
เพราะฉะนั้น ถ้าตัดสิ่งเหล่านี้ออก พอไปถึงตั้ง อร่อยแค่อร่อยลิ้น
รสชาติดีแล้ว กลมกล่อมดี ทานง่ายหน่อย ทานอาหารได้มาก ก็เจริญอาหารดี
ถ้าไม่อร่อยเลย เค็มๆ เปรี้ยวๆ เกินไปมันก็ไม่กลมกล่อม
มันก็ไม่อยากทาน ร่างกายมันก็ซูบผอมไป
ก็แค่ทำให้มันกลมกล่อม พอดีๆ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ไม่อร่อย ไม่งั้นมันจะติด ก็เปล่า !!
ก็ทำพอให้มันกลมกล่อม ทานได้ ก็รับประทานให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ก็จบ มื้อนั้นก็จบแล้ว
ไม่ต้องเอามาพร่ำ สรรเสริญ ต้องทำให้พิศดาร ยิ่งหลงมันเข้าไปใหญ่
ตา หู จมูก ลิ้น กาย กายนี่ กายก็ไม่ต้องห่วง
ประดับประดาทากันสารพัดอยู่แล้ว ทากันสารพัด
เมื่อเข้าใจแล้วว่า กามทั้งหลาย นำมาซึ่งทุกข์ มันพาเข้าไปยึดติด
ก็เริ่มเนกขัมมะ การเข้าไปเนกขัมมะก็มี 2 ระดับ
ระดับที่พรากออกมาเลย อย่างเนี้ย พรากออกจากบ้านจากเรือน มาอยู่ที่นี่ พรากออกมาเลย
กับระดับที่ 2 คือ พรากที่ใจ ในเมื่อออกไม่ได้ ก็ต้องพรากที่ใจ
เพราะฉะนั้น 2 ระดับนี้ ก็จะมีความ………
จริงๆมุ่งหมายไป ไม่ว่าจะไปพรากที่กายก็ต้องไปจบตรงพรากที่ใจนั่นแหละ
แต่ว่าก็ต้องยอมรับว่า มันก็มีมุมที่มีความจำเป็นอย่างเช่น ฆราวาส
ถ้าพระทานก็พรากออกไปหมดเลยทั้งกาย แล้วก็ไปไล่พรากใจเอาทีหลัง
ทีนี้ ถ้าเราเปรียบกามทั้งหลายเหมือนบุหรี่
คนจะเลิกบุหรี ถ้าเลิกเลย แล้วก็พรากตัวเองออกจากหมู่กลุ่มที่สูบบุหรี่
มันก็อึดอัดในช่วงแรก แต่ก็สู้ตาย แล้วมันก็อดได้ในสุดท้าย ถูกมั๊ยครับ ? ก็เห็นภาพ
แต่กับคนที่จะเลิกบุหรี่เหมือนกัน มีความปรารถนาจะเลิกบุหรี่ แต่อยู่กับคนสูบบุหรี่
แต่อยู่กับบุหรี่ด้วย แล้วบางทีสูบเองด้วย !!!
ปากก็บอกจะเลิก เฮ้ย ! เลิกแน่ไม่ต้องห่วงหรอก นะ บุหรี่น่ะ มีแต่โทษมีแต่ภัย นะ
พูดไปก็ดูดไป พูดไป ก็ดูดไป ไอ้อย่างนี้มันจะเลิกได้มั๊ยเนี่ย มันก็เลิกได้เหมือนกันอะนะ
มันไม่ติดหรอก สูบไปอย่างนั้นแหละ ผมได้ยินบ่อยนะ
ไอ้ที่โกรธๆเนี่ย ไม่ได้โกรธจริงหรอกนะ แสดงเฉยๆ
( ยิ้ม ) เห็นแทบจะขว้างอยู่แล้วเมื่อกี้นี้
( นี่ด่า ด้วยจิตว่างนะ ) โอ้โห ว่างตายล่ะ หน้าแดงก่ำเลย !!
เนี่ยมันอย่างเนี้ย มันไม่ง่าย มันไม่ง่าย แต่ถามว่า ทำได้มั๊ย... ได้!!
ได้ !!! ผมก็เห็นคนเลิกบุหรี่ก็อยู่ในกลุ่มคนสูบบุหรี่ แล้วก็ตัวเองก็ยังสูบบุหรี่บ้าง
แต่ก็ ….. เลิกก็เลิกอะนะ แต่ก็ขณะที่กำลังเลิก บางทีมันต้องสูบอยู่
(อะไร จะเลิกยังต้องสูบด้วยเหรอ ? หัวเราะ พูดอะไรผิดรึปล่าวเนี่ย หึหึ )
ไม่ง่าย … แต่ทำได้ เอางี้ก่อน เพราะว่า ถ้าบอกว่าทำไม่ได้ เสร็จสิเรา
ฆราวาสก็ต้องอยู่กับสิ่งที่เป็นกาม เพียบเลย
ไอ้อย่างนี้เป็นกามมั๊ย?[ Tablet /iPad] ก็เห็นเด็กนั่งเล่นกันตาแทบถลน
มาเข้าโครงการเด็กเนี่ย ติดไอ้พวกนี้ทั้งนั้นเลย
ตกลง นี่เป็นกามมั๊ยล่ะ….. ก็เป็น !!...แต่ถ้ากด App เป็นหนังสือธรรมะ ก็คงไม่ใช่
แต่ถ้ากดปุ๊บ เป็น Angry Bird ก็ใช่ เอ๊อ !ยังไงนะ ไอ้นี่ มีหลายหน้าเหมือนกัน (หัวเราะ)
แต่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กามเนี่ย มันอยู่ที่ดำริตริตรึกขึ้นมา
แต่ว่า ไอ้วัตถุกามที่เป็นกามคุณเนี่ย มีอยู่
สมมุติว่าท่านเป็นผู้หญิงสวย เดินไปผู้ชายโอ้โห ผู้หญิงคนนี้สวยจัง
ผู้ชายบอกว่าเนี่ยะ ! เป็นกาม
เฮ้ย หัวเราะ หึๆ …..ชั้นก็เป็นของชั้นอย่างนี้ แล้วก็ไม่ได้แต่งตัวชะเวิบ ชะวาบอะไร
กระโปรงก็ยาวถึงเข่า เสื้อก็ปิดมิดชิด จะมาว่าชั้้นอย่างนั้นได้ไง
เพราะฉะนั้น กาม มันขึ้นอยู่กับคนดำริ ตริตรึกมันขึ้นมา !!
เพราะงั้นในเบื้องต้น เห็นๆเลยว่า ยังไงก็ต้องพรากออกมา
เพราะทำไม เอาง่าย ทำไมพวกเราต้องพรากออกมา ปฏิบัติที่บ้านก็ได้ไม่ใช่เหรอ ใช่ !
ไหนบอกให้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน? ก็ใช่ !
