ถอดคำบรรยาย:
คอร์ส “มัคคานุคาเข้มระดับ 2” เรื่อง พังประตูคุก
ตอนที่ 12 “อริยมรรคมีองค์ 8 ภาคปฏิบัติและปฏิเวธ”
บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
ณ สวนธรรมศรีปทุม
ตอนที่ 12 “อริยมรรคมีองค์ 8 ภาคปฏิบัติและปฏิเวธ”
บรรยายโดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2556
ณ สวนธรรมศรีปทุม
เอาละครับก็ สวัสดียามเช้าครับ โยคีทุกท่าน
เช้าวันนี้ก็เป็นเช้าของวันสุดท้ายในหลักสูตรมัคคานุคาเข้ม ระดับที่ 2 นะ
ในที่สุดวันสุดท้ายก็มาถึง ไม่ขึ้นกับอยากหรือไม่อยากของใคร นะ
งั้นวันสุดท้ายมาถึงแน่ ซึ่งเป็นความจริงของธรรมชาติ แล้วความจริงก็ไม่ใช่วันสุดท้ายด้วย
มันก็คือทุกๆ เวลาที่ผ่านไป ไหลไปเรื่อยๆ เราไปสร้าง partition
เราไปสร้างกฏเกณฑ์ที่เรียกว่า บัญญัติ ขึ้นมาเฉยๆ ว่าเป็นวันนั้นวันนี้
ถ้าเราถอนสมมติบัญญัติออกจนหมดนะ เข้าใจความจริง
เราก็จะเห็นมีแต่ความสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ของขันธ์
เปลี่ยนจากตรงนั้นก็เป็นตรงนี้ตามเหตุปัจจัยที่สร้างมาเอง นะ ไม่รู้ใครเป็นคนสร้าง
เดี๋ยวก็เปลี่ยนไปๆ เป็นภพเป็นภูมิ ก็ตั้งชื่อขึ้นมา
ความจริงก็แทบจะบอกว่า ยาวๆ ไปเรื่อยๆ น่ะ ก็ไม่รู้จะพูดว่าอะไร
เห็นความจริงก็ไม่กลัวตายละ มันไม่เคยเห็นตายจริงซะทีนะ
กลัวเกิดดีกว่า ถ้าจะกลัวตาย
พอตายปุ๊บมันเกิดเลย มันก็เลยเกิดกันไปเรื่อยๆ นะ
เมื่อ 2-3 วันก่อน หรือตอนเปิดหลักสูตร วันสุดท้ายมันก็อยู่ในอนาคต
เราก็คิดว่าวันสุดท้าย โอ้ย! ยังอยู่อีกตั้งนานนะ กว่าจะถึง 5 วัน
แต่พอมันมาถึงจริงๆ ก็ตอนนี้นั่นแหล่ะ มันก็ตอนนี้แหล่ะนะ
ดังนั้นเมื่อไหร่เราออกไปพ้นจากเวลานะ เราเห็นความจริงของอนิจจัง ของทุกขัง อนัตตา แล้วเราก็วางลงได้
เราสู่สุญญตา คือว่างจากตัวตน กาลเวลาทั้งหลายก็ไม่มีนะ
เวลามาจากไหน?...มาจากโลกหมุนรอบตัวเอง
มีเงามืดมาบัง ก็เรียกกลางคืน ... มีแสงจากพระอาทิตย์มา ก็เรียกกลางวัน
เราสร้างสมมติบัญญัติขึ้นมาแล้วเราก็มาติดที่วัน พอวัน ก็มีเดือน มีเดือนก็มีปี มีปีก็มีแก่
แล้วก็มีความรู้สึกต่อสิ่งเหล่านี้ แล้วเราก็หลงจมไปจนกระทั่ง นึกไม่ออกว่าจะถอดถอนสิ่งเหล่านี้ออกไปได้ยังไง
เมื่อไม่มีเวลา เวลาตอนไหนมันก็เราใจได้เหมือนกัน
ตอนนี้ก็คือนาคตของ 2-3 วันก่อน แต่มันกลายเป็นปัจจุบันของตอนนี้
ถ้าใครที่เข้าใจตอน 2-3 วันก่อน ว่าวันนี้ก็คือตอนนี้ เค้าก็จะพ้นจากสมมติบัญญัติคือเวลาไป
อย่างเช่นเมื่อคืนผมบรรยายนะ ผมบรรยายแล้วผมก็พูดว่า ท่านที่ฟัง mp3 อยู่ ก็ขอให้ท่านไปเปิดใน youtube นะ
แล้วก็พิมพ์คำว่า ความจริงไม่มีใครทุกข์
เพราะตอนที่เค้าเปิด mp3 คืออนาคต ที่มันจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่มันจะคือปัจจุบันของตอนนั้น
ซึ่งปัจจุบันของตอนนั้นก็คือปัจจุบันของตอนนี้ ผมพูดตอนนี้ก็จะไปได้ยินของคนอนาคตวันนั้น
ทุกอย่างอยู่เหนือกาลเวลา ผมพูดตอนนี้ คนในอนาคตที่ฟัง mp3 อยู่ในอีกปีนึงอย่างหน้า 2 ปีข้างหน้า
เค้ากำลังสื่อสารกับผมในตอนนี้ มันไม่ใช่ตอนนี้
แต่มันเป็นตอนนั้น มันคืออนาคตของตอนนี้ แต่มันคือปัจจุบัน
เพราะฉะนั้นเส้นเวลามันเป็นเส้นเดียวกัน คนใน 2 ปีข้างหน้ากำลังนั่งฟังผมอยู่ตอนนี้
เมื่อเราพ้นจากสมมติบัญญัติ เราจะเข้าใจความจริง มันไม่มีกาลเวลา
วันสุดท้ายน่าจะพูดสรุปให้มันง่ายน่ะ เราจะทิ้งไว้อย่างนี้หรือว่าจะกลับบ้านกันยังไง
DVD ชุดนี้นะ ชื่อพังประตูคุก นี่คือการแหกคุก
นี่คือช่องทางที่จะเปิดครั้งสุดท้าย ก่อนที่พระพุทธศาสนา จะหมดลงไปซักวันนึงในอนาคต
เพราะฉะนั้น ประตูนี้ถูกพังลงแล้ว มีช่องทางออกคืออริยมรรคมีองค์ 8
ผมว่าเราก็ได้ฟังวันแรกจนถึงวันนี้ก็น่าจะมั่นใจในปัญญาการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านได้ยินในสิ่งที่ท่านไม่เคยได้ยินมาก่อน ได้ฟังในสิ่งที่ไม่เชื่อว่าจะมีในโลก
ไม่น่าเชื่อว่ามีการตรัสรู้จริงๆ
ไม่เชื่อว่าน่ามีพระนิพพานจริงๆ แล้วมีหนทางเดินไปให้ถึงจริงๆ ด้วย
และมีครูบาอาจารย์มากมายที่ไปถึงก่อน รวมถึงพระอรหันต์สาวกตั้งแต่สมัยพุทธกาล
วันไหนก็ตามที่ท่านเข้าถึงเข้าใจแล้วก็รู้แจ้ง ท่านจะยิ่งมั่นใจยิ่งกว่านี้อีก
ทางเดินนี้เนี่ย มีคำเตือน อย่าเดินห่างคนข้างหน้านะ เพราะแป๊บเดียว หนทางทั้งหมดจะเลือนหายไป
แล้วเส้นทางนี้ไม่ใช่ศาสตร์ที่จะมานั่งดูทำความเข้าใจแล้วก็ไป
ท่านไม่สามารถนั่งอ่านการหัดว่ายน้ำ แล้วทดลองหัดว่ายน้ำในขณะที่นั่งอ่านได้นะ
เพราะต่อให้ท่านอ่านเก่งแค่ไหน ทันทีที่ท่านตกน้ำท่านจะจมเลย
อ่ะ กราบคารวะธรรมหลวงพ่อเอี้ยน
[คลิปเสียงธรรม]
การพูดการบรรยายธรรม คุณประเสริฐ อุทัยเฉลิม ลูกชายของโยมยินดี
ที่กรุงเทพฯ บรรยายกันไม่หยุด แต่ถ้าที่ไหนที่เข้ม ก็นิมนต์หลวงพ่อไปต่อยอด
หลวงพ่อก็จะชอบยอด ไม่ชอบที่โคนมันแล้ว เบื่อ เพราะว่าโคน เราปลูกแล้ว ก็ขึ้นโคนมาก่อน
โคนก็ไม่มี รากก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี เหนื่อย หลวงพ่อเหนื่อย
หลวงพ่อคิดว่า ต่อไป กรุงเทพฯ คงเข้าไปน้อยมาก จะเอาที่เข้มจริงๆ
ถ้าใครสนใจหลวงพ่อไม่ไป ถ้าลงมาที่นี้ก็ได้ มานั่งคุยกันทั้งวันก็ได้ ไม่เป็นปัญหา
บางทีก็เหน็ดเหนื่อยเหมือนกัน เหน็ดเหนื่อย ไม่ใช่เหน็ดเหนื่อยเรื่องอะไร
ที่ว่า ไม่มีพื้นฐาน เมื่อไม่มีพื้นฐานก็สะเปะสะปะ ก็เลยไม่ทราบจะให้กินยังไง?
เป็นผู้ใหญ๋ เราก็ให้กินข้าวคำใหญ่ แต่เสร็จแล้ว ก็กินไม่ได้ ก็เลยต้องทำคำเล็กๆ ให้กิน
เนี่ย พอคำเล็กๆ ให้กินก็เลยกินแต่คำเล็กๆ อยู่นั้น ไม่รู้จักโต นี่
ที่นี้อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นคนบ้านนอกคอกนา พูดเรื่องตัวกูของกู...
ที่นีอริยมรรคมีองค์ 8 สำคัญมาก ท่านอย่างมองข้าม พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
พอมีทั้ง 8 ข้อ แปดข้อนั้นรวมกลุ่มเป็นข้อเดียว เป็นข้อเดียว เราจะจับช้าง
ที่นี้อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นคนบ้านนอกคอกนา พูดเรื่องตัวกูของกู เป็นยังไง?
ผลที่ออกมา เอ้า! อาจารย์ด่ากูอีกแล้ว ว่ากูอีกแล้ว
นี่คนที่ไม่ปฏิบัติธรรม แล้วก็ไม่เคยปฏิบัติ แผลทั้งตัวเลย ไปจับที่ไหนไม่ได้ ไปต้องที่ไหนไม่ได้
พอหมอไปจับตรงนั้น เจ็บๆ เจ็บๆ เจ็บๆ พอไปจับตรงนี้ ปวดๆ ปวดๆ ปวดๆ
ไม่ต้องไปจับตรงไหนกัน เพราะทั้งเนื้อทั้งตัว ทั้งกายทั้งจิต มีแต่ตัวกูของกูทั้งนั้นเลย
ยาก เพราะฉะนั้น ยาก ยากอย่างนี้ และเราก็เดินตามหลังกันไป ต้องทำกันอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัมมาทิฏฐิ สมาทานา สัพพัง ทุกขัง อุปัจจคุง
สัมมาทิฏฐิมีทั้งปัญญา มีทั้งศีล มีทั้งสมาธิ
ไม่ได้แยกศีลไปไว้ที่หนึ่ง แยกปัญญาไปไว้ที่หนึ่ง แยกสมาธิไปไว้ที่หนึ่ง
รวมกันหมดทั้งปัญญาทั้งศีลแล้วก็ทั้งสมาธิ อยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 ทั้งนั้นเลย
สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นอันถูกต้อง ท่านจงเข้าใจว่า ความเห็นอันถูกต้องเป็นยังไง?
ไม่ใช่เห็นกับตาเนื้อ ถ้าจะต้องสวดบ่อยๆ
การสมาทานหมายความว่า สวดบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ แล้วก็เจาะลงไปบ่อยๆ
เห็นนี่คือเห็นกับปัญญา ไม่ใช่เห็นกับตาเนื้อ เห็นกับตาปัญญา
สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นอันถูกต้อง เห็นกับปัญญา
ถ้าเราไม่มีปัญญา รักษาศีลก็ไม่ได้ซักข้อหนึ่ง เพราะว่าไม่ได้มีปัญญาที่จะรักษา
งั้นศีลก็ต้องประกอบด้วยปัญญา สมาธิก็ต้องประกอบด้วยปัญญา จึงมีสัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาสังกัปโป ความคิดชอบ ความดำริชอบ ความคำนึงชอบ ก็คือถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง
มีปัญญาที่ถูกต้อง มีปัญญา มีความเห็น ที่ถูกต้อง
พอไปสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ก็ถูกต้องหมด อะไรก็ถูกต้องหมด
คือศีลน่ะ ศีล สามข้อนั้น ถูกต้องหมด
อ่ะทีนี้ไปหมดความเพียร สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ถูกต้องหมด
จึงขออ้อนวอนให้ทุกๆ ท่าน ช่วยกันสวด สวด สวดอริยมรรคมีองค์ 8
ก่อนที่จะหลับจะนอน สวดอริยมรรคมีองค์ 8 แล้วก็ซึมซับเข้าไป ซึมซับเข้าไป ซึมซับเข้าไป
แล้วท่านก็นั่งสมาธิ เมื่อนั่งสมาธิ พิจารณาข้อไหนที่สงสัยในอริยมรรคมีองค์ 8
สงสัยข้อไหน เอามาคิดๆ คิดๆ คิดๆ คิดไม่ออก ถามผู้รู้ที่เค้าผ่านมาก่อน
นี่เรียกว่าต้องสมาทานกันจริงๆ สมาทานกันจริงๆ
อ่ะ สัมมาทิฏฐิ สมาทานา สัพพัง ทุกขัง อุปัจจคุง
ใครสมาทานอริยมรรคมีองค์ 8 หรือสัมมาทิฏฐิแล้ว คนนั้นก็จะพ้นจากความทุกข์
พอมีทั้ง 8 ข้อ ต่อไป 8 ข้อนั้นรวมกลุ่มเป็นข้อเดียว เป็นข้อเดียว
เราจะจับช้างที่อยู่ในป่า ก็เอาเชือกเส้นเท่าปลายนิ้วก้อย ก็ไม่มีทางหรอก
ต้องเอาเชือกที่เส้นโตๆ เส้นโตๆ 8 เส้นเอามาฟั่นให้เป็นเส้นเดียวกัน
พอเป็นเส้นเดียวกันเราก็เอาไปจับช้าง เอาไปคล้องช้าง แล้วเราก็ล่ามช้างเอาไว้ แล้วเราก็ฝึกช้าง
นี่ มันจึงจะได้ ไม่อย่างนั้นมันขาด มันขาด
ฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ 8 ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ จนถึงสัมมาสมาธิ เป็นเชือกเส้นเดียวกัน
แต่ว่าต้องใช้ 8 เส้นแล้วเอามาควั่นให้เป็นเส้นเดียวกัน เราเรียกว่า เชือก 8 เกลียว แปดเกลียว น่ะ
พอ 8 เกลียว ก็เรียกว่า มรรคสมังคี คือทั้ง 8 ข้อ
เราปฏิบัติแล้ว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว อืม! จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว
ที่นี้ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 เราก็ไม่มีตาปัญญา
เมื่อไม่มีตาปัญญา ตาไม่ถึง เค้าเรียกว่าตาไม่ถึง
มีแตต่างเหมือนกัน แต่ว่าตาโง่ ตาโง่ก็คือตาอะไรอ่ะ? ก็คือตาบอดนั่นเอง
มีตาแต่ว่าตาบอด มีหู แต่ว่าหูหนวก คือตาบอดนั่นเอง
อันนั้นเราไม่ยอม ไม่ยอมเชื่อพระพุทธเจ้า เชื่อพญามาร เชื่อกิเลสตัณหา
ก็เลยยอมเป็นคนตาบอดเรื่อยไป
นี่แหล่ะต้องปฏิบัติทั้ง 8 ข้อให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วก็จะเกิดสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่เกิดมิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิมันก็กูอยู่เรื่อย กู ของกู กู ของกู กูอยู่อย่างนั้นแหล่ะ คือมิจฉาทิฏฐิ
แต่ถ้าสัมมาทิฏฐิ มันแจ้ง มันสว่าง เห็นอะไรตามความเป็นจริงหมด หายความสงสัย
เป็น โอ! นี่ไม่ใช่ของจริงเลย มายาทั้งนั้นเลยโลกนี้ โลกนี้มีแต่มายา
คนก็ไม่จริง สัตว์ก็ไม่จริง ต้นไม้ก็ไม่จริง โลกนี้ก็ไม่จริง
เป็นอนิจจัง อนัตตา เป็นสุญญตา ว่างจากความจริงทั้งนั้นเลย
นี่แหล่ะ นี่อย่างนี้คือรู้ รู้ความจริง เพราะถ้ามีตาปัญญาแล้ว ก็จะเห็นจริง
แต่ถ้ามีตาโง่คลำๆ เอาอย่างนั้น มันมืด ตาโง่คือตามืด ตามิจฉาทิฏฐิ ก็เลยไม่เห็นอริยสัจ สักทีหนึ่ง
เมื่อมาเห็นอริยสัจ จะไปเห็นขันธ์ 5 ได้ยังไง?