แต่ว่าตอนอยู่บ้านเนี่ย อะไรมันก็เป็นของกู เป็นกู เป็นของกูไปหมดน่ะ
มันถึงไม่รู้ไง ว่าเรา ติด ไม่ติด
แต่พอเราออกมาอยู่เนี่ย เดี่ยวมันจะเห็นความเร่าร้อน ดิ้นรน
อ๋อ ไอ้นั่นก็ติดแฮะ ไอ้นี่ก็ติดแฮะ ไอ้นี่ก็อยากดูทีวี เดี๋ยวเกิดติดละคร
ก็เริ่มเห็นความอยากตอน 2 ทุ่มครึ่ง ...........3 ทุ่มก็เริ่มแล้ว
แหม นี่ถ้าอยู่บ้านนะ ตอนนี้ไม่รู้มันไปถึงไหนแล้วนะ เอ้ามันเริ่มแล้ว
เนี่ย อ๋ออออ ติดนะ ติด ! เอ้าอย่างนี้ยังมีปัญญา ...รู้ว่าอ๋อนี่ ติดๆ นี่เป็นทุกข์นะ
แต่ถ้าไม่มีปัญญา ก็บอก ......ที่นี่ไม่ไหวแล้ว อยู่เป็นทุกข์มากเลย
นี่ถ้ากลับไปบ้านนี่สบายกว่านี้เยอะ มาที่นี่ไม่ดีเลย เป็นทุกข์ …..
อย่างนี้ไม่มีปัญญาแล้ว อย่างนี้ กลับไปเสพย์แน่ ๆ
แต่พวกที่ออกมาแล้วเลิกได้นี่ ต้องเห็นแล้ว
โอ้โห นี่เราติดมันนะเนี่ย เราถึงเป็น ทุกข์...อย่างนี้ปัญญาแล้ว
คือมันต้องจัดการให้ได้ ส่วนกลับไป จะใช้หรือไม่ใช้ อีกเรื่องนึง
แต่ต้องพยายามจัดการที่นี่ เนี่ยะ ! เริ่มเนกขัมมะออกมา จึงได้เห็น !!
จึงได้เห็นโทษภัยของกามทั้งหลายเมื่อเนกขัมมะ
แล้วเมื่อเนกขัมมะไปมากๆ มันก็ขาดในที่สุด ยังไง มันก็ขาด
มันเป็นเรื่องของอารมณ์ที่สร้างขึ้นมาเฉยๆ
เหมือนลิงจูบน่ะ สร้างขึ้นมาลอยลมอย่างเนี้ยะ เนี่ย เหมือนกัน มันลอยลม
พวกนี้มันเกิดๆดับๆ พอมาปฏิบัติเห็นว่า โอ๊ย ของมันเกิดๆ ดับๆ
มันก็ปล่อยพลั๊วะได้ ในที่สุดซักวันนึง
มันเป็นของที่เราสร้างขึ้นมาเอง ไม่มีอะไรเลย ความยึดติด ความอะไร
แล้วก็กลายมาเป็นความบีบคั้นหัวใจ เกิดเป็นตัณหา จากสิ่งที่เราปรุงขึ้นมาไว้เฉยๆ
ดำริในความไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน...
เรารู้เลยว่า การมุ่งร้ายเบียดเบียนผุ้อื่นนำมาซึ่งทุกข์
นำมาซึ่ง เนี่ยะ! อยู่ๆ ไปเบียดเบียนใคร ………
เดินอยู่ดีๆไปแกล้งคนโน้น ไปตีหัวคนนี้ ไปด่าแม่คนนั้น
เดี๋ยว ๆ ได้ทุกข์แน่ !!! เดี๋ยวได้ทุกข์แน่ !
อยู่ๆก็ นี่เธอ ! เมื่อวานนี้นะฉันเห็นนะ ยายนี่ อย่างนั้น อย่างนี้ …. เอาแล้ว ๆ เดี๋ยวแปร๊บนึงแล้ว
แล้วไอ้นี่ก้อ “ นี่อย่าไปบอกใครนะ !! “ คำนี้ล่ะตัวดีเลย เนี่ย แป๊บเดียวรู้กันหมดเลย !!
แล้วเสร็จแล้วก็วนมาเลย แล้วรู้มาจากไหน ? รู้จากไอ้นี่ !! โดนเลย !!
ทะเลาะกันอีก เป็นทุกข์อีก สุดท้ายมันจะวนกลับมาอยู่อย่างเนี้ยะ
ไม่ว่าเรื่องอะไรก็พูดไปเถอะ ทีแรกก็พูดเพราะมันปาก เดี๋ยวๆก็กลับมาปากมันเลย
…. โดนซะ !! เนี่ย!!
เพราะฉะนั้น ถ้ามีสติจัดการตั้งแต่ต้น ไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียนใคร
จะด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ไม่เอาแล้ว
นี่ก็จะนำมาซึ่ง สัมมาวาจา.... มรรคองค์ที่ 3 ต่อไป
เพราะเกิดปัญญาแล้วว่า เราจะไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน
เห็นมั๊ยครับว่า ความสอดรับของมรรคแต่ละองค์เนี่ย สอดรับกันหมดเลย
ไม่ธรรมดาหรอก แล้วพอถึงที่สุดแล้วจะเห็นว่า มรรคนี่ไม่ธรรมดาจริงๆ
มาถึงมรรคองค์ที่ 3 สัมมาวาจา การพูดจาชอบ ก็มีเชื้อมาจากการไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน
เริ่มจากคำว่า เจตนาเป็นเครื่องเว้น
แล้วก็จะเห็นว่า จากการพูดไม่จริง พูดส่อเสียด พูดหยาบ พูดเพ้อเจ้อ 4 คำ
เพราะฉะนั้นเมื่อเราพูดถึงสัมมาวาจา ท่านจะต้องรู้เลยว่า
สัมมาวาจาที่พระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับ 4 ข้อนี้ไว้ว่าอย่างไรบ้าง
เอาล่ะ คงไม่ยากเย็นอะไร ยกเว้นข้อ ส่อเสียด
เพราะเชื่อว่า ถ้าให้แปลเอง ท่านคงจะแปลว่า เสียดสี พูดกระแทกแดกดันเสียดสี ซึ่งไม่ใช่ !
คำนี้มาจากการพูดให้คนแตกกัน พูดกับคนนี้ทีนึง แล้วเอาคำพูดของคนนี้ไปพูดกับคนนี้อีกทีนึง
นี่ชั้นเห็นแก่เธอนะ ชั้นถึงได้บอก เฮ้อ นี่ถ้าเห็นแก่เธอ ไม่น่าบอก
แต่พอบอกันไป บอกกันมา มันตีกัน อย่างี้ พูดส่อเสียด หยุดเสียตั้งแต่เรา อย่าไปก่อเหตุ
แล้วยิ่งถ้าในระดับรุนแรงขึ้น ที่เป็นอนันตริยกรรม คือยุยงสงฆ์ให้แตกกัน อันนี้หนักเลย
เป็นกรรมที่อโหสิกรรมไม่ได้ ใช้ไปจนชาติสุดท้ายน่ะแหละ
งั้น อะไรที่ไม่เกี่ยวก็อย่าไปทำให้มันเป็นเรื่องเป็นราว
เที่ยวยุยงสงฆ์ให้แตกกัน แต่ความเป็นจริงในข้อนี้ ยุยงสงฆ์ให้แตกกันไม่เกิดในฆราวาสเด็ดขาด
ที่เกิดเป็นอนันตริยกรรมจริงๆ ไม่เกิดขึ้นในฆราวาส
เพราะว่า องค์ประกอบของในข้อนี้ ฆราวาสทำไม่ได้ ที่จะทำให้สงฆ์แตกกัน
นอกจากจะเป็นสงฆ์ ที่จะทำให้สงฆ์กับสงฆ์ แตกกัน
ส่วนการพูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ คงไม่ต้องพูดถึง
ส่วนคำว่า เจตนามีเครื่องเว้นจะเห็นมีทุกข้อ แต่เดี๋ยวเราไปอธิบายใน มรรค ข้อที่ 4 ต่อไป
เพราะเดี๋ยวจะเห็นคำนี้ต่อไปอีก ก็เพียงแต่ว่า เริ่มดูแลวาจา
เมื่อไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน
ก็วาจาไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน
จากนั้นก็มาถึงการกระทำที่ไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน
การทำการงานชอบ
ถ้าเราดูโดยศัพท์ เราจะพาลคิดไปถึงการทำงาน ซึ่งเป็นอาชีพในความเข้าใจของพวกเรา
เพราะว่าคำนั้นมันก็เอนไปทางนั้นเยอะมาก
แต่ในสัมมมาสัมกัปโป ถ้าไปดูภาษาอังกฤษ เค้าจะแปลว่า Right Action การกระทำที่ถูกต้อง
ถ้าแปลอย่างนี้เราไม่งง ถ้าแปลว่า การกระทำที่ถูกต้องเราจะไม่งงเลย
แต่พอแปลเป็น การทำการงานที่ถูกต้องเนี่ย มันงง
แต่ก็เชื่อว่า บาลีเค้าคงเป็นอย่างนี้ ก็เอานะ ไม่เป็นไรหรอก
ขอให้เราเข้าใจความหมายจริงๆ ซึ่งเราก็จะเห็นเลยว่า ทั้ง 3 ข้อนั้น ก็คือ
เหมือนกับศีลข้อที่เรารู้จักกันดี 1 2 3 เพราะทั้ง 3 ข้อนี้ ความจริงก็ไม่ได้ไปโยงศีลมาหรอก
เพราะการกระทำทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นการกระทำมุ่งร้ายแล้วก็เบียดเบียนแน่ๆเลย
ฆ่าเขา ทรมานเขา ….แน่นอน
โขมยของคนอื่น .…...แน่นอน
ประพฤติผิดในกาม... แน่นอน
ลูกเมียของเค้า ใครที่เป็นที่รักของเค้า ไปทำเค้า ไอ้นี่ไปมุ่งร้ายเบียดเบียนหมด
เพราะฉะนั้น การกระทำ 3 อย่างนี้ ไม่ควรกระทำ
เพราะฉะนั้น เมื่อไม่ควรกระทำ แล้วมีการอยากจะกระทำ มันมีเจตนาที่จะทำ
มันจึงต้องเริ่มมีเจตนาเป็นเครื่องเว้น เหมือนตอนที่ให้ดูเรื่องแรงเงา
ตอนที่เป็นคนบาป ทำอะไรไม่มีเสียงเตือนเลย มีแต่เจตนาจะทำ
สั่งคนโน้นไปฆ่าคนนี้ สั่งคนนี้ไปทำอย่างนั้น ไปขโมยของใคร ไม่เคยมีความรู้สึกผิดเลยในการทำ
จนกระทั่งเริ่มรู้สึกตัว เริ่มเข้ามาศึกษา เริ่มเข้ามาเป็นคนดี
พอจะขโมยของคนอื่นเค้า ก็ … อืมม ไม่เอาดีกว่า มันเกิดไอ้ตัวนี้ ที่เรียกว่า เจตนาเป็นเครื่องเว้น
พอมันเจตนาจะเอาเหมือนเมื่อก่อน ที่ทำด้วยความเคยชิน
คนขี้ขโมยก็จะขโมยไปเรื่อย เห็นอะไรวางก็จะขโมยไปเรื่อย
พอมันเริ่มมีเจตนาเป็นเครื่องเว้น ปั๊บ หยุด !!! อย่างนี้เรียกเจตนาเป็นเครื่องเว้น
หรือเราจะเรียกในด้านของสติธรรมดาก็คือ เกิดความยับยั้งชั่งใจ
อันนี้ระดับพื้นๆเลยที่มีอยู่ในคนทั่วๆไป
มนุษย์ทั่วไปทั้งหลายก็จะความรู้จักผิดชอบชั่วดีอยู่แล้วในตัว
จะไม่ค่อยไหลลงไปขนาดนั้น แต่ก็มีมากมายเหมือนกันในยุคปัจจุบัน
แต่หากคนที่ต้องการพัฒนาไปเรื่อยๆ สมมุติว่า อื้มม เกิดเจตนาเป็นเครื่องเว้น
เราจะสังเกตุว่า เราจะมาดูความเปลี่ยนแปลงของคนๆนึง
จากที่ขโมยเลย หลังจากนั้นเมื่อเข้ามาฝึก มือไปไม่ถึงแล้วเพราะใจมันยั้งไว้ก่อน
ตกลง มันเว้นที่มือ หรือ เว้นที่ใจ ?
เจตนาเป็นเครื่องเว้น เว้นที่เจตนาเนี่ย !! จากนั้น เราจะเห็นว่าระดับของมือจะสั้นลง
“ อืมม ไม่เอาดีกว่า ” จากนั้น มือไม่ขยับ ใจขยับ “ อย่าไปเอาของเค้าเลย ...แต่ตาหันไปมองเค้า ”
มันจะเห็นว่าระดับดีกรีของความจะเอา มันน้อยลงไปเรื่อยๆ
ดังนั้น เจตนาของดีกรีของเจตนาเป็นเครื่องเว้นก็น้อยลงไปเรื่อยๆเหมือนกัน
จนกระทั่ง ไหวแว๊บๆ ชำระแว๊บๆ แล้วก็หมดไป
จนกระทั่งวันหนึ่งมีคนทำเงินหล่นอย่างที่ว่า คุณๆ ทำเงินหล่น
ไม่ได้มีเจตนาจะเอา ไม่มีเจตนาเป็นเครื่องเว้น
อย่างนี้ ศีลบริบูรณ์แล้ว อย่างเนี้ย เป็นศีลในพระโสดาบัน
เป็นศีลที่ไม่ต้องถือ ไม่ต้องประคอง ที่เรียกว่า เป็นศีลที่ไม่ลูบคลำด้วยทิฏฐิ
ไม่ใช่ถือคิดว่าศีลแล้วดี ไม่ลูบคลำด้วยทิฏฐิ เป็นศีลที่เป็นไทยจากตัณหา
ไม่ใช่อยากถือ …..”วันเนี้ยะ เป็นวันพระ ต้องถือศีลนะ มันจะได้บุญ !”