ขันธ์ 5 ก็คืออริยสัจ ปฏิจจสมุปบาทก็คืออริยสัจ อริยสัจทั้งนั้น
และนี่ถ้าถามว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?
พระองค์ตรัสรู้อริยสัจ ทั้งอริยสัจ 4 นั่นคืออริยสัจใหญ่ เรียกว่า อริยสัจใหญ๋
ขันธ์ 5, ปฏิจจสมุปบาท นั่นคืออริยสัจที่ย่อยลงไปๆ ย่อยลงไปๆ ค่อยๆ ย่อยลงไป ละเอียดๆ ละเอียดๆ
นี่ ฉะนั้นเราต้องเห็นความสำคัญของอริยมรรคมีองค์ 8
คำว่า สังขาร นี่ แปลว่า ปรุงแต่ง... ก็ฟังยากนะ ก็เป็นภาษาบาลี
แต่ว่าภาษาไทย แปลว่า คิด แปลว่า คิด
ทีนี้มันมีหลายอย่าง ปรุ่งแต่งเช่นว่า ของ 2 อย่าง เอามา มาทำเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็เรียกว่า ปรุงแต่งแล้ว
เราก็ศึกษาว่า อนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง
แต่สิ่งที่เราเห็นน่ะ ที่เรารู้น่ะ มันเที่ยงนี่ ตัวกูนี่มันเที่ยงนี่ อะไรก็เที่ยงหมด นั่นแหละใช่มั้ย
อวิชชามันเห็นเป็นของเที่ยงหมด เพราะมันตาบอด เห็นเป็นของเที่ยงหมด
แต่ว่าวิชชาหรือจิตที่เป็นสติปัญญา
ปากเราท่องว่า ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง
อนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง,
อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวตน
ท่องกันไปอย่างนั้น สวดกันไปอย่างนั้น
ไม่เห็นเลย สวดเท่าไหร่ๆ ก็ไม่เห็น ไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักวิจัย
ถ้าหมอก็ไม่รู้จักวิจัย ทำไม่มันจึงไม่เที่ยง?
ที่ว่า ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ก็มันไหล มันไหล มันไหล ทุกอย่างที่มันอยู่นิ่งๆ แต่ว่ามันไหล
เราคิดว่าโลกนี้เนี่ยที่เราเหยียบอยู่นี่ ที่เรานั่งอยู่นี่ เราคิดว่าโลกนี้อยู่นิ่งๆ มันไม่ได้นิ่ง
ท่านออกไปนอกโลกสิ แล้วท่านจะเห็นว่าโลกนี้มันหมุนๆ หมุนๆ หมุน
พอโลกหมุนรอบหนึ่ง ก็ทำให้เกิดเวลาเท่านั้น เท่านั้น เท่านั้น รอบหนึ่ง 24 ชั่วโมง มันหมุน แต่เราคิดว่าเที่ยง
ไหนล่ะ แล้วสิ่งที่อยู่ในโลกก็หมุนๆ หมุนๆ หมุนๆ หมุนอย่างนั้นน่ะ ทีนี้มันจริงที่ไหน ?
เวลามันก็ไม่ใช่ของจริง ไอ้โลกเองก็ไม่ใช่ของจริง มันปรุงแต่งมันล้วนแต่ปรุงแต่ง
ปรุงแต่ง ปรุงแต่ง ปรุงแต่ง ปรุงแต่ง เราไม่เห็น
เราไม่เห็น ไม่เห็นได้ยังไง? ก็ว่าเราตาบอดนี่ มองไม่เห็น
ฉะนั้นเราปฏิบัติธรรมะ เราปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อที่จะได้ทำตานี้ให้มันหายบอด
ให้ตาโง่นั่น ให้ตาโง่นั่นมันหายไป เกิดตาปัญญขึ้นมา
ตาปัญญาตัวนั้นคือ ตาวิชชา ตาวิชชา คือตาปัญญา
อวิชชาเป็นปัจจัยทำให้เกิดการปรุงแต่ง การปรุงแต่งทางกาย ใช่มั้ย
ทางกายก็ถูกปรุงแต่ง ก็มีตั้งกี่ธาตุทั้งหมดน่ะ มีซักกี่ธาติสักเท่าไหร่เนี่ย นับกันไม่ถูก
แต่ถ้าโดยย่นย่อก็เหลือซัก 4 ธาตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
อืม! ที่พอใจเข้าไปแล้วมันก็ปรุงแต่ง ปรุงแต่ง ปรุงแต่ง เช่น ลมหายใจอย่างนี้แหล่ะ
ลมหายใจนี่ หายใจเข้า ก็เข้าไปปรุงแต่งกาย ปรุงแต่ง
ปรุงแต่งด้วยการวิ่งไปทางนั้น ทางนี้ ทางโน้น ไปเลี้ยง เลี้ยงๆ เลี้ยง
มีทั้งเลือด มีทั้งออกซิเย่น มีทั้งอะไรเนี่ย ล้วนแต่ปรุงแต่ง ปรุงแต่ง ปรุงแต่ง
ในนี้ กายเนื้อก็ถูกปรุงแต่งด้วยน้ำ ด้วยข้าว ด้วยอาหาร เน่อะ ปรุงแต่งทั้งนั้น มีแต่ปรุงแต่งทั้งนั้น
เราคิดว่าอยู่นิ่งๆ ไม่มีอะไรนิ่งซักอย่างหนึ่ง
นี่ จิตที่เป็นอวิชชาหรือจิตโง่มันก็เห็นอะไรนิ่งไปหมด นิ่งไปหมด เห็นอะไรจริงไปหมด
แล้วก็หยุดนิ่งไปหมด เห็นเป็นของจริงไปหมด
ทั้งๆ ที่ของทั้งหมดเหล่านั้น มันของปลอม เป็นมายา
เป็นมายา คือของไม่จริง เหมือนกับมันเล่นกลกับเราอย่างนั้น มันไม่จริง
ตัวเราเองมันก็ไม่จริง ไอ้จิตที่ไปเอามาเป็นตัวกู ก็ไม่จริง ไม่มีอะไรจริง
ฉะนั้นเราต้องศึกษาว่า อนิจจังเป็นยังไง
ทุกขังเมื่อเข้าไปยึดถือของที่มันไม่จริง มันก็เลยลอกสิ มันลอกสิ
ถ้าเป็นทองคำก็ทองชุบ ถ้าว่าทองชุบมันก็ลอกสิ ไม่กี่วันมันก็ลอกออก เห็นมั้ย
คืนมันของไม่จริงทั้งนั้น ไม่มีอะไรจริงเลย
ทีนี้ไอ้ที่ไม่จริงนั่นแหล่ะ เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันจริง ยึดมั่้นถือมั่นว่ามันจริง
แต่มันไม่ได้เถียง แต่มันก็ไม่จริง มันไม่ได้เถียง ไม่ได้มีปาก ไม่ได้มีเสียง ไม่ได้มีอะไร
คนมีปัญญามันก็จะเห็น มันบอกว่าไม่จริง ไม่จริง
แต่เราว่าจริง เราว่าจริง
ใครเป็นคนทุกข์? เรานี่แหล่ะทุกข์เอง
เราคือใครล่ะ? ตัวโง่นั่นแหล่ะมันทุกข์ เพราะไม่เห็นอนิจจัง ไม่เห็นทุกขัง เห็นทุกอย่างเป็นของจริงหมด
ของเหล่านั้นไม่ใช่มันเป็นอัตตา ไม่ใช่มันมีตัวตน
มันไม่มีตัวตนหรอก มันเรียกว่า อนัตตา อนัตตา ไมใช่ อัตตา
ที่เราเห็นว่าเป้นอัตตาหมด อัตตาหมด เป็นตัวกูหมด ตัวกูหมด ไม่จริง ไม่จริง
เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ก็เลยไปอีก เป็นสุญญตา
ก็เรียกว่า โอ! พอเกิดตาขึ้นมา เกิดตาภายในขึ้นมา มีปัญญาขึ้นมา
โอ! นี่ทุกอย่างมันว่างจากตัวตนนี่ มันว่างจากตัวตนกันทั้งนั้นนี่ ....นี่ปัญญา!!