เป็นศีลที่เป็นไทยจากตัณหา เป็นศีลที่เกิดจากปัญญา
ปัญญาในไหน … ปัญญาจากสัมมาทิฏฐิ แล้วก็สัมมาสังกัปโป ไล่กันลงมา …
เนี่ยะ! เป็นศีลที่ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
ถ้าหากท่านเคยได้ยินคำอย่างนี้ท่านอาจจะงง ๆ ว่า เอ๊ะ หมายความว่ายังไง
นี่ล่ะ การหมายความล่ะ ! นี่เป็นศีลที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่ศีลจากการสมาทานเฉยๆ
นี่เป็นศีลในองค์มรรค
... ต่างกัน…. เพราะฉะนั้นหากใครบอกว่า
โอ๊ย ! มรรคองค์ 8 ก็ ศีล 5 นั่นแหละ …..ไม่ใช่แล้ว !!
คนถือศีล 5 ไม่บรรลุธรรม เพราะศีล 5 มีมาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้
ศีล 5 มีเป็นของคู่แผ่นดินด้วย อันนี้มีประโยชน์แล้วก็เป็นของใช่ ท่านก็นำมา
แต่ไม่ได้นำมาสู่การพ้นทุกข์ ยังพ้นไม่ได้ เพราะมันอยู่แค่ในระดับกายกับวาจา
ไม่ได้ไปจัดการในระดับจิต
เอาล่ะนะครับ ก็ไม่ยากอะไรในมรรคองค์ที่ 3 4
ต่อไปเราไปดูมรรคข้อที่ 5 สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีพชอบ
มรรคองค์ที่ 5 สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ สาวกของพระอริยเจ้าในพระธรรมวินัยนี้
ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ
ฟังดูก็ไม่น่ามีอะไร แล้วผมเชื่อว่า หลายคนถ้าเห็นตรงนี้แล้วเนี่ย
ก็จะคิดถึงสัมมาอาชีพที่ตัวเองทำ ก็มีแค่นั้นน่ะ เราก็ไม่ได้ทำผิดทำบาปทำชั่วอะไร
อาชีพของเราก็ไม่ถึงกับมุ่งร้ายเบียดเบียนใคร ก็ทำตามสัมมาอาชีวะ
เอาล่ะ เรามาดูความหมายที่แท้ๆกันซักนิด
หากเรายังจำได้ว่ามรรคองค์ที่ 2 พูดถึง
การดำริในการออกจากกาม ดำริในการไม่มุ่งร้าย ดำริในการเบียดเบียน
แล้วก็เป็นที่มา … เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการดูแลวาจา
แล้วก็เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการดูแลการกระทำ
หลังจากนั้นเมื่อวาจากับการกระทำดีสมบูรณ์ขึ้น ก็จะทำให้เห็นว่าอาชีพอะไรที่ควรกระทำ
ไม่ควรจะไปกระทำมุ่งร้ายเบียดเบียนใคร ซึ่งในสัมมาอาชีพของคนทั่วๆไป ก็อยู่ด้วยการไม่ทำผิด
หากเราจะมาดูว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่ายังไงในการทำอาชีพที่ไม่ควรกระทำ
ท่านก็จะบอกว่า อาชีพและการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ
1. การค้าขายอาวุธหรือศาสตรา
2. การค้าขายสัตว์เพื่อให้เขานำไปฆ่า
3. การค้ามนุษย์
4. การค้าขายน้ำเมาและสิ่งเสพย์ติด
5. การค้าขายยาพิษ
5 ข้อนี้ อุบาสกไม่พึงกระทำ ทำไมท่านถึงบอกว่า 5 อาชีพนี้ไม่ควรกระทำ
เพราะ 5 อาชีพนี้ เป็นการมุ่งร้ายและเบียดเบียนกันชัดเจน...ชัดเจนมากๆ
อย่าตั้งคำถามเลย ว่า ทำไมผู้กระทำถึงร่ำรวย ถึงได้อะไรๆนะ
ขายของดี ก็มีเงินเข้า เป็นเรื่องปกติ แต่เรื่องที่ตามติดไปก็คงมีผลแน่นอน
เรารู้เรื่องแล้ว ไม่ต้องพูดอะไรมากหรอก นะ
แต่จะให้เห็นว่า อะไรคืออาชีพที่ไม่มุ่งร้ายไม่เบียดเบียน หรืออาชีพไหนที่มุ่งร้ายเบียดเบียน
แต่ในมรรคองค์ที่ 5 สัมมาอาชีวะ นี่ คือเราพูดถึงฆราวาส
ฆราวาสก็ตอบโจทย์พระพุทธเจ้าได้เหมือนกัน ในสัมมาสังกัปโป
ตอบได้ 2 ข้อ แต่ถ้าสังเกตดู ขาดไปข้อนึง คือ เนกขัมมะออกจากกาม
ไม่มีอาชีพไหนของฆราวาสที่จะตอบโจทย์นี้ได้
ไม่มีอาชีพไหนเลย ที่ฆราวาสจะเนกขัมมะออกจากกามได้
เงินเราได้มา ก็เป็นไปเพื่อกามทั้งหลาย
ได้เงินได้ทองมา ก็เพื่อไปเติมกามสุขทั้งหลาย เป็นการสวนทางกับเนกขัมมะ
เพราะฉะนั้น อาชีพของเรามันไม่ได้มีปัญหาหรอก
แต่ปัญหามันอยู่ที่มรรคองค์ที่ 2 เราตอบโจทย์ไม่ครบในอาชีพของเรา
แต่มีอาชีพนึงที่ตอบโจทย์ได้ครบ สามารถตอบมรรคองค์ที่ 2 ได้ทั้งหมดคือ พระ
สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เนกขัมมะแน่ๆ เราก็รู้อยู่ ท่านพรากเลย
เข้าไปอยู่ในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า สถานที่ที่เราเดินกันเป็นปรกติ สำหรับพระคือ อโคจร
ไปไม่ได้ ดังนั้นจะเห็นชัดๆ จะฉันอะไรก็แล้วแต่คนมาใส่
จะไปบอกนั่นบอกนี่ก็ไม่ได้ ถ้าเค้าไม่ได้ปาวรณาตัวอุปัฎฐาก
ก็ตามมีตามฉัน เห็นแล้วว่าเป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ เติมเข้าไปให้ธาตุ ธาตุก็อยู่ได้
เรื่องก็มีแค่นี้ ดังนั้นเราจะเห็นแล้วว่า อาชีพที่เป็นสัมมาอาชีพแท้ๆ ในองค์มรรค
เป็นกรรมที่อโหสิกรรมไม่ได้ ใช้ไปจนชาติสุดท้ายน่ะแหละ
งั้น อะไรที่ไม่เกี่ยวก็อย่าไปทำให้มันเป็นเรื่องเป็นราว
เที่ยวยุยงสงฆ์ให้แตกกัน แต่ความเป็นจริงในข้อนี้ ยุยงสงฆ์ให้แตกกันไม่เกิดในฆราวาสเด็ดขาด
ที่เกิดเป็นอนันตริยกรรมจริงๆ ไม่เกิดขึ้นในฆราวาส
เพราะว่า องค์ประกอบของในข้อนี้ ฆราวาสทำไม่ได้ ที่จะทำให้สงฆ์แตกกัน
นอกจากจะเป็นสงฆ์ ที่จะทำให้สงฆ์กับสงฆ์ แตกกัน
ส่วนการพูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ คงไม่ต้องพูดถึง
ส่วนคำว่า เจตนามีเครื่องเว้นจะเห็นมีทุกข้อ แต่เดี๋ยวเราไปอธิบายใน มรรค ข้อที่ 4 ต่อไป
เพราะเดี๋ยวจะเห็นคำนี้ต่อไปอีก ก็เพียงแต่ว่า เริ่มดูแลวาจา
เมื่อไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน
ก็วาจาไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน
จากนั้นก็มาถึงการกระทำที่ไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน
(องค์มรรคที่ 4)
ถ้าเราดูโดยศัพท์ เราจะพาลคิดไปถึงการทำงาน ซึ่งเป็นอาชีพในความเข้าใจของพวกเรา
เพราะว่าคำนั้นมันก็เอนไปทางนั้นเยอะมาก
แต่ในสัมมมาสัมกัปโป ถ้าไปดูภาษาอังกฤษ เค้าจะแปลว่า Right Action การกระทำที่ถูกต้อง
ถ้าแปลอย่างนี้เราไม่งง ถ้าแปลว่า การกระทำที่ถูกต้องเราจะไม่งงเลย
แต่พอแปลเป็น การทำการงานที่ถูกต้องเนี่ย มันงง
แต่ก็เชื่อว่า บาลีเค้าคงเป็นอย่างนี้ ก็เอานะ ไม่เป็นไรหรอก
ขอให้เราเข้าใจความหมายจริงๆ ซึ่งเราก็จะเห็นเลยว่า ทั้ง 3 ข้อนั้น ก็คือ
เหมือนกับศีลข้อที่เรารู้จักกันดี 1 2 3 เพราะทั้ง 3 ข้อนี้ ความจริงก็ไม่ได้ไปโยงศีลมาหรอก
เพราะการกระทำทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นการกระทำมุ่งร้ายแล้วก็เบียดเบียนแน่ๆเลย
ฆ่าเขา ทรมานเขา ….แน่นอน
โขมยของคนอื่น .…...แน่นอน
ประพฤติผิดในกาม... แน่นอน
ลูกเมียของเค้า ใครที่เป็นที่รักของเค้า ไปทำเค้า ไอ้นี่ไปมุ่งร้ายเบียดเบียนหมด
เพราะฉะนั้น การกระทำ 3 อย่างนี้ ไม่ควรกระทำ
เพราะฉะนั้น เมื่อไม่ควรกระทำ แล้วมีการอยากจะกระทำ มันมีเจตนาที่จะทำ
มันจึงต้องเริ่มมีเจตนาเป็นเครื่องเว้น เหมือนตอนที่ให้ดูเรื่องแรงเงา
ตอนที่เป็นคนบาป ทำอะไรไม่มีเสียงเตือนเลย มีแต่เจตนาจะทำ
สั่งคนโน้นไปฆ่าคนนี้ สั่งคนนี้ไปทำอย่างนั้น ไปขโมยของใคร ไม่เคยมีความรู้สึกผิดเลยในการทำ
จนกระทั่งเริ่มรู้สึกตัว เริ่มเข้ามาศึกษา เริ่มเข้ามาเป็นคนดี
พอจะขโมยของคนอื่นเค้า ก็ … อืมม ไม่เอาดีกว่า มันเกิดไอ้ตัวนี้ ที่เรียกว่า เจตนาเป็นเครื่องเว้น
พอมันเจตนาจะเอาเหมือนเมื่อก่อน ที่ทำด้วยความเคยชิน
คนขี้ขโมยก็จะขโมยไปเรื่อย เห็นอะไรวางก็จะขโมยไปเรื่อย
พอมันเริ่มมีเจตนาเป็นเครื่องเว้น ปั๊บ หยุด !!! อย่างนี้เรียกเจตนาเป็นเครื่องเว้น
หรือเราจะเรียกในด้านของสติธรรมดาก็คือ เกิดความยับยั้งชั่งใจ
อันนี้ระดับพื้นๆเลยที่มีอยู่ในคนทั่วๆไป
มนุษย์ทั่วไปทั้งหลายก็จะความรู้จักผิดชอบชั่วดีอยู่แล้วในตัว
จะไม่ค่อยไหลลงไปขนาดนั้น แต่ก็มีมากมายเหมือนกันในยุคปัจจุบัน
แต่หากคนที่ต้องการพัฒนาไปเรื่อยๆ สมมุติว่า อื้มม เกิดเจตนาเป็นเครื่องเว้น
เราจะสังเกตุว่า เราจะมาดูความเปลี่ยนแปลงของคนๆนึง
จากที่ขโมยเลย หลังจากนั้นเมื่อเข้ามาฝึก มือไปไม่ถึงแล้วเพราะใจมันยั้งไว้ก่อน
ตกลง มันเว้นที่มือ หรือ เว้นที่ใจ ?
เจตนาเป็นเครื่องเว้น เว้นที่เจตนาเนี่ย !! จากนั้น เราจะเห็นว่าระดับของมือจะสั้นลง
“ อืมม ไม่เอาดีกว่า ” จากนั้น มือไม่ขยับ ใจขยับ “ อย่าไปเอาของเค้าเลย ...แต่ตาหันไปมองเค้า ”
มันจะเห็นว่าระดับดีกรีของความจะเอา มันน้อยลงไปเรื่อยๆ
ดังนั้น เจตนาของดีกรีของเจตนาเป็นเครื่องเว้นก็น้อยลงไปเรื่อยๆเหมือนกัน
จนกระทั่ง ไหวแว๊บๆ ชำระแว๊บๆ แล้วก็หมดไป
จนกระทั่งวันหนึ่งมีคนทำเงินหล่นอย่างที่ว่า คุณๆ ทำเงินหล่น
ไม่ได้มีเจตนาจะเอา ไม่มีเจตนาเป็นเครื่องเว้น
อย่างนี้ ศีลบริบูรณ์แล้ว อย่างเนี้ย เป็นศีลในพระโสดาบัน
เป็นศีลที่ไม่ต้องถือ ไม่ต้องประคอง ที่เรียกว่า เป็นศีลที่ไม่ลูบคลำด้วยทิฏฐิ
ไม่ใช่ถือคิดว่าศีลแล้วดี ไม่ลูบคลำด้วยทิฏฐิ เป็นศีลที่เป็นไทยจากตัณหา
ไม่ใช่อยากถือ …..”วันเนี้ยะ เป็นวันพระ ต้องถือศีลนะ มันจะได้บุญ !”