ปัญญามันเห็นแล้วมันก็พูดว่า โอ้! ว่างจากตัวตน ว่างจากตัวตน ว่างจากตัวตน ว่างจากตัวตน จริงๆ เลย
นี่เห็นมั้ย นั่นคือตาปัญญา ตาปัญญาเกิด
ตัวเราเองก็ไม่จริง ไอ้จิตที่ไปเอามาเป็นตัวกู ก็ไม่จริง ไม่มีอะไรจริง ไม่มีอะไรจริง
ฉะนั้นเราต้องศึกษาว่า อนิจจังเป็นยังไง
ทุกขังเมื่อเข้าไปยึดถือของที่มันไม่จริง มันก็เลยลอกสิ มันลอกสิ
ถ้าเป็นทองคำก็ทองชุบ ถ้าว่าทองชุบมันก็ลอกสิ ไม่กี่วันมันก็ลอกออก เห็นมั้ย
คืนมันของไม่จริงทั้งนั้น ไม่มีอะไรจริงเลย ทีนี้ไอ้ที่ไม่จริงนั่นแหล่ะ เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันจริง...
ผู้ที่สอนนั่นนะ ผู้ที่สอนน่ะ ผู้ที่ปฏิบัติจริง สอนคนอื่นจริง คนนั้นจะรู้จริง
จะรู้จริง ยิ่งสอนยิ่งรู้ ยิ่งสอนยิ่งรู้ ยิ่งสอนยิ่งรู้ ยิ่งแตก แตก แตก แตก แตก แตก ยิ่งสอนยิ่งแตก
พระในสมัยโบราณ สมัยพระพุทธเจ้า ท่านสอนไปสอนมา ท่านเองเลยบรรลุธรรมเลย !!
บรรลุธรรมไม่ใช่ฟุ้งขึ้นไปในกลางอากาศไม่ใช่อย่างนั้น
บรรลุธรรมก็คือทุกข์หมดนั่นเอง
บรรลุธรรม สอนไป สอนไป สอนไป โอ้! เกิดสัมมาทิฏฐิขึ้นมา
เห็นอริยสัจ 4 ตอนที่ตัวเองกำลังพูดเรื่องอริยสัจ 4 อยู่นั่นแหล่ะ เห็นแจ้งขึ้นมาเลย
เห็นมั้ย ตัวเองก็แจ้ง คนอื่นก็แจ้ง มันก็แจ้งขึ้น แจ้งขึ้น แจ้งขึ้น แจ้งขึ้น
เค้าบอกว่า โอ้! พระองค์นั้นเก่ง ดี ก็ดีอยู่ที่พระโน่น แต่เราไม่จริง เราไม่จริง มันก็ไม่ได้สิ
อ่ะนั่น ถ้าเราแน่ใจว่า พระองค์นั้นจริง ก็เอาจริง เราก็ต้องปฏิบัติจริง เราปฏิบัติจริงทีนี้
เรานี่แหล่ะเป็นอาจารย์ของเราเอง
สุดท้ายน่ะ ไม่ใช่พระองค์นั้นมาเป็นอาจารย์ของเรา
เรานี่แหล่ะที่ต้องเป็นอาจารย์ของเราเอง
จิตเรานี่แหล่ะ เป็นอาจารย์ของตัวเรา ของจิตเรา
จิตเราเองนี้แหล่ะอาจารย์คนสุดท้ายอยู่ที่ตรงนั้น
ก็เราดูสิ อาจารย์ของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนล่ะ? พระองค์เองนั่นแหล่ะ
ไปๆ มาๆ ค้นไปค้นมาก็อาจารย์อยู่ที่ตัวจริงตัวนั้น
พอพระองค์รู้จริงขึ้นมา นั่นแหล่ะเป็นอาจารย์ของพระองค์แล้ว
ก็พระองค์มีสัจจะ มีสัจจะ ครั้งสุดท้าย ตายเป็นตาย!!!
[หยุด คลิปเสียงธรรม]
ก็จะเห็นว่าหลวงพ่อก็พูดเตือนเรื่องอริยมรรคมีองค์ 8 อยู่ตลอดเวลานะ
ทีนี้ลองมาฟังภาคปฏิเวธน่ะ ในการบรรยายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556
ที่สำนักวิปัสสนาวังสันติบรรพต พัทลุง เมื่อครั้งที่ผ่านมานะ
ถ้าท่านสามารถไปดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของ วังสันติบรรพต [ www.santibunpot.com ]
ลองมาฟังภาคปฏิเวธ คือผลแห่งการปฏิบัติดู
ผมเชื่อว่า มาจนถึงวันนี้ท่านน่าจะฟังอะไรออกแล้วนะ
[คลิปเสียงธรรม]
เล่านิทานให้ฟังก่อน เต่ากับปลา
เต่าอยู่บนบกก็ได้ อยู่ในน้ำก็อยู่ไม่ได้นาน ต้องพ่นหายใจ แล้วก็ไปอยู่บนบกส่วนมาก
ส่วนปลาก็อยู่ในน้ำ เอาขึ้นจากน้ำอยู่นานไม่ได้ ตาย เราเป็นสัตว์น้ำ
เต่ากับปลาเป็นเพื่อนกัน พอเต่าลงไปในน้ำ สนทนากันกับปลา
ปลาถามว่าบนบกเป็นยังไง มีอะไรบ้าง เต่าก็บอกว่า มีภูเขา มีต้นไม้ มีดอกไม้ ไม่แอ่งน้ำ มีทุกๆ อย่าง ที่ในน้ำไม่มี
ปลาก็มีแต่ความสงสัย ดอกไม้เป็นยังไง คนเป็นยังไง สัตว์เป็นยังไง ต้นไม้เป็นยังไง
บอกเทาไรๆ ปลาก็ไม่รู้ ปลาไม่รู้
นี่คือนิทานที่ พระเดชพระคุณท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านเล่าเอาไว้
คือระหว่างความสงบ (นิพพาน) กับสิ่งที่สมมติ มันไปคนละเรื่อง คนละเรื่อง
เราปฏิบัติธรรมขั้นแรก ทำกาย วาจา ให้สงบ ขั้นต่อไปทำจิตให้สงบ เราก็คิดว่าจบแล้ว มันยังไม่จบ
ทำกายวาจาให้สงบ ไม่ใช่ไม่พูด ทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ไม่คิด แต่แล้วต้องทำกิเลสให้สงบ ทำกิเลสให้สงบ
กิเลสชื่อว่าอุปาทิ อุปาทิ สิ่งที่เข้าไปขัดขวาง ไม่ให้เกิดความสงบขึ้นมาได้
มันก็ออกมาทางปาก ออกมาทางการกระทำ นั้นคือทางกาย วาจา
ทางจิตถูกผลักดันจากอวิชชา ก็คิดไม่ดี พูดไม่ดิ ทำไม่ดี
งั้นถ้าจิตสงบ จิตสงบ จิตสงบไม่ใช่หยุดนิ่ง จิตสงบจิตอยู่กับธรรมชาติ ธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่ง
ให้เข้าใจว่าธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่ง
ถ้าธรรมชาติที่ปรุงแต่ง นี่ก็ยังเป็นกิเลสอีก ธรรมชาติที่ปรุงแต่ง
เอาทองมาทำสร้อยคอก็ปรุงแต่ง
ดอกไม้สีเหลือง สีเขียว สีแดง ก็ถูกปรุงแต่ง ด้วยแสงอาทิตย์ ด้วยสีต่างๆ นี่มันคนละเรื่อง
เพราะฉะนั้นความสงบจริงๆ ขอบอกว่ามันพูดไม่ได้
ความสงบจริงๆ มันพูดไม่ได้
ถามว่าพระนิพพานคืออะไร? ความสงบจริงๆ คืออะไร? หุบปากเงียบ
หุบปากเงียบไม่มีคำพูด ไม่มีคำที่จะพูด
กายสงบ วาจาสงบ จิตสงบ กิเลสสงบ
เมื่อที่จิตสงบก็อยู่กับ.............จิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับความสงบ
จิตนั้นก็อยู่กับธรรมชาติที่สงบ ไม่ใช่ธรรมชาติที่ปรุงแต่ง
ธรรมชาติที่ปรุงแต่งทั้งหมด ที่เราเข้าไปหลงสิ่งสมมติ เรียกว่าสมมติทั้งนั้น สมมติทั้งนั้น
ไม่ใช่สีเขียว ไม่ใช่สีแดง ไม่ใช่สีขาว ไม่ใช่สีเหลือง ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่โลกทั้งสอง
โลกก็เป็นสิ่งสมมติ ทุกอย่างเป็นสิ่งสมมติทั้งนั้น
จิตที่ไม่ปรุงแต่ง เรียกว่า วิมุตติ วิมุตติ จิตหลุดพ้น เรียกว่าจิตวิมุตติ วิมูตติ ก็คือ หลุดพ้น
อานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ทำให้สติปัฏฐาน 4 เจริญต่อไป
สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ 7 แจ้มแจ้งขึ้น
โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชา วิมุตติ สมบูรณ์
วิชชาก็คือ รู้อะไรตามความเป็นจริง ว่าไอ้นี่มันสมมติ สมมติ
ไอ้นั้นมันก็สมมติ ไอ้โน้นมันก็สมมติ เห็นสมมติจึงจะเกิดวิมุตติ
เกิดวิมุตติ เกิดวิมุตติก็หลุด ก็หลุด จิตหลุด......