เป็นศีลที่เป็นไทยจากตัณหา เป็นศีลที่เกิดจากปัญญา
ปัญญาในไหน … ปัญญาจากสัมมาทิฏฐิ แล้วก็สัมมาสังกัปโป ไล่กันลงมา …
เนี่ยะ! เป็นศีลที่ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
ถ้าหากท่านเคยได้ยินคำอย่างนี้ท่านอาจจะงง ๆ ว่า เอ๊ะ หมายความว่ายังไง
นี่ล่ะ การหมายความล่ะ ! นี่เป็นศีลที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่ศีลจากการสมาทานเฉยๆ
นี่เป็นศีลในองค์มรรค
... ต่างกัน…. เพราะฉะนั้นหากใครบอกว่า
โอ๊ย ! มรรคองค์ 8 ก็ ศีล 5 นั่นแหละ …..ไม่ใช่แล้ว !!
คนถือศีล 5 ไม่บรรลุธรรม เพราะศีล 5 มีมาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้
ศีล 5 มีเป็นของคู่แผ่นดินด้วย อันนี้มีประโยชน์แล้วก็เป็นของใช่ ท่านก็นำมา
แต่ไม่ได้นำมาสู่การพ้นทุกข์ ยังพ้นไม่ได้ เพราะมันอยู่แค่ในระดับกายกับวาจา
ไม่ได้ไปจัดการในระดับจิต
เอาล่ะนะครับ ก็ไม่ยากอะไรในมรรคองค์ที่ 3 4
ต่อไปเราไปดูมรรคข้อที่ 5 สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีพชอบ
(องค์มรรคที่ 5)
มรรคองค์ที่ 5 สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ สาวกของพระอริยเจ้าในพระธรรมวินัยนี้
ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ
ฟังดูก็ไม่น่ามีอะไร แล้วผมเชื่อว่า หลายคนถ้าเห็นตรงนี้แล้วเนี่ย
ก็จะคิดถึงสัมมาอาชีพที่ตัวเองทำ ก็มีแค่นั้นน่ะ เราก็ไม่ได้ทำผิดทำบาปทำชั่วอะไร
อาชีพของเราก็ไม่ถึงกับมุ่งร้ายเบียดเบียนใคร ก็ทำตามสัมมาอาชีวะ
เอาล่ะ เรามาดูความหมายที่แท้ๆกันซักนิด
หากเรายังจำได้ว่ามรรคองค์ที่ 2 พูดถึง
การดำริในการออกจากกาม ดำริในการไม่มุ่งร้าย ดำริในการเบียดเบียน
แล้วก็เป็นที่มา … เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการดูแลวาจา
แล้วก็เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการดูแลการกระทำ
หลังจากนั้นเมื่อวาจากับการกระทำดีสมบูรณ์ขึ้น ก็จะทำให้เห็นว่าอาชีพอะไรที่ควรกระทำ
ไม่ควรจะไปกระทำมุ่งร้ายเบียดเบียนใคร ซึ่งในสัมมาอาชีพของคนทั่วๆไป ก็อยู่ด้วยการไม่ทำผิด
หากเราจะมาดูว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่ายังไงในการทำอาชีพที่ไม่ควรกระทำ
ท่านก็จะบอกว่า อาชีพและการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ
1. การค้าขายอาวุธหรือศาสตรา
2. การค้าขายสัตว์เพื่อให้เขานำไปฆ่า
3. การค้ามนุษย์
4. การค้าขายน้ำเมาและสิ่งเสพย์ติด
5. การค้าขายยาพิษ
5 ข้อนี้ อุบาสกไม่พึงกระทำ ทำไมท่านถึงบอกว่า 5 อาชีพนี้ไม่ควรกระทำ
เพราะ 5 อาชีพนี้ เป็นการมุ่งร้ายและเบียดเบียนกันชัดเจน...ชัดเจนมากๆ
อย่าตั้งคำถามเลย ว่า ทำไมผู้กระทำถึงร่ำรวย ถึงได้อะไรๆนะ
ขายของดี ก็มีเงินเข้า เป็นเรื่องปกติ แต่เรื่องที่ตามติดไปก็คงมีผลแน่นอน
เรารู้เรื่องแล้ว ไม่ต้องพูดอะไรมากหรอก นะ
แต่จะให้เห็นว่า อะไรคืออาชีพที่ไม่มุ่งร้ายไม่เบียดเบียน หรืออาชีพไหนที่มุ่งร้ายเบียดเบียน
แต่ในมรรคองค์ที่ 5 สัมมาอาชีวะ นี่ คือเราพูดถึงฆราวาส
ฆราวาสก็ตอบโจทย์พระพุทธเจ้าได้เหมือนกัน ในสัมมาสังกัปโป
ตอบได้ 2 ข้อ แต่ถ้าสังเกตดู ขาดไปข้อนึง คือ เนกขัมมะออกจากกาม
ไม่มีอาชีพไหนของฆราวาสที่จะตอบโจทย์นี้ได้
ไม่มีอาชีพไหนเลย ที่ฆราวาสจะเนกขัมมะออกจากกามได้
เงินเราได้มา ก็เป็นไปเพื่อกามทั้งหลาย
ได้เงินได้ทองมา ก็เพื่อไปเติมกามสุขทั้งหลาย เป็นการสวนทางกับเนกขัมมะ
เพราะฉะนั้น อาชีพของเรามันไม่ได้มีปัญหาหรอก
แต่ปัญหามันอยู่ที่มรรคองค์ที่ 2 เราตอบโจทย์ไม่ครบในอาชีพของเรา
แต่มีอาชีพนึงที่ตอบโจทย์ได้ครบ สามารถตอบมรรคองค์ที่ 2 ได้ทั้งหมดคือ พระ
สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เนกขัมมะแน่ๆ เราก็รู้อยู่ ท่านพรากเลย
เข้าไปอยู่ในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า สถานที่ที่เราเดินกันเป็นปรกติ สำหรับพระคือ อโคจร
ไปไม่ได้ ดังนั้นจะเห็นชัดๆ จะฉันอะไรก็แล้วแต่คนมาใส่
จะไปบอกนั่นบอกนี่ก็ไม่ได้ ถ้าเค้าไม่ได้ปาวรณาตัวอุปัฎฐาก
ก็ตามมีตามฉัน เห็นแล้วว่าเป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ เติมเข้าไปให้ธาตุ ธาตุก็อยู่ได้
เรื่องก็มีแค่นี้ ดังนั้นเราจะเห็นแล้วว่า อาชีพที่เป็นสัมมาอาชีพแท้ๆ ในองค์มรรค
เพื่อหนทางสู่พระนิพพาน จริงๆ ก็คือ พระ แต่ฆาราวาสไม่ได้บอกว่า ไม่ได้
เพราะเพียงแต่เราทำสัมมาอาชีพ แล้วเรามี เนกขัมมะเพิ่มขึ้นไปเอง
การใช้ชีวิตก็คงต้องระมัดระวังมากขึ้นที่จะมีสติในการใช้
แล้วก็มีปัญญาในการเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ แล้ว อันนี้ ก็ต้องมีสติปัญญาเข้าไปประกอบ
ไม่ใช่กินด้วยความหลงใหลเพลิดเพลิน อย่างที่บอก