จิตหลุดออกจากกาย จากเวทนา จากจิต จากธรรมชาติที่สมมติทั้งหมด
จิตนั้นก็เลยวิมุตติ วิมุตติ หลุด หลุดออกไป
แล้วหลุดออกไป จิตมันอยู่กับอะไร? จิตนั้นก็เป็นธรรมชาติ ไม่ได้เป็นกู เป็นธรรมชาติ
เป็นธรรมชาติที่สงบ สงบ แล้วจิตนั้นก็อยู่กับความสงบ ออกมาทางกายก็สงบ ทางวาจาก็สงบ ความคิดก็สงบ
มีแต่ความสงบตัวเดียว ดื่มด่ำในความสงบ เฉยๆ ไม่เอาอะไร ไม่เป็นอะไร
พระโพธิธรรมนั่งเข้าหาผนังถ้ำ แล้วนั่งอยู่อย่างนั้น แล้วนั่งอยู่อย่างนั้น อยู่กับจิตที่สงบ
นี่คือ นิพพานัง ปรมัง สุขัง
เย็น ความสงบตัวนั้น เย็น เย็น ไม่มีมึง ไม่มีกู ไม่มีสู ไม่มีเรา
เย็น ไม่มีสิ่งที่สมมติ นี่เราต้องแหวก แหวกม่านแห่งสมมติออกไป แล้วก็เป็นวิมตติหรือวิมุตติ เป็นวิมุตติ
ต้องแหวกม่านนั้นออกไป แล้วจิตก็จะพบกับ สิ่งที่สงบเย็น
จิตนั้นก็อยู่กับความสงบเย็น ไม่มีคำที่จะพูด
แม้แต่ขอทาน ขอทานที่ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมแล้วก็เป็นขอทานด้วย แต่งตัวซอมซ่อ
พระเจ้าแผ่นดินเสด็จ ขอทานนั่งอาบแดดอยู่ นั่งอาบแดด
พระเจ้าแผ่นดินมาเห็นขอทาน ถามว่าท่านต้องการอะไรบ้าง โปรดบอกเรา
ขอทานน่ะ อยู่กับความสงบ สบายหมดแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง
แล้วก็เป็นสมมติอีกนั่นแหล่ะ พูดว่าสบาย
ท่านต้องการอะไร โปรดบอกเรา... บางคนก็เคยได้ยินนิทานนี้
ขอทานเลยตอบว่า ที่ต้องการก็คือ ท่านโปรดออกจากที่นี้ไป
อย่ามาบังแดด ข้าพเจ้าไม่ได้ต้องการอะไร และกระทั่งอาบแดด
นี่ก็อยู่กับความสงบ กินอยู่กับความสงบ นอนกับความสงบ นั่งกับความสงบ ชีวิตอยู่กับความสงบ
งั้นชีวิตก็ไม่มีความหมายแล้ว หมดความหมาย หมดความยึดมั่นถือมั่น
ชีวิต คือร่างกาย ก็หมดความยึดมั่นถือมั่น
ชีวิต ก็คือจิต ก็เป็นธรรมชาติไปแล้ว มันไม่มีอะไรแล้ว
นิพพานัง ปรมัง สุญญัง... นิพพานว่าง นิพพานว่าง
เข้าไปยึดถึงไม่ได้ นิพพานก็ยึดถือไม่ได้ ไม่ยึดถืออะไรหมด จึงจะสงบ
ในความสงบนั้น ก็จะเย็น เย็น มันเย็น มันราบรื่น เป็นกิจที่ไม่สดุด
มันจะไม่สะดุดอะไร แล้วมันก็เลิกความยึดติด เลิกการปรุงแต่ง
เตสัง วูปสโม สุโข... การเข้าไปสงบระงับ
โดยดับสังขารที่เป็นร่างกายก็ดี ดับสังขารที่เป็นจิตก็ดี ดับสังขารภายนอกที่มันมาปรุงแต่งก็ดี
ที่ไปปรุงแต่งจิตมันดับ แล้วมันอยู่กับความสงบ
นั่นคือที่สุดของชีวิตที่เราต้องปฏิบัติให้เจอ ที่สุดของชีวิต มันหมดชีวิต
ชีวิตก็คือความทุกข์ ไม่มีอะไร
ความทุกข์ที่มันเผาลนจิต เผาลนจิตทุกวันๆ ทุกคืน ทุกวันทุกคืน ทุกวันทุกคืน เพราะมันหลง หลงโลกนี้
หลงโลกนี้ หลงกายหลงจิต หลงวัตถุ หลงอะไรหมด
ชีวิตที่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มันก็มีแต่ความหลง
ชีวิตถ้าประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ มันก็ค่อยๆ เข้าทาง เข้าทางแล้วก็เดินทาง
เดินทางไป เดินทางไป เดินทางไป จนสุดทาง
สุดทางสิ่งที่ไปพบก็คือความสงบ ความสงบ
เลิกยึดมั่นถือมั่นทั้งหมด ไม่ว่ากาย ไม่ว่าจิต ไม่ว่าอะไร ของจะดีวิเศษแค่ไหน ก็เลิกยึดมั่นถือมั่นหมด
ไม่เป็นคนบ้าหอบฟาง เราชอบเป็นบ้าหอบฟางกัน
อะไรก็ไม่จบ อะไรก็ไม่จบ อะไรก็ไม่จบ จิตก็สงบไม่ลง
นั่นคือกิเลสต่างๆ ที่มันปรุงแต่ง มันผลักดัน มันผลักดันออกมา
ผลักดันออกมาจากอวิชชานั่น มาเป็นสังขาร มาเป็นวิญญาณ มาเป็นนามรูป ครบวงจรทีหนึ่ง ทุกข์ทีหนึ่ง
มันถูกผลักดัน ผลักดันมา สงบไม่ลง ตายไม่ลง กลัวตาย กลัวตาย
ชีวิตที่สงบเป็นชีวิตที่เต็ม บริบูรณ์ จิตเต็มบริบูรณ์
กิเลสไม่อาจที่จะเกิดได้อีก คือไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกิเลส ไม่เข้าข้างกิเลส
และมันมีแต่เต็ม เป็นชีวิตที่เต็ม เต็มด้วยสติปัญญา
สติปัญญานั่นก็ไม่ถูก ยึดมั่นถือมั่นอีก มันก็อยู่กับความสงบ อยู่กับความสงบตามธรรมชาติ
มันจะพูดว่ายังไงทีนี้
มันสงบ....... มันจะยืนจะเดินนั่งนอนอะไรที่ไหน อยู่กับความสงบอย่างเดียว ความสงบอย่างเดียว
ไม่ต้องการ ไม่ต้องการอย่างอื่น
ไม่ต้องการกระดาษมากๆ กระดาษไว้ใช้ไว้สอยไว้พอสมควร ไม่ต้องการ
กระดาษเวลาโยมไปนับเงินน่ะ ก็นับได้ แต่ที่นับกันส่วนมากนับโดยความยึดมั่นถือมั่น
แต่ถ้าไปนับว่ากระดาษแผ่นที่ 1 กระดาษแผ่นที่ 2 แผ่นที่ 3 แผ่นที่ 4
มันก็กระดาษที่มันเอาเยื่อไม้เอาอะไรมาปรุงแต่ง ปรุงแต่งแล้วก็มีสีมีสัน มีรูปมีตัวเลข เข้าไปยึดมั่นถือมั่น
จิตที่มันโง่ มันเลยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นอีก ไอ้นี่เป็นสิ่งที่สำหรับไว้แลกเปลี่ยน
ทุกอย่างเราทำเองไม่ได้ เราก็เอากระดาษนี่ไปแลกเปลี่ยน
เมื่อก่อนเค้าเอาเปลือกหอย เปลือกหอยไปแลกเปลี่ยน
ต่อมาก็พัฒนาขึ้น พัฒนาขึ้นเป็นทอง ทองเหลือง ทองแดง ตะกั่ว แล้วก็กระดาษ
สมัยนี้ก็เลยใช้กระดาษสำหรับที่จะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
จะเอาตู้เย็นจะเอาโทรทัศน์ จะเอาอะไรล่ะ ?