พร่ำสรรเสริญเมาหมกกันอยู่นั่น กินแล้วก็พูดแล้ว พูดแล้วก็พูดอีก
ไม่จบ อย่างนี้ไม่จบ !! อย่างนี้...หลงเข้าไปในกาม
ก็ทานๆแล้วก็จบ จบมื้อจบคราวแล้วก็จบ
เอาล่ะนะครับ อันนี้มาถึงมรรคองค์ที่ 5 แล้ว
แล้วเราก็คงจะเบรคเอาไว้ตรงนี้ แต่ก่อนที่เราจะจบมรรคองค์ที่ 5 แล้วก็ไปรับประทานอาหาร
เราจะไปดูสรุปเป็นภาพรวมคร่าวๆก่อน ในช่วงบ่ายเราจะได้มาต่อกันอย่างเข้าใจ
ที่เราสวดกันไปทั้ง 5 ข้อ ในองค์มรรค จะเห็นว่า มรรคองค์ที่ 1 องค์ที่ 2
คือ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปโป เป็นเรื่องของปัญญา
ปัญญาที่จะรู้ว่าอะไรคือทุกข์
อะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์
อะไรคือความดับ อะไรคือหนทาง
จากนั้น จะนำมาสู่ภาคของนโยบายที่จะกระทำต่อไป
คือ เมื่อจัดเรียงกันแล้วได้ 3 หมวด ถ้าเนกขัมมะ ไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน
การกระทำเหล่านี้แหละ ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดทุกข์
เมื่อไม่มีเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์จะไม่เกิด
ดังนั้น เริ่มจากกายกับวาจาก่อน เพื่อไม่ให้กายกับวาจา นำมาซึ่งทุกข์
วาจาจึงกลายเป็นสัมมาวาจา
การกระทำเป็นสัมมากัมมันโต
ส่วนอาชีพเป็นสัมมาอาชีโว
ทุกข์จะลดลงฮวบฮาบละตอนนี้ แต่ไม่หมด เพราะทุกข์ เกิดที่ใจ !!
ดังนั้น แสดงว่า มรรคองค์ที่ 6 7 8 ที่เราจะสวดกันและศึกษากันในช่วงบ่าย
จะเข้าไปจัดการในระดับจิตแน่ๆ เพราะตอนนี้จิตยังไม่ได้ถูกจัดการเลย
นี่จึงเป็นการพ้นทุกข์ในศาสนาเดียวในโลก ที่เข้าไปจัดการถึงระดับจิต
แล้วเมื่อเข้าไปจัดการที่ระดับจิต ก็ไม่จบที่จิต เพราะว่าจิตยังมีตัวตน
จนต้องเกิดสัมมาทิฏิย้อนกลับ เมื่อเกิดสัมมาทิฏฐิย้อนกลับ จึงเข้าใจเลยว่า
นี่คือ ทุกข์ …. นี่คือเหตุให้เกิดทุกข์ที่แท้จริงไปโดยลำดับ
จากการปฏิบัติภาวนาจนขาวรอบ
มรรคจะหมุนวนหลายรอบมากจนกว่าจะฟอกจนหมด
สุดท้าย เมื่อเกิดสัมมาทิฏฐิขั้นสูงสุด เป็นผลไปสู่ปัญญาที่แท้จริงเรียกว่า สัมมาญานะ
แล้วก็หลุดพ้น ที่เรียกว่า สัมมาวิมุติ
เอาล่ะ เพราะฉะนั้น มรรคนำพาบุคคลทั่วไป คนธรรมดาเนี่ย หรือเรียกว่าปุถุชน ก็ได้
ก้าวข้ามโคตรเข้าสู่อริยชน แล้วก็ส่งต่อไปจนถึงพระอรหันต์ ด้วยมรรคมีองค์ 8 นี้แหละ
เอาล่ะ เดี๋ยวเรากราบพระแล้วก็สวดธาตุปัจจเวกที่โต๊ะของท่าน
แล้วก็พิจารณาดูอาหาร ที่เห็นตามนั้น อย่าหลงกินตามสัญชาติญาน
อะไรคือ สัญชาติญาน ??
ถ้าท่านเดินไปเตะหมา หมาร้อง เอ๋ง หันมา หมาจะกัด
ท่านโยนขนมให้มันชิ้นนึง มันกระดิกหาง แล้วมันกินๆ
แล้วเดี๋ยวมันก็มาเลียๆท่าน จะขออีกชิ้นนึง พวกนี้ เป็นสัญชาติญาน!!
ถ้าเป็นมนุษย์ มีใครมาว่าอะไรให้กระทบใจ ท่านโกรธ
แล้วเดี๋ยวๆมีคนมาพูดดี ก็กระดิกหาง ไม่ต่างกัน
ความต่างของมนุษย์กับเดรัจฉาน ต่างกันอยู่แค่ว่า เมื่อมีอะไรมากระทบ
ความโกรธกำลังเกิดขึ้น เหมือนหมาโกรธ แต่หมาไม่รู้ หมาจะแฮ่ใส่
แต่มนุษย์มีสติระลึก…” อ้อ นี่โทสะเกิดแล้ว ไม่ทำ”
มนุษย์ต่างจากเดรัจฉานตรงนี้ หลังจากนั้นมีคนเอาของดีๆมาให้ ป้อเยินยอ
เพราะเพียงแต่เราทำสัมมาอาชีพ แล้วเรามี เนกขัมมะเพิ่มขึ้นไปเอง
การใช้ชีวิตก็คงต้องระมัดระวังมากขึ้นที่จะมีสติในการใช้
แล้วก็มีปัญญาในการเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ แล้ว อันนี้ ก็ต้องมีสติปัญญาเข้าไปประกอบ
ไม่ใช่กินด้วยความหลงใหลเพลิดเพลิน อย่างที่บอก
พร่ำสรรเสริญเมาหมกกันอยู่นั่น กินแล้วก็พูดแล้ว พูดแล้วก็พูดอีก
ไม่จบ อย่างนี้ไม่จบ !! อย่างนี้...หลงเข้าไปในกาม
ก็ทานๆแล้วก็จบ จบมื้อจบคราวแล้วก็จบ
เอาล่ะนะครับ อันนี้มาถึงมรรคองค์ที่ 5 แล้ว
แล้วเราก็คงจะเบรคเอาไว้ตรงนี้ แต่ก่อนที่เราจะจบมรรคองค์ที่ 5 แล้วก็ไปรับประทานอาหาร
เราจะไปดูสรุปเป็นภาพรวมคร่าวๆก่อน ในช่วงบ่ายเราจะได้มาต่อกันอย่างเข้าใจ
ที่เราสวดกันไปทั้ง 5 ข้อ ในองค์มรรค จะเห็นว่า มรรคองค์ที่ 1 องค์ที่ 2
คือ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปโป เป็นเรื่องของปัญญา
ปัญญาที่จะรู้ว่าอะไรคือทุกข์
อะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์
อะไรคือความดับ อะไรคือหนทาง
จากนั้น จะนำมาสู่ภาคของนโยบายที่จะกระทำต่อไป
คือ เมื่อจัดเรียงกันแล้วได้ 3 หมวด ถ้าเนกขัมมะ ไม่มุ่งร้าย ไม่เบียดเบียน
การกระทำเหล่านี้แหละ ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดทุกข์
เมื่อไม่มีเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์จะไม่เกิด
ดังนั้น เริ่มจากกายกับวาจาก่อน เพื่อไม่ให้กายกับวาจา นำมาซึ่งทุกข์
วาจาจึงกลายเป็นสัมมาวาจา
การกระทำเป็นสัมมากัมมันโต
ส่วนอาชีพเป็นสัมมาอาชีโว
ทุกข์จะลดลงฮวบฮาบละตอนนี้ แต่ไม่หมด เพราะทุกข์ เกิดที่ใจ !!