จะเอารถเอารา เอาบ้านเอาช่อง เอาทองเอาหยอง เอากระดาษไปแลกเปลียน
เราก็บูชากระดาษ บูชากระดาษ หากระดาษกันใหญ่
เพราะจิตมันปรุงแต่ง มันผลักดัน ตัณหาเนี่ย ตัวตัณหา มันต้องการ
ตัวตัณหามันต้องการอย่างนั้นอย่างนี้ เข้าไปผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาเรา
นี่ มันน่ากลัว มันน่ากลัว ถ้าเราเห็นความสงบนั่น ก็ไม่ยึดถือมันเลย งั้นความสงบนั่นอ่ะ... เลิก
อยู่กับความสงบดีกว่าอะไรหมด อยู่กับความสงบ นั่งกับความสงบ นอนกับความสงบ เนี่ยความสงบ
ก็ไม่รู้จะเปรียบเทียบกับอะไร ก็เลยพูดเทียบออกมาว่า "นิพพานัง ปรมัง สุขัง" นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
มันไม่ใช่สุข มันไม่ใช่ทุกข์ มันไม่ใช่อะไร แต่มันไม่มีคำพูด
ก็เลยต้องพูด "นิพพานัง ปรมัง สุขัง" นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ตามที่จริงตัวเราพูดว่า เป็นสุขอย่างยิ่ง เราก็คิดว่า เหมือนกับความสุขทางเนื้อทางหนัง ความสุขทางตาทางหู
พูดอะไรมันก็ไม่สุขทั้งนั้น พอพูดว่าความสุข เอ้า! ไปเอาความสุข นั่งสบาย นอนสบาย กินสบาย อยู่สบาย
ไปทางโน้นเสียอีก เถลไถลไปหมด
นี่ความสุขคือความสงบเย็น ความสุขคือจิตที่สงบเย็น
ก็ไม่ชื่อว่าสุขอีกนั่นแหล่ะ คือมันพ้นจากความทุกข์ พ้นจากการปรุงแต่ง
"อันโต ทุกขัสสะ" ทุกข์ไม่เข้าไปพัวพัน จิตนั้น
ทุกข์ก็คือกิเลสทั้งหลายน่ะ ไม่เข้าไปพัวพัน ไม่เข้าไปเสนอหน้า
นั่นก็คือสงบ สงบ นั่นมันตายไม่เป็น ความสงบนั่นมันตายไม่เป็น
แต่ไอ้ขึ้นๆ ลงๆ นั่น มันตายเป็น เกิดตาย เกิดตาย เกิดตาย เกิดตาย อยู่อย่างนั้น
ไอ้ขึ้นๆ ลงๆ นั้น ตาเกิดดับ หูเกิดดับ จมูกลิ้นกายใจเกิดดับ รูปเสียงกลิ่นรสนั้น
สิ่งสมมตินั้นจะเกิดดับ เกิดดับ ก็คือ เกิดตาย เกิดตาย เกิดตาย เกิดตาย เค้าเรียกว่า เกิดดับ
แต่ว่าความสงบมันเกิดดับไม่เป็น มาตฐาน ถาวร อมตะ นิรันดร คือตัวความสงบ
อันนี้ที่พูดน่ะเพียงเทียบเคียงให้ฟัง เหมือนข้างๆ คูๆ ไปอย่างนั้นน่ะ ไม่มีคำพูด คำที่จะพูดมันไม่มี
เพียงแสดงสิ่งที่สมมตินั่นแหล่ะ ให้มาเป็นวิมุตติ ให้มาเป็นวิมุตติ
มันสมมตุทั้งนั้นแหน่ะ ทุกอย่างสมมติ สมมติ สมมติ สมมติทั้งนั้นเลย ให้เราเข้าไปติดสมมติ
ข้าราชการก็ติดขั้น ติดยศ สมมติทั้งนั้น เข้าไปติดคือจิตเข้าไปติด นั่นคือความยึดมั่นถือมั่น
คนสวย คนรวย คนไม่สวย ไม่รวย ก็ติดทั้งนั้น ติดหมด มันฉลาด กิเลสนี่มันฉลาด
แต่ว่าพระพุทธเจ้าฉลาดกว่า พระพุทธเจ้าก็เลยขี่หัวขี่คอมัน บังคับมันอยู่ ให้อยู่ใต้อำนาจ
นี่คือความสงบ ให้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงอยู่ใต้อำนาจของความสงบ
ทีนี้พระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์อยู่กับฝูงชนมากๆ พระองค์ก็หลีกเร้นเข้าไปอยู่ในป่า
ก็คืออยู่กับของจริงของแท้ อยู่กับความสงบ พระองค์ก็อยู่กับความสงบ แล้วก็เปล่งวาจาออกที่ไม่ได้มีเจตนา
พระอรหันต์นั่นไม่ได้มีเจตนา ทำอะไรไม่ได้มีเจตนาแล้ว
ท่านก็เปล่งว่าจาออก ตาต้วย รูปด้วย จักขุวิญญาณด้วย สามอย่างทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยทำให้เกิดเวทนา เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะดัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ทุกข์จึงดับ
นี่คือ... พอสามอย่างนั้นทำงานร่วมกันนะ หูด้วย เสียงด้วย โสตวิญญาณด้วย สามอย่างทำงานร่วมกัน
ทำให้เกิดการกระทบเรียกว่า ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย...
ก็ไม่เข้าไปยึดมันถือมั่น ไปทำอะไรความสงบไม่ได้ ความว่างคือความสงบเย็น น่ะ
เวทนานั้นดับ พอเวทนานั้น ตัณหาจึงดับ ก็ดับพรวดเดียวไปถึงความทุกข์ดับ
ทางตาก็เป็นอย่างนั้น ทางหูก็เป็นอย่างนั้น จมูกด้วย ลิ้นด้วย ฆานะวิญญาณด้วย สามอย่างทำงานร่วมกัน
ทำให้เกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยทำให้เกิดเวทนา...เพราะความจางคลายดับไป
ถ้าจะบอกให้พูดให้เต็ม เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือแห่งเวทนานั้นตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ตลอดไป ทุกข์ดับ
ลิ้นด้วย รสด้วย ชิวหาวิญญาณด้วย สามอย่างทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดผัสสะ
พอเกิดผัสสะแล้ว มันซาบซ่าน ตามปกติของฝ่ายกิเลสมันจะซาบซ่าน
เพราะว่าประสาทมันได้รับกลิ่นได้รับรส รายงานไปยังสมอง
สมองก็ยึดมั่นถือมั่น เพราะไม่ได้ปฏิบัติธรรม ไม่ได้รู้จักอริยมรรคมีองค์ 8 ไม่รู้ฝ่ายดับทุกข์
พอซาบซ่านไปแล้วมันก็ยึดมั่นถือมั่น มันเกิดความเคยชินขึ้นมา
ทุกเรื่อง มันเกิดความเคยชินขึ้นมา ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ลิ้น กาย ใจ
เกิดความเคยชินขึ้นมาแล้วยึดมั่นถือมั่น เอาไปเก็บไว้ เก็บไว้ มันไม่มีอะไรต้านทาน
ถ้าเราปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 เรามีสิ่งแก้ เอามาแก้ เอามาแก้พวกทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้
มันเข้าทางไหนก็เกิดดับ
เข้าทางใจ ใจด้วย ธรรมารมณ์ด้วย มโนวิญญาณด้วย สามอย่างทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดผัสสะ ผัสสะทางใจ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยทำให้เกิดเวทนา
เพราะความดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือแห่งเวทนานั้น นิโรธเข้าทำงานทันที
เพราะความดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือแห่งเวทนานั้น ตัณหาจึงดับ
เพราะดัณหาดับ อุปานทานดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพดับ
เพราะภพดับ ชาติดับ
เพราะชาติดับ ทุกข์ดับ
อะไรเข้ามาก็สลัดทิ้ง สลัดทิ้ง สลัดทิ้ง สลัดคืน สลัดทิ้ง สลัดคืน ไม่ต้องการอะไร
อยู่กับความสงบตัวเดียว อยู่กับความสงบ จิตก็สงบ อยู่กับความสงบ ก็จิตเป็นธรรมชาติไปแล้ว
ถ้าจิตเป็นตัวกู ไม่สงบ ยังมีความหลง ยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่
เห็นแร่ธาตุแดงๆ เหลืองๆ เป็นทอง เห็นก้อนหินเป็นเพชร เป็นพลอย
เห็นอะไรต่างๆ สิ่งที่สมมติ เห็นเป็นของจริง เห็นเป็นของจริงไปหมด
ในของเซน เด็กคนหนึ่งมันร้องไห้ ร้องไห้ทีนี้ผู้ใหญ่ก็เอาใบไม้มาใบหนึ่ง
ใบไม้ที่พึ่งตกลงมาจากต้น จากขั้ว สีเหลือง บอกมันว่านี่ ทองๆ ทองๆ หยุดร้องไห้เถอะจะได้ได้ทอง จะได้ทอง
มันก็ไม่รู้ว่าทองมันคืออะไร ยังเป็นเด็กทารกอยู่ มันก็เลยหยุดร้องไห้
นี่ เริ่มที่จะยึดมั่นถึงมั่นแล้วยึดมั่นถือมั่น ถูกหลอก ถูกธรรมชาติฝ่ายหนึ่งมันหลอก
แต่อันทีจริงมันก็ไม่ได้หลอก เพราะเราโง่ เราไม่รู้อะไรตามความเป็นจริง
นั่นมันก็โง่ ตั้งหน้าตั้งตาทั้งชีวิต ตั้งหน้าตัังตาในการยึดมั่นถือมั่น มีแต่ยึดมั่นถือมั่นทั้งนั้น
อยู่กับความยึดมั่นถือมั่น แล้วมันจะไม่ทุกข์ยังไง อยู่กับความยึดมั่นถือมั่น มันก็ทุกข์จนตาย ทุกข์จนตาย
เนี่ย เหมือนกับเด็กถูกหลอก ถูกธรรมชาติมันหลอกเอา
เพราะธรรมชาติมันมีหลายอย่าง มีธรรมชาติที่สุด ที่สุดของธรรมชาติ
ใครเรียนจบสูตรของธรรมชาติ ถึงจุดความสงบ จิตที่สงบเย็น จิตที่เข้าถึงธรรมชาติ
เมื่อเข้าถึงธรรมแล้ว สงบเย็น ทีนี้ธรรมชาติทั้งหมด ก็เย็นหมด เย็นหมดทั้งโลก เย็นหมดทั้งจักรวาล สงบหมด
ธรรมชาติทั้งหมดสงบหมด มันอยู่ที่จิตตัวเดียว จิตตัวเดียว ข้อสำคัญมันอยู่ที่จิตตัวเดียว
หน้าต่างประตูน่ะ คือตาหูน่ะ มันทางเข้าทางออก มันก็รายงาน มันเข้าไปรายงานจิต เข้าไปรายงานจิต
ทีนี้เราก็ต้องศึกษาให้รู้ตามความเป็นจริง แยกแยะ ให้รู้ตามความเป็นจริง
และอันนี้ปีติ อันนี้สุข มันเข้าไปปรุงแต่งจิตทั้งนั้น
ที่มีความสุขก็เพราะว่า สุขทางเนื้อทางหนัง ทางตา ทางหู ก็เพราะมันเข้าไปสัมผัสกับประสาท
และก็ทำให้เกิดซาบซ่านขึ้นมา เราคิดว่าสุข เราคิดว่านั้นคือความสุข
ในทางที่จริงมันเกิดดับถี่ เกิดดับถี่ เราก็คิดว่ามันเป็นความสุข เป็นความสุข
อะไรที่มันเกิดดับ ไม่ใช่ทั้งนั้น
เกิดดับ ให้เห็นการเกิดดับ การปฏิบัตินั่นให้เห็นการเกิดดับ ก็คืออนิจจังนั่นแหน่ะ อนิจจัง อนัตตานั่นล่ะ
ถ้าเห็นอนิจจัง อนิจจังคือการเกิดขึ้นมาแล้วมันไม่เที่ยง
เห็นอนัตตา ไม่ใช่เห็นแต่อัตตา
นี่เราเห็นด้านเดียว เห็นแต่อัตตา เห็นแต่นิจจัง ทุกอย่างเป็นของเที่ยง ทุกอย่างเป็นอัตตา เป็นอัตตา
เพราะจิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าจริง มันก็เห็นเป็นของจริง เป็นอัตตาไปหมด
ตัวเองก็เป็นอัตตา
คนอื่นก็เป็นอัตตา
จิตก็เป็นอัตตา
วัตถุทั้งหมดก็เป็นอัตตา
เห็นเป็นของจริงไปหมด มันก็เห็นเป็นของจริง เป็นอัตตาไปหมด
ไม่รู้จักว่า ไอ้สมมติมันคืออะไร สมมติมันคืออะไร
แล้วไม่ศึกษาวิมุตติ ไม่ศึกษาวิมุตติ ทำยังไงให้จิตหายหลง ให้มันหลุดพ้นจากสิ่งสมมติเหล่านั้น
จิตหลง เคลิ้ม หลงเคลิ้มไปตามประสาท ประสาทตา ประสาทหู มันรายงาน หลงเคลิ้มไปว่าของจริงหมด
ไอ้โลกนี้มันมีแต่ของจริง ของจริง ของจริง ของจริง ของจริง
พระพุทธเจ้าตรัสกับโมกฆราช... ดูก่อนโมกฆราช ท่านจงมีสติ มองโลกด้วยความเป็นของว่าง
นี่ ก็ว่างจากสิ่งที่สมมตินั่งแหล่ะ ทุกอย่างมันสมมติ
เอาจูด กระจูดมาสานเป็นเสื่อ เราก็ไม่เรียกว่ากระจูดแล้ว เรียกว่าเสื่อ
เอามาทำเป็นหมวกก็เรียกว่าหมวก
เอามาเป็นผ้าปูนั่งก็เรียกว่าผู้ปูนั่ง
กระจูด แม้แต่กระจูดนั้นก็ไม่ใช่ของจริงอีก มันก็เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ
สิ่งที่เราเอามาทำมาสร้างขึ้นมา มันก็เกิดดับ เกิดดับ
สิ่งที่เกิดดับไม่ใช่ของจริง ของจริงไม่ต้องเกิดไม่ต้องดับ ไม่ต้องเกิดไม่ต้องดับ
เลิกการเกิดการดับ เพราะมันเป็นของจริง มันเป็นของจริง
นี่ เราต้องเห็น เปิดหน้ากากมันออกไป การปฏิบัติธรรมนี่ เปิดหน้ากากแห่งอวิชชาน่ะ ออกไป
แล้วเราก็จะเห็นของจริง เห็นของจริง ถ้าเห็นของจริงแล้วทำไง...