ดังนั้น แสดงว่า มรรคองค์ที่ 6 7 8 ที่เราจะสวดกันและศึกษากันในช่วงบ่าย
จะเข้าไปจัดการในระดับจิตแน่ๆ เพราะตอนนี้จิตยังไม่ได้ถูกจัดการเลย
นี่จึงเป็นการพ้นทุกข์ในศาสนาเดียวในโลก ที่เข้าไปจัดการถึงระดับจิต
แล้วเมื่อเข้าไปจัดการที่ระดับจิต ก็ไม่จบที่จิต เพราะว่าจิตยังมีตัวตน
จนต้องเกิดสัมมาทิฏิย้อนกลับ เมื่อเกิดสัมมาทิฏฐิย้อนกลับ จึงเข้าใจเลยว่า
นี่คือ ทุกข์ …. นี่คือเหตุให้เกิดทุกข์ที่แท้จริงไปโดยลำดับ
จากการปฏิบัติภาวนาจนขาวรอบ
มรรคจะหมุนวนหลายรอบมากจนกว่าจะฟอกจนหมด
สุดท้าย เมื่อเกิดสัมมาทิฏฐิขั้นสูงสุด เป็นผลไปสู่ปัญญาที่แท้จริงเรียกว่า สัมมาญานะ
แล้วก็หลุดพ้น ที่เรียกว่า สัมมาวิมุติ
เอาล่ะ เพราะฉะนั้น มรรคนำพาบุคคลทั่วไป คนธรรมดาเนี่ย หรือเรียกว่าปุถุชน ก็ได้
ก้าวข้ามโคตรเข้าสู่อริยชน แล้วก็ส่งต่อไปจนถึงพระอรหันต์ ด้วยมรรคมีองค์ 8 นี้แหละ
เอาล่ะ เดี๋ยวเรากราบพระแล้วก็สวดธาตุปัจจเวกที่โต๊ะของท่าน
แล้วก็พิจารณาดูอาหาร ที่เห็นตามนั้น อย่าหลงกินตามสัญชาติญาน
อะไรคือ สัญชาติญาน ??
ถ้าท่านเดินไปเตะหมา หมาร้อง เอ๋ง หันมา หมาจะกัด
ท่านโยนขนมให้มันชิ้นนึง มันกระดิกหาง แล้วมันกินๆ
แล้วเดี๋ยวมันก็มาเลียๆท่าน จะขออีกชิ้นนึง พวกนี้ เป็นสัญชาติญาน!!
ถ้าเป็นมนุษย์ มีใครมาว่าอะไรให้กระทบใจ ท่านโกรธ
แล้วเดี๋ยวๆมีคนมาพูดดี ก็กระดิกหาง ไม่ต่างกัน
ความต่างของมนุษย์กับเดรัจฉาน ต่างกันอยู่แค่ว่า เมื่อมีอะไรมากระทบ
ความโกรธกำลังเกิดขึ้น เหมือนหมาโกรธ แต่หมาไม่รู้ หมาจะแฮ่ใส่
แต่มนุษย์มีสติระลึก…” อ้อ นี่โทสะเกิดแล้ว ไม่ทำ”
มนุษย์ต่างจากเดรัจฉานตรงนี้ หลังจากนั้นมีคนเอาของดีๆมาให้ ป้อเยินยอ
เห็นความพึงพอใจเกิดขึ้น มันก็แค่เวทนาเท่านั้นเอง อย่างมากก็ยิ้มๆเล็กน้อย ไม่ได้หลงใหลได้ปลื้ม
นี่คือความต่างของมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉาน ดังนั้น อย่าปล่อยให้ชีวิตไหลไปตามสัญชาติญาณ
อย่าทานอาหารแบบหมาจุ่มหน้าลงไปกิน … กินไม่รู้ตัวเลย
กินจนกระทั่งปากมัน แล้วก็ถอยหลังลงมา อิ่มจนไส้เส้ย ท้องจะแตก !!
พระสารีบุตรบอกว่า ผู้ปฏิบัติ หรือว่า ภิกษุทั้งหลาย
ควรรับประทานอาหารให้พร่องอยู่ 5 คำก่อนที่จะอิ่ม
แล้วดื่มน้ำตาม เท่านั้นจะพอดี ลองไปทำตามพระสารีบุตรดู อย่าทานจนอิ่ม
ทานจนรู้สึกว่า เหลืออีก 5 คำจะอิ่ม หยุดตรงนั้น แล้วดื่มน้ำตาม จะคล่องแคล่วว่องไว
เหมาะกับการเจริญภาวนา
กราบพระ…..
จบการบรรยายตอนที่ 6
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ตอนที่ 5 ขันธ์ 5 มีความสืบเนื่อง ☜ ☞ตอนที่ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 (องค์ 6-8 )
นี่คือความต่างของมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉาน ดังนั้น อย่าปล่อยให้ชีวิตไหลไปตามสัญชาติญาณ
อย่าทานอาหารแบบหมาจุ่มหน้าลงไปกิน … กินไม่รู้ตัวเลย
กินจนกระทั่งปากมัน แล้วก็ถอยหลังลงมา อิ่มจนไส้เส้ย ท้องจะแตก !!
พระสารีบุตรบอกว่า ผู้ปฏิบัติ หรือว่า ภิกษุทั้งหลาย
ควรรับประทานอาหารให้พร่องอยู่ 5 คำก่อนที่จะอิ่ม
แล้วดื่มน้ำตาม เท่านั้นจะพอดี ลองไปทำตามพระสารีบุตรดู อย่าทานจนอิ่ม
ทานจนรู้สึกว่า เหลืออีก 5 คำจะอิ่ม หยุดตรงนั้น แล้วดื่มน้ำตาม จะคล่องแคล่วว่องไว
เหมาะกับการเจริญภาวนา
กราบพระ…..
จบการบรรยายตอนที่ 6
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ตอนที่ 5 ขันธ์ 5 มีความสืบเนื่อง ☜ ☞ตอนที่ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 (องค์ 6-8 )
กราบอนุโมทนาบุญกับผู้บรรยาย ทีมงาน และผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านค่ะ
- ด้วยจิตคารวะ -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น