อยู่นิ่งๆ อยู่นิ่งๆ อยู่นิ่งๆ ไม่เอาอะไร ไม่เอาอะไร อยู่นิ่งๆ อยู่นิ่งๆ จิตอ่ะอยู่นิ่งๆ อยู่นิ่งๆ
จะกิน จะนอน จะอาบ จะถ่าย จิตก็อยู่นิ่งๆ อยู่นิ่งๆ อยู่นิ่งๆ คืออยู่กับความสงบนั่นแหล่ะ อยู่นิ่งๆ
และถามว่าทำยังไงการปฏิบัติธรรมนี่... ก็อยู่นิ่งๆ สิ ก็ยังไม่เข้าใจอีก ว่าอยู่นิ่งๆ นี่มันอะไร
ก็อย่าเข้าไปวุ่นวาย อย่าเข้าไปยึดมั่นถือมั่น จิตที่อยู่กับความสงบ
พยายามศึกษาความสงบ ให้เข้าใจ ให้รู้ แล้วให้จิตเป็นตัวเดียวกันกับความสงบตัวนั้น นั้นมันก็จะอยู่นิ่งๆ อยู่นิ่งๆ
ก็ดูสิ อย่างที่เล่าให้ฟัง ในประเทศทิเบตน่ะ
มิลาเรปะน่ะ ท่านอยู่ผ้านุ่งก็ไม่มี อาหารกินก็ไม่มี ต้องเอาผักกูดมาต้ม มาฉันมากิน ให้ชีวิตมันตั้งอยู่ได้
แล้วทำไมอ่ะ ท่านไม่ลงมาบิณฑบาตข้างล่างได้กินดีๆ
เพราะว่า ไอ้อยู่นิ่งๆ หรือว่าความสงบ มันสำคัญกว่าเป็นล้านเท่า หมื่นเท่า แสนเท่า
ท่านก็เลยดื่มด่ำอยู่กับความสงบตัวนั้น
ทีนี้ความสงบก็มีขั้นเป็นตอนอีกแหล่ะ ก็เป็นขั้นเป็นตอนอีก
ทำกายให้สงบ ทำลมให้สงบ ทำปีติให้สงบ ทำจิตให้สงบ
ทำกิเลสให้มันสงบ เนี่ย มันหลายขั้นหลายตอน
เราต้องศึกษาให้เห็นจริง แล้วก็ปฏิบัติให้เห็นจริง
นั่นจะได้อยู่กับพระพุทธเจ้า นั่นจะได้อยู่กับพระอรหันต์
แต่ต้องทำให้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติ คือ ความสงบเสียก่อน
ปฏิบัติให้จิตเข้าถึงความสงบเสียก่อน เมื่อจิตเข้าถึงความสงบแล้ว
จิตนั้นก็จะอยู่นิ่งๆ อยู่กับความสงบ อยู่กับความสงบ ดื่มด่ำอยู่กับความสงบ
แต่ก็ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์
บอกไม่ได้ว่าอะไร นั่นคือ พูดไม่ได้ พูดไม่ได้ ไม่มีคำที่จะเอามากล่าว เอามาเอ่ย เอามาพูด
ปัจจัตตัง ผู้ศึกษาปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง อย่างนี้
อ่ะทีนี้ พูดมากมันก็เท่านี้แหล่ะ อยากให้โยมที่ฟังแล้วออกมาแสดงความคิดเห็นซิว่าเป็นยังไงมั่ง
อ่ะ เชิญคุณประเสริฐก่อน แสดงความคิดเห็นที่หลวงพ่อพูดๆ พูดๆ มาเนี่ย ทั้งหมดนี่มันอะไรเนี่ย
(เสียงอาจารย์ประเสริฐ...)
กราบนมัสการหลวงพ่อครับ
ตลอด 5 วันที่ผ่านมาในหลักสูตรนี้ ผมก็ติดตามหลวงพ่อมาหลายปีนะครับ
ก็ต้องถือว่าในหลักสูตรนี้ หลวงพ่อก็ให้เต็มที่ละนะครับ
และก็แสดงให้เห็นถึง พระธรรมอันเป็นที่สุดแห่งทุกข์ โดยไม่มีการปิดบังใดๆ นะครับ
รวมถึงเส้นทางการเดินทางที่ชัดเจนนะ โดยเฉพาะครั้งสุดท้ายที่เพิ่งจบไป
มันเลยทำให้ผมรู้สึกว่า ที่ผมไร้ท์ CD แจกไปเมื่อคืน เดี๋ยวผมต้องไร้ท์ใหม่นะ ต้องเพิ่มเรื่องสุดท้าย
ที่สุดแห่งทุกข์ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้
ที่ผมขึ้นไปเรื่อยๆ นะ ที่อยู่บนจอ คือสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้สมมติบัญญัติมาอธิบายสภาพวิมุตติ
ซึ่งเป็นการยากมากนะที่จะแสดงวิมุตติด้วยสมมติบัญญัติ
แต่พวกเราก็ได้ฟัง ก็เป็นความ... ถ้าจะพูดว่า โชค ก็เป็นโชคดีของพวกเราทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่
ผมเชื่อว่า ในสังสารวัฏแห่งการเดินทางอันยาวนาน
เป็นการยากที่จะได้ยินได้ฟังได้พบกับผู้ที่รู้แจ้งเห็นจริงแล้วนำสิ่งนี้มาบอก
ก็คงไม่มีคำพูดใดๆ นะ ที่จะแสดงความขอบคุณอันไม่มีประมาณครั้งนี้ได้นะ
เพราะว่าได้ให้วิธีคิด ได้ให้วิธีปฏิบัติ ไม่ใช่เพียงแค่พ้นทุกข์เล่นๆ หรือพ้นชั่วคราว แต่เป็นการพ้นทุกข์อย่างถาวร
ก็ขอกราบนมัสการหลวงพ่อด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
[จบ คลิปเสียงธรรม]
อ่ะ กราบเคารพท่าน, อ่ะ เปิดไฟหน่อย
ตรงการบรรยายนี้ก็ตัดเอาไว้ส่วนต่างหากเลยนะ เป็นเมนูต่างหากขึ้นมา
เอาล่ะนะครับ เราก็ได้ยินได้ฟังครูบาอาจารย์ ก็ครั้งนี้ก็ ท่านก็พูดแบบ ราวกับสั่งลาไว้ในโลกเลย
ไปดาวน์โหลดการบรรยายทุกครั้งนะครับ ซึ่งต้องบอกว่าเนื้อๆ นะ ตั้งแต่ต้นจนจบ ถึงครั้งสุดท้าย
ก็คงเข้าไปที่ สันติบรรพรต santibunpot.com ของหลวงพ่อ
เพราะในสวนยินดีจะมีเฉพาะการบรรยายสรุปของผม
เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำซ้อน ก็ไปที่เว็บของหลวงพอเลย แล้วก็ไปดาวน์โหลด
ส่วนซีดีของหลวงพ่อที่แจกอยู่ข้างล่างยังไม่มีชุดนี้นะครับ เพราะอันนี้ล่าสุดเลย
และผมติดตามหลวงพ่อมาหลายปี เป็นครั้งที่ ถ้าบอกว่าจัดเต็มตามประสาโลก ก็คือจัดเต็มเลย ล้นเลยนะ
ท่านจะมีการบรรยายเพื่อจัดเก็บเอาไว้ เป็นอนุสรณ์ ในการไปบรรยายในทริปที่นิวซีแลนด์ ในช่วงพฤศจิกายน ปลายปีนี้นะ
จะมีการส่งกล้องตามไปบันทึกการบรรยายของหลวงพ่อตามสถานที่ต่างๆ
ซึ่งหลวงพ่อก็บอกว่า เมื่อหลวงพ่อตายไปแล้ว ก็จะได้เอา DVD เหล่านั้นมาฟังกัน
ใครต้องการจะติดตามไปกับท่าน ก็สามารถลงชื่อสมัครได้นะ ก็คงเป็นโอกาสที่ดี ถ้าหากท่านสามารถไปได้
เอาล่ะนะครับก็เดี่ยวเรากราบพระ จะได้ไปทานข้าว แล้วก็ 9 โมง ท่านต้องเก็บของอาบน้ำอีก
งั้นซัก 10 โมงก็แล้วกันนะ 10 โมง 10 โมงก็มาเจอกันที่นี่อีกครั้งนึง
ใครสนใจหรือต้องการรายละเอียดก็ติดต่อน้องแป๋มก็แล้วกันนะว่า หลวงพ่อ ตารางเป็นยังไง อะไรแบบไหน
หรือไม่ก็เข้าไปดูในเว็บไซต์ของสวนยินดีธรรมในข่าวประชาสัมพันธ์ก็ได้
หรือคิดว่า เออไปดีกว่านะ อยากจะไปฟัง อยากจะได้เดินติดตามหลวงพ่อไปดูแลอุปัฏฐากท่านนะ
โอกาสอย่างนี้ก็คงมีไม่เยอะนะในสังสารวัฏนึงนะ
ก็เชิญนะครับ กราบพระ
จบการบรรยายตอนที่ 12
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตอนที่ 11 ปฏิจจสมุปบาท (ยุวพุทธฯ ร่วมมือกับผาซ่อนแก้ว) ☜ ☞ ตอนที่ 13 ปิดคอร์ส
ตอนที่ 11 ปฏิจจสมุปบาท (ยุวพุทธฯ ร่วมมือกับผาซ่อนแก้ว) ☜ ☞ ตอนที่ 13 ปิดคอร์ส
กราบอนุโมทนาบุญกับผู้บรรยาย ทีมงาน และผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านค่ะ
- ด้วยจิตคารวะ -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